|
||
วัฒนธรรมไทยวน โดย..คุณเฉลิมศรี สุทธิสวัสดิ์ ไทยวนชวนใฝ่ให้ ศึกษา |
||
1. การอพยพและตั้งถิ่นฐาน ตามตำนานสิงหนวัศิกล่าวว่า สิงหนวัศิกุมาร ได้อพยพผู้คนบริวารมาจากเมืองราชคฤห์ เข้าใจว่าอยู่ในแคว้นยูนาน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เชียงแสนราวต้นสมัยพุทธกาล ตั้งชื่อบ้านเมืองนี้ ว่า “โยนกนคร” เรียกประชาชนเมืองนี้ว่า “ยวน” ซึ่งเป็นเสียงเพี้ยนมาจากชื่อเมือง “โยนก” นั่นเอง จากนั้น ก็มีกษัตริย์ครองเมืองโยนกนี้มาเรื่อยๆ ประชากรไทยวน ก็แพร่หลายออกไปในล้านนาไทย ต่อมา พ.ศ. 2101 พระเจ้าบุเรงนองกษัตริย์พม่าได้นำทัพมาตีเมืองเหนือ และปกครองเมืองเหนือเป็นเวลานานถึง 200 ปีพ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดฯ ให้ทัพหลวงไปตีพม่าออกจากเชียงแสน พม่าแพ้ ท่านให้ทำลายเมือง และรวบรวมผู้คนชาวเมืองเชียงแสนได้ 23,000 คน แบ่งคนเหล่านี้ออกเป็น 5 ส่วน ส่วนหนึ่ง ให้ไปอยู่เชียงใหม่ ส่วนหนึ่งไปอยู่ลำปาง ส่วนหนึ่งไปอยู่น่าน ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่เวียงจันทน์ ส่วนหนึ่งนำมาใต้ โดยให้คนยวนกลุ่มหนึ่งอยู่ที่สระบุรี อีกกลุ่มหนึ่งให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราชบุรี อันเนื่องมาจากสมัยก่อนโน้น ที่ตัวเมืองสระบุรีอยู่ที่ท้องที่อำเภอเสาไห้ ที่ว่าคนยวนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ท้องที่อำเภอเสาไห้นั่นเอง โดยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำป่าสักทั้งสองฝั่ง ตั้งแต่ตะวันออกของที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสาไห้ขึ้นมา โดยปลูกบ้านรวมอยู่เป็นกลุ่ม เพื่อสะดวกในการช่วยเหลือกัน และการตั้งบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำ ก็เพื่อสะดวกในการใช้น้ำในการสัญจรไปมาและทางหลังบ้านออกไปก็จะเป็นทุ่งนาได้ ลักษณะของเรือนไทยวนนั้น ก็คงจะพัฒนามาจากเรือนชั่วคราว (กระท่อม) ก่อนแล้วมาปลูกเป็นเรือนถาวรอันเนื่องจากวัฒนธรรมเดิมของไทยวน จะมีเรือนกาแล ลักษณะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคา หน้าจั่วเรือนส่วนบนผายออก เรียกว่า เรือนอกโตเอวคอด ดังนั้น เมื่อแรกเริ่ม คนไทยวน ก็ปลูกเรือนกาแลอยู่ ดังภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทบุรี อำเภอเสาไห้ ในปัจจุบัน จะมีบ้านทรงสมัยใหม่ภาคกลาง เป็นจำนวนมาก เมื่อมาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านมั่นคงแล้ว ก็จะมีการเรียกชื่อหมู่บ้านของตนเอง ตามสภาพภูมิศาสตร์บ้าง เช่น หมู่บ้านที่มีต้นตาลมาก ก็จะเรียกว่า บ้านต้นตาล หมู่บ้านที่มีกอไผ่มาก ก็จะเรียกบ้านไผ่ล้อม หมู่บ้านที่มีต้นยางมากก็จะเรียกว่า บ้านยาง เป็นต้น บางหมู่บ้าน ก็จะเรียกชื่อหมู่บ้านตามชื่อบุคคลสำคัญ เช่น บ้านสิบต๊ะ (ปัจจุบันคือบ้านสวนดอกไม้) ตามชื่อของหนานต๊ะ ผู้นำหมู่บ้านไทยวน มาตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก บ้านเจ้าฟ้า ก็คือ ปู่เจ้าฟ้านำคนยวนมาตั้งอยู่ถิ่นนี้ เป็นต้น เมื่อคนไทยวนมีประชากรมากขึ้น ก็จะอพยพไปตั้งบ้านเรือน ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำป่าสักออกไป เช่น ในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันจังหวัดสระบุรีมี 13 อำเภอ จะไม่มีคนยวนในอำเภอหนองโดนและอำเภอดอนพุด นอกนั้น มีคนยวนมากมาย รวมกระทั่งอพยพไปอยู่ในต่างจังหวัดด้วย เช่น อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น คนไทยวน จะประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก จนกระทั่ง “ข้าวเสาไห้” เป็นที่มีชื่อเสียงในเมืองไทย สรุปแล้วคนไทยวน จะมีลักษณะ 10 ประการ คือ นักเดินทาง ชอบสร้างบุญ อุดหนุนกัน ขยันดี กวีเก่ง นักเลงสือ ฝีมือดัง ของขลังมั่น กตัญญู รักหมู่พวก 2. วิถีชีวิต ประการแรก การดำเนินชีวิตของชาวไทยวน จะมีดังนี้อันเนื่องมาจาก คนไทยวน ได้เดินทางมาด้วยกันและตั้งบ้านเรือนอยู่รวมกัน จึงต้องพึ่งพากันตลอด คนยวน จึงเคารพนับถือเครือญาติเป็นสำคัญ ดังเช่นกล่าวว่า “หนีจากเมืองพี่น้องจักไปเปิ้ง (พึ่ง) ไผ หนีจากไปเปิ้ง (พึ่ง) หึ่งห้อย” คนไทยวนจึงเคารพเครือญาติและอาวุโสเป็นสำคัญ ประการที่สอง คนไทยวนก็เหมือนคนไทยทั่วไป ที่เกี่ยวข้องกัน การปกครองที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข คนไทยวนก็เคารพเทิดทูนพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์สืบมา ประการที่สาม คนไทยวนทั้งหมด นับถือพระพุทธศาสนา กิจกรรมในชีวิตประจำวัน จึงเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เช่น เช้ามาจะตักบาตรทำบุญหน้าบ้าน วันพระหรือวันกิจกรรมประเพณี ก็จะไปรวมกันที่วัดหรือไปรักษาศีล ฟังธรรมที่วัด วันปกติก็จะสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน ประการที่สี่ ขณะที่คนยวนนับถือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ แล้วยังนับถือ “ผี” อีกด้วย เช่น มีผีประจำเรือน เรียกว่า ผีเรือน มีผีประจำหมู่บ้าน จะมีผีศาลประจำหมู่บ้าน จะมีประจำวัด เรียกว่า เสื้อวัด จะมีผีประจำทุ่งนา เรียกว่า เสื้อนา ฯลฯ คนยวนจึงมีกิจกรรมเกี่ยวกับผีในชีวิตของตนเอง ประการที่ห้า วิถีชีวิตคนยวนส่วนใหญ่ จะอยู่ที่อาชีพโดยเฉพาะ อาชีพการทำนา ปีหนึ่งจะมีฤดูการทำนาและฤดูเก็บเกี่ยวข้าว เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตประจำวัน คนยวนจะอยู่กับกิจกรรมเหล่านี้ ปัจจุบันคนยวนบางส่วน ได้รับการศึกษาสูงขึ้น ก็ประกอบอาชีพค้าขายก็มี รับราชการก็มาก ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมก็ไม่น้อยเลยทีเดียว ประการที่หก กิจกรรมมนุษย์สัมพันธ์ อันเนื่องมาจาก คนเราต้องอยู่ร่วมกัน พึ่งพาอาศัยกัน เกื้อกูลกัน คนไทยวนก็เช่นกัน เช่น การไปเยี่ยมกันเมื่อยามเจ็บป่วย มีเวลาว่างก็มาคุยกัน ใครมีงานก็ไปช่วยกัน มีของกินของใช้ก็แจกจ่ายกัน ประการที่เจ็ด การแสวงหาความความเพลิดเพลินให้แก่ตนเอง กิจกรรมเหล่านี้ เป็นไปตามวัย และสถานที่ เช่น เป็นเด็กก็จะเล่นสนุกร่วมกัน โตขึ้นก็จะเล่นกีฬามุ่งเอาแพ้ชนะกัน การดูรายการต่างๆ ในโทรทัศน์หรือเกม เป็นต้น ทั้งเจ็ดประการดังกล่าวมานี้ วิถีชีวิตของชาวไทยวน คือ ปรนนิบัติบิดา มารดา เทิดทูนองค์ราชาไว้สูงสุด ปฏิบัติกิจตามศาสนาพุทธ นับถือวิญญาณบริสุทธิ์ในท้องถิ่น ประกอบอาชีพ ให้มีกินไม่มีขาด ช่วยเหลือญาติให้สำราญ แสวงหาสันทนาการเป็นประจำ 3. ประเพณีวัฒนธรรม ชาวไทยวน ที่อพยพมาจากเชียงแสน มาอยู่สระบุรี เมื่อ พ.ศ. 2347 นั้น ได้นำเอา 2 สิ่งใหญ่ๆ มาใช้ในท้องถิ่นนี้ คือ ภาษาและประเพณี ภาษาไทยวน ก็คือ ภาษาไทยที่ใช้อยู่ในล้านนานั่นเอง เช่น มาแล้วก๊า (หรือ), เอายู (ไม้กวาด, ไปวัดกั๋นเน้อ ฯลฯ นอกจากนั้น ยังมีอักษรไทยวน ซึ่งมีลักษณะของตนโดยเฉพาะส่วนประเพณี วัฒนธรรมนั้นเมื่อคนไทยวนมาอยู่ถิ่นนี้ก็รับเอาประเพณีวัฒนธรรม ของคนไทย ภาคกลางมาปฏิบัติ แต่ก็มีหลายประเพณี ที่ยึดถือปฏิบัติตามประเพณีไทยวนสืบมา ดังจะกล่าว พอเป็นตัวอย่าง บางอย่าง คือ ประเพณีทานขันข้าว (ตานขันข้าว) คือ การนำอาหารใส่ถ้วยวางบนสำรับ (ถาด) นำไปถวายภิกษุบอกท่านว่า ต้องการอุทิศกุศลนี้ ไปให้แก่ผู้ใด ภิกษุรับประเคนแล้ว ก็จะกล่าวถ้อยคำเป็นเชิงบอกให้วิญญาณผู้นั้นทราบว่า มีใครนำสำรับอาหารมาให้ ให้ผู้นั้นมารับส่วนกุศล ถ้อยคำที่ภิกษุกล่าวนี้จะคล้องจองไพเราะ ฟังแล้วจะรู้สึกประหนึ่งว่า จะมีวิญญาณผู้นั้นมารับกุศลอย่างจริงๆ ทานขันข้างนี้จะทำวันใดก็ได้ไม่จำกัดวัน ประเพณีเวนทาน วัตถุประสงค์ของประเพณีนี้ ก็เพื่อต้องการอุทิศส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ตาย เช่น การทำบุญเจ็ดวัน ร้อยวัน จะนิมนต์ พระมาสวดพระพุทธมนต์ บอกญาติมิตร มาใส่บาตรร่วมกัน เมื่อพระสงฆ์สวดบทถวายพรพระจบแล้ว เจ้าภาพก็จะนำผ้าขาวมาปูลาด ให้ยาวตลอดแถวที่ภิกษุนั่งอยู่ จากนั้น ก็นำเอาอาหารมาวางบนผ้าขาว โดยจะวางรวมกันเป็นสำรับ ส่วนหนึ่งวางไว้หน้าพระพุทธรูป คณะเจ้าภาพทั้งหมด จะมานั่งรวมกันหน้าอาสนสงฆ์ที่มีอาหารวางอยู่ จากนั้นมรรคนายก (อาจารย์วัด) ก็จะกล่าวคำเวนทานด้วย สำเนียงไทยวน เนื้อหาที่กล่าว จะเริ่มต้นด้วยคำนอบน้อมต่อพระรัตนตรัย และเทวดา จากนั้นก็จะบอกว่าบุญนี้ใครเป็นเจ้าภาพ ขออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ใด ขอเชิญเทวดาจึงช่วยบอกให้วิญญาณผู้นั้นรับกุศล ถ้อยคำดังกล่าวค่อนข้างจะยาวพอสมควร แต่ก็ไพเราะ และชวนให้เชื่อว่าศักดิ์สิทธิ์ เมื่อกล่าวจบ ภิกษุที่สองหรือสาม จะลุกมารับประเคนสำรับจากเจ้าภาพ จะประเคนเพียงสำรับเดียว เชื่อว่าสำรับอื่นๆ ก็จะประเคน แล้วเพราะอยู่บนผ้าขาวผืนเดียวกัน ภิกษุรูปนั้น จะนั่งกระโหย่ง ประนมมือมาทางหัวแถว กล่าวคำอุปโลกน์ เป็นทำนองว่าอาหาร สำรับแรกถวายแก่ภิกษุผู้อาวุโส ส่วนอาหารที่เหลือจะเป็นของภิกษุ สามเณร และบุคคลอื่นๆ สืบต่อไป จากนั้นภิกษุ สามเณรก็จะฉันภัตราหาร เมื่อฉันเสร็จ เจ้าภาพก็จะประเคนเครื่องไทยทานอื่นๆ พระสงฆ์ทั้งนั้นอยู่อนุโมทนาให้พร จากนั้นญาติมิตรที่มาร่วมงานจะ รับประทานอาหารพร้อมเพรียงกันเสร็จแล้วอาจมีเทศน์ อานิสงส์ท้ายก็ได้งานประเพณีเช่นนี้ทำให้เกิดความมั่นใจว่าบุญที่ทำนี้จะถึงผู้ตาย จริงๆ เช่น งานปอยข้าวสังฆ์ เป็นต้นไป ประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยวนอีกอย่างหนึ่ง คือ ประเพณีจุดประทีปตีนกา ประเพณีที่จะทำกันในวันเพ็ญเดือน 12 เมื่อถึงเวลาเย็นของวันนี้ ชาวไทยวน จะมารวมกันที่วัด เมื่อได้เวลาอันสมควร (อาจจะหนึ่งทุ่ม) ก็จะนิมนต์พระมาเทศน์เรื่อง “พญากาเผือก” ให้ฟัง เมื่อพระเริ่มเทศน์สัปบุรุษก็จะ จุดประทีป ตีนกาเพื่อบูชาพระธรรม ประทีปนี้ก็คือชาวบ้านจะเอาด้ายมาทำเป็นรูปตีนกา กา คือ นกที่มีสีดำ พยายามทำด้ายให้เป็นรูปตีนกาวางลง ในถ้วยที่มีน้ำมันแช่อยู่เล็กน้อยที่มาของประทีปนี้ ก็คือ เล่ากันว่าครั้งหนึ่งมีกามาทำรังอยู่บนต้นไม้ริมฝั่งแม่น้ำในรังไข่ของแม่กาอยู่ 5 ฟอง เช้าวันหนึ่งแม่กาบินออกไปหาเหยื่อ ได้เกิดมีพายุฝนอย่างแรงพัดเอาไข่ทั้ง 5 ฟองนี้ ตกลงไปในแม่น้ำ กระแสน้ำพัดพาไปติด ฝั่งมีสัตว์ต่างๆ คือ แม่ไก่ นาค โค เต่า และงูใหญ่ นำไข่ไปฝักเลี้ยง เมื่อถึงเวลาไข่ก็แตกออกมาเป็นคน แต่ละคนมีชื่อตามผู้ที่ นำไปฝักเลี้ยง คือ กุกกุสันโธ (วงศ์ไก่), โกนาคมโน (วงศ์นาค), กัสสโป (วงศ์เต่า), โคตโม (วงศ์โค) และเมตไตโย (วงศ์งูใหญ่) ส่วนแม่กาเผือก เมื่อกลับมาถึงรังของตนในวันนั้น ไม่พบไข่ของตนก็ร้องไห้เสียใจจนสิ้นใจตายไปเกิดเป็นท้าวผกาพรหมอยู่บนสวรรค์ วันหนึ่งบุตรทั้ง 5 คน มาพบกันได้ไถ่ถามกัน จึงรู้จักกันว่าเป็นพี่น้องกัน ก็พากันร้องไห้เพราะคิดถึงแม่กาเผือกผู้เป็นมารดาของตน เมื่อถึงวันเพ็ญเดือนสิบสองให้จุดด้ายตีนกาลอยน้ำไปเถิด และบุตรแม่กาเผือกทั้ง 5 คนต่างก็อธิษฐาน ขอให้ได้ไปเกิดเป็นพระพุทธเจ้า และบัดนี้ได้มาเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว 5 องค์ คือ พระกุกกุสันโธ พระโกนาคมโม พระกัสสโป พระโคตรมะ คือ พระพุทธเจ้าของเรา ในยุคนี้ ส่วนพระเมตไตโย จักเกิดมาเป็นพระศรีอริย์ในอนาคต นี่คือที่มาของประเพณีจุดประทีปตีนกาของชาวไทยวน ประเพณีถวายสลากภัต ที่มาของประเพณีนี้ มีอยู่ว่าสมัยหนึ่งครั้งพุทธกาล เกิดข้าวยากหมากแพง อาหารมีน้อย เมื่อพระมาบิณฑบาต บางคนมีอาหารน้อยนิดไม่พอจะใส่บาตรให้ครบทุกรูป จึงทูลขอกับพระพุทธเจ้าให้ใช้วิธีให้ภิกษุจับสลาก ภิกษุรูปใดจับได้สลากของใคร ก็รับอาหารจากผู้นั้น พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาตให้มีการถวายอาหารโดยวิธีจับสลาก นี่คือที่มาของประเพณีบุญสลากภัต ซึ่งชาวพุทธ ทุกภาคในประเทศไทยก็นิยมทำกัน ซึ่งจะทำในวันใดก็ได้ สำหรับประเพณีไทยวนอำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี จะเริ่มจากชาวบ้าน ร่วมกันกำหนดวัน เดือนถวายสลากภัตที่วัด แล้วบอกบุญใช้ชาวบ้านช่วยกัน เตรียมสลากภัต เมื่อได้จำนวนเท่าใด ก็จะนิมนต์พระมารับสลากภัต ให้เท่ากับจำนวนที่มีเจ้าภาพรับไว้ชาวบ้านเมื่อรับ เป็นเจ้าภาพ แล้วก็จะเตรียมสลากภัต ส่วนมากจะเป็นอาหารหวานและผลไม้ที่เก็บไว้ได้นานคนเมืองเหนือจะเตรียมสิ่งดังกล่าวใส่ชะลอม คนเหนือเรียกว่า “ก๋วย” คนเมืองเหนือจึงเรียกประเพณีถวายสลากภัตว่า “ทานก๋วย” ส่วนคนยวนสระบุรี จะนำสิ่งของใส่กระจาด และมีผู้มีศรัทธามากและมีฝีมืออาจมีฉัตรปีกกลางกระจาดตกแต่งสวยงาม เมื่อถึงวันงาน ก็จะนำกระจาดสวยงามเหล่านี้ ไปวางไว้เรียงบนชั้นที่เตรียมไว้ที่สนามลานวัด นิมนต์พระเทศน์อานิสงส์การถวายสลากภัตจบแล้วกล่าวคำถวาย ให้ภิกษุจับสลาก จับได้ของใครก็ไปรับของผู้นั้น แล้วนำกลับวัดของตน จุดเด่นของงานถวายสลากภัต อยู่ที่ความสวยงามอันเกิดจากความมีฝีมือตกแต่งต้นสลาก (คนยวนเรียกต้นกั๋น) ขบวนแห่หลากหลาย ผู้คนต่างหมู่บ้านมากมายมาร่วมงานนี้ 4. ภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิปัญญาชาวบ้าน อันเป็นเรื่องสำคัญอีกเรื่องหนึ่งของท้องถิ่น คำว่า “ภูมิปัญญา” มาจากการรวมคำสองคำเข้าด้วยกัน คือ ภูมิ หมายถึง แผ่นดิน ปัญญา หมายถึง ความรู้ นั้นก็คือ เมื่อมีผู้คนไปอยู่ ณ ท้องถิ่นใดนานพอควรก็จะแสดงออกซึ่งความรู้ ความสามารถ ของตน ณ ท้องถิ่นนั้น เพราะมนุษย์มีลักษณะพิเศษประจำตนอยู่สามอย่าง คือ สมอง ที่สามารถคิดหรือสะสมความรู้ได้อย่างมาก สอง ปาก ปากของมนุษย์ สามารถเปล่งเสียงได้มากเมื่อสมองสั่งการมนุษย์ก็จะสื่อสารออกมาทางเสียงผ่านปากของตน สาม มือ มือของ มนุษย์สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้มากมายทั้งทำสิ่งหยาบๆ ง่ายๆ จนกระทั่งทำสิ่งซับซ้อน ด้วยความที่มนุษย์ที่มีของวิเศษ ประจำกายตน สามอย่าง คือ สมอง ปาก มือ นี่เอง ทำให้มนุษย์ผลิตเครื่องมือ เครื่องใช้ ได้อย่างมากมายไม่มีที่สิ้นสุด ตัวอย่าง “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” ของชาวไทยวนบ้านต้นตาล อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี 1. ภูมิปัญญาเกี่ยวกับอาหาร ชาวไทยวนได้รับการถ่ายทอด การประกอบอาหารมาจากบรรพบุรุษเป็นอาหารทางเหนือจัดอาหารแบบขันโตก มีข้าวเหนียว แกงโฮ๊ะ ลาบ ผัดหมี่ ไส้อั่ว แค็บหมู น้ำพริกหนุ่ม และชาวไทยวนสระบุรี ยังได้ทำขนม เพื่อใช้ในงานบุญประเพณี เช่น งานบุญ ถวายสลากภัต งานกวนข้าวทิพย์ ขนมที่ชาวไทยวนนิยมทำ ได้แก่ ขนมกง ขนมนางเล็ด (ข้าวแตน) ข้าวหลาม 2. ภูมิปัญญาเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ชาวไทยวนนิยมสร้างบ้านเรือนริมน้ำป่าสัก และสร้างตามรูปแบบของวัฒนธรรมเดิม คือการสร้างบ้านเรือน แบบทรงกาแล มีไม้ไขว้ อยู่บนหลังคาหน้าจั่วเรือนส่วนบนผายออก เรียกว่า เรือนอกโตเอวคอด 3. ภูมิปัญญาเครื่องนุ่งห่ม ชาวไทยวนบ้านต้นตาล ยังคงสืบทอดการทอผ้า และมีการประกอบอาชีพทอผ้า เพื่อการขาย และการอนุรักษ์ให้คงอยู่ ผ้าที่นิยมทอ ได้แก่ ย่าม หมอน ผ้าห่ม ผ้าซิ่น ผ้าขาวม้า ผ้าปรกหัวนาค ผ้าห่อคัมภีร์ ตุง กลุ่มทอผ้าบ้านต้นตาล ที่มีการออกแบบลวดลายอย่างเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่น ผ้าทอมือจากศูนย์ทอผ้าตำบล ต้นตาล ได้เข้าคัดสรรในโครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ในปี 2547 ในระดับประเทศ ได้ระดับ 3 ดาว 4. ภูมิปัญญาเครื่องใช้พื้นบ้าน เนื่องจากคนไทยวนสระบุรี อาศัยอยู่ใกล้ริมน้ำจึงทำเครื่องมือจับสัตว์น้ำ ได้แก่ ข้อง สุ่ม ไซ แห เป็นต้น และได้ทำเครื่องใช้ในครัวเรือน ได้แก่ กระจาด ชะลอม สาแหรก เป็นต้น 5. ภูมิปัญญาในการทำเครื่องใช้บูชา ชาวไทยวน ได้สืบทอดความเชื่อความศรัทธาในเรื่องของพุทธศาสนา และการนับถือ “ผี” จึงได้ทำเครื่องมือไว้บูชา คือ ตุง และ โคม ตุง เป็นสิ่งที่ทำขึ้นเพื่อใช้ในงานพิธีทางพุทธศาสนา ถวายเป็นพุทธบูชา ถือว่าเป็นการทำบุญอุทิศให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว หรือถวายเพื่อเป็นปัจจัยส่งกุศลให้แก่ตนไปในชาติหน้า ด้วยความเชื่อว่า เมื่อตายไปแล้วจะได้เกาะยึดชายตุงขึ้นสวรรค์ โคม สามารถแบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่ “โคมแขวน” จะประดิษฐ์ขึ้นเพื่อประดับประดา มักจะทำเป็นรูปทรงต่าง ๆ ทั้งทรงกลม ทรงเหลี่ยม ทำจากกระดาษชนิดต่าง ๆ เช่น กระดาษสา กระดาษแก้ว กระดาษว่าว หรือผ้าดิบ ขึ้นโครงด้วยไม้ไผ่เอี๊ยะ ที่มีลักษณะพิเศษ คือ ล้ำปล้องยาว ตาห่าง เหมาะแก่การดัดทำเป็นโครงรูปทรงต่าง ๆ ข้างในประกอบด้วยหลอดไฟ แต่เดิมมีความเชื่อว่า หากจุดโคมในเวลากลางคืนจะเป็นการบูชาเทวดาที่รักษาบ้านช่อง “โคมลอย” จะประดิษฐ์ด้วยการใช้วัตถุแบบเดียวกันกับโคมแขวน แต่โคมลอยนั้นจะทำพิเศษให้สามารถลอยขึ้นสู่ท้องฟ้าได้เหมือนบอลลูน ถือเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกที่ติดตามตัวเราให้ออกไปให้หมด |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |