ประวัติอำเภอเชียงคำ กว่าจะมาเป็นอำเภอเชียงคำ ประวัติอำเภอเชียงคำ กว่าจะมาเป็นอำเภอเชียงคำ มีทั้งหมด 11 ตอน โดย คุณพิทยา วงศ์ใหญ่ ปราชญ์ชาวบ้านอำเภอเชียงคำ ท่านเป็นผู้ที่มีความรอบรู้ประวัติศาสตร์ความเป็นมาของล้านนา และท่านเป็นผู้ค้นคว้าหาข้อมูลหรือหลักฐานเรื่องราวความเป็นมาของอำเภอเชียง คำ จากหลักฐานที่เป็นเอกสารทางราชการอย่างจริงจัง จนได้ประวัติอำเภอเชียงคำอย่างละเอียดถูกต้องมากที่สุด ผลงานการค้นคว้าของท่าน จึงนับว่า ท่านเป็นผู้ที่มีคุณูปการอันใหญ่หลวงแก่ชาวเชียงคำเป็นอย่างยิ่ง และคุณพิทยา วงศ์ใหญ่ ท่านยังยินดี ให้นำประวัติอำเภอเชียงคำมาแชร์ เผยแพร่หรือให้เราบันทึกไว้ให้ลูกหลานได้ศึกษาเล่าเรียนสืบต่อไป ในโอกาสฉลอง 111 ปีเชียงคำรำลึกนี้ ทางคุณพิทยา วงศ์ใหญ่ พร้อมกับทางอำเภอเชียงคำและสภาวัฒนธรรมอำเภอเชียงคำ จะได้จัดทำเป็น รูปเล่มชื่อ ” ตำนานเมืองเชียงคำ ” ไว้แจกจ่ายให้สถาบัน สถานศึกษา หน่วยงานต่างๆรวมทั้งประชาชนชาวเชียงคำทั้งมวลได้เก็บไว้เป็นที่ระลึกอีก ด้วย ประวัติอำเภอเชียงคำ กว่าจะมาเป็นอำเภอเชียงคำ 1. เชียงคำแต่เก่าก่อน ในตำนานวัดพระธาตุดอยคำ และตำนานวัดพระนั่งดิน ซึ่งเป็นวัดสำคัญคู่เมืองเชียงคำ กล่าวว่า ในอดีตมีเมืองในบริเวณนี้เมืองหนึ่งชื่อว่า ” เมืองชะราว ” หรือ ” เมืองพุทธรส ” เจ้าเมืองชื่อพระพญาคำแดงได้สร้างเจดีย์พระธาตุดอยคำประดิษฐานอยู่บนดอยสิง กุตตระ ซึ่งเป็นภูเขาเตี้ยๆ ตั้งอยู่ทิศตะวันออกของเมืองเชียงคำปัจจุบัน เพื่อล้างบาปที่ได้ทำศึกฆ่าฟันผู้คนล้มตาย ส่วนตำนานวัดพระนั่งดินนั้น กล่าวไว้ตรงกันว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด สัตว์ที่เมืองพุทธรส ได้ประทับอยู่ที่ดอยสิงกุตตระ ทรงโปรดให้พญาคำแดง เจ้าเมืองปั้นรูปเหมือนของพระองค์ประดิษฐานไว้ ณ เมืองนี้ ” เชียงคำ ” ตั้งอยู่บนที่ราบเล็กๆในลุ่มแม่น้ำลาว ลักษณะภูมิประเทศเป็นแอ่งกระทะ มีภูเขาล้อมรอบ ด้านทิศตะวันออกเป็นเทือกเขาสูง ทำเลที่ตั้งของเมืองอยู่บนเส้นทางเชื่อมระหว่างเมืองต่างๆในลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำน่าน ลุ่มแม่น้ำกกและแม่น้ำอิงมาแต่โบราณ เดิมเป็นเวียงขนาดเล็กมีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 2 แห่งคือ ” เวียงหลวง ” ตั้งอยู่บนฝั่งขวาของแม่น้ำลาวครอบคลุมพื้นที่ของบ้านเวียง บ้านดอนไชย และบ้านดอนแก้วแห่งหนึ่ง และอีกแห่งหนึ่งคือ ” เวียงพระนั่งดิน ” ตั้งอยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำลาวครอบคลุมพื้นที่บ้านไชยพรม บ้านพระนั่งดิน บ้านคือและบ้านดอนแก้วบางส่วน เวียงเชียงคำเก่าทั้ง 2 แห่งปัจจุบันตั้งอยู่ในเขตตำบลเวียง หลักฐานทางโบราณคดีที่ค้นพบกำหนดอายุตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 20 ลงมา แต่ ณ. ขณะนี้ยังไม่พบหลักฐานเอกสารที่เกี่ยวกับเชียงคำในช่วงนั้น 2. เชียงคำสมัยเป็นเมืองขึ้นของเมืองน่านในแดนล้านนาตะวันออก เจ้าของบ้านกับผู้มาใหม่ ประชากร ดั้งเดิมของเชียงคำเป็นชาวไตยวนหรือคนเมือง ทางการปกครองนั้นเชียงคำขึ้นอยู่กับเมืองน่าน ซึ่งเป็นหัวเมืองสำคัญของล้านนาตะวันออก ปลายสมัยอยุธยาล้านนาซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่าถูกเกณฑ์ทัพลงไปรบกับอยุธยา จึงสูญเสียกำลังคนไปมาก เมื่อเจ้าเมืองเชียงใหม่และลำปางลงไปสวามิภักดิ์ต่อพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ขอกองทัพมาช่วยขับไล่พม่าได้สำเร็จ จึงพยายามฟื้นฟูบ้านเมือง ช่วงนั้นในแคว้นสิบสองพันนาเพื่อนบ้านทางด้านทิศเหนือของล้านนาเกิดจลาจลและ มีสงครามกลางเมืองต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ในปีพ.ศ.2348 ล้านนาจึงยกทัพไปกวาดต้อนชาวไตลื้อในสิบสองพันนาลงมาฟื้นฟูล้านนาตามนโยบาย ” เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ” โดยจัดทัพเป็น 2 ทาง ทางแรกคือทัพเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และแพร่ ยกขึ้นไปตีเมืองยอง เมืองเชียงตุง และหัวเมืองลื้อฟากตะวันตกของแม่น้ำโขง ได้คนหนึ่งหมื่นเศษนำลงมาอยู่ในเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และแพร่ อีกทางหนึ่งคือทัพเมืองน่านและหลวงพระบาง ยกขึ้นไปตีเมืองหลวง เมืองภูคา เมืองมาง เมืองพง หัวเมืองลื้อฟากตะวันออกของแม่น้ำโขง เมืองเชียงรุ้ง และเมืองเชียงแขง ได้คนสี่หมื่นห้าหมื่นเศษนำลงมาอยู่ในเขตเมืองน่าน สมัยต่อมาทัพเมืองน่านยังขึ้นไปตีหัวเมืองลื้ออีก 2 ครั้งคือ ในปีพ.ศ.2355 สมัยเจ้าสุมนเทวราช และในปีพ.ศ.2399 สมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯ เป็นเจ้าผู้ครองนคร ในรัชกาลที่ 3 และ 4 ไตลื้ออพยพหนีสงครามกลางเมืองชิงอำนาจระหว่างเจ้านายลื้อด้วยกันในสิบสองพัน นา และหนีการปล้นสะคมของกองโจรจีนฮ่อเข้ามาอยู่ในเขตเมืองน่านอีกจำนวนมาก มีรายงานว่าในสมัยนั้นประชากรในดินแดนของเมืองน่านเป็นไตลื้อ 2 ส่วน ไตยวนและอื่นๆ 1 ส่วน เชียงคำเป็นเมืองหนึ่งที่ไตลื้อเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่จำนวนมาก ทำให้เชียงคำกลายเป็นหัวเมืองสำคัญของเมืองน่านขึ้นมา ในสมัยเจ้าอนันตวรฤทธิเดชฯเจ้านครน่าน ได้สั่งให้ปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่ชำรุดในหัวเมืองต่างๆในเขตเมืองน่าน สำหรับเมืองเชียงคำท่านได้เลือกบูรณะวัดพระธาตุสบแวนซึ่งเป็นวัดของชุมชนไต ลื้อ แสดงว่าฝ่ายปกครองของเมืองน่านได้ยอมรับและให้ความสำคัญแก่ไตลื้อผู้อพยพ เข้ามาใหม่ และมีนโยบายเกลี้ยกล่อมให้ไตลื้อกลายเป็นประชากรของเมืองน่านอย่างถาวรไม่ ต้องกลับไปสิบสองพันนาอีก ในสมัยรัชกาลที่ 5 ขณะที่การปกครองล้านนายังเป็นมณฑลลาวเฉียงอยู่นั้น เมืองน่านได้จัดการปกครองประชากร 2 กลุ่มใหญ่ในเชียงคำ โดยพวกลาวเฉียง ( ไตยวน ) ให้อยู่ในอำนาจของผู้ว่าราชการเมือง แต่พวกไตลื้อนั้นให้อยู่ในอำนาจและการบังคับของอาญามหาวงษ์ ( นายน้อย มหาวงษ์ ) ซึ่งเป็นเชื้อสายเจ้านายเมืองพงในแคว้นสิบสองพันนา อาญามหาวงษ์เป็นหัวหน้าควบคุมพวกไตลื้อในเมืองเชียงคำ เมืองเชียงม่วน เมืองท่าฟ้าและเมืองอิง 3.ไทยเข้ามาจัดการปกครองล้านนาและยกเลิกฐานะประเทศราชเชียงคำเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรไทย ใน สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อสิ้นสงครามกับพม่าแล้ว ไทยต้องเผชิญกับลัทธิล่าอาณานิคมจากชาติตะวันตก อังกฤษยึดได้พม่าและมลายู ผรั่งเศสยึดญวน เขมร และลาว อังกฤษมีท่าทีสนใจล้านนาประเทศราชของไทยเพราะมีป่าไม้สักมูลค่ามหาศาล ไทยจึงต้องปกป้องล้านนา ต่อมาเกิดคดีพิพาทเรื่องสัมปทานป่าไม้ เจ้านายชั้นสูงเมืองเชียงใหม่แพ้คดี ต้องจ่ายเงินค่าเสียหายให้คนในบังคับอังกฤษแต่มีเงินไม่พอ เพื่อป้องกันไม่ให้อังกฤษเข้ามาแทรกแซงอธิปไตยในล้านนา รัฐบาลกลางที่กรุงเทพจึงให้ยืมเงินไปชำระหนี้ และถือโอกาสเข้ามาจัดการปกครองล้านนา โดยอาศัยสนธิสัญญาเชียงใหม่ที่ไทยลงนามกับอังกฤษในปีพ.ศ.2416 ไทบเริ่มส่งข้าหลวงสามหัวเมืองขึ้นมาควบคุมดูแลคือเมืองเชียงใหม่ ลำปาง และลำพูน ในปีพ.ศ.2427 ขยายเป็น 5 หัวเมืองคือ เพิ่มเมืองน่านและเมืองแพร่ แล้วได้พัฒนาขึ้นมาเป็นหัวเมืองลาวเฉียงในปีพ.ศ.2442 มณฑลลาวเฉียงถูกจัดเป็นมณฑลเทศาภิบาล ยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราช ล้านนาได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรไทย โดยมีข้าหลวงใหญ่มณฑลเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดแทนเจ้าผู้ครองนคร ในปีเดียวกันนี้ได้เปลี่ยนนามมณฑลใหม่เป็นมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างให้เกิดความรู้สึกร่วมกันว่าเป็นชาวไทย เพราะคำว่าลาวมีลักษณะเชิงดูถูก แต่เนื่องจากชื่อใหม่มณฑลตะวันออกเฉียงเหนือนี้ไม่ติดปาก ในที่สุดจึงเปลี่ยนเป็นมณฑลพายัพตามลำดับ 4. เชียงคำขึ้นอยู่กับแขวงน้ำอิง เขตนครเมืองน่าน ใน รัชกาลที่ 4 และตอนต้นรัชกาลที่ 5 ไทยเสียดินแดนให้นักล่าอาณานิคมชาวตะวันตกคือ ฝรั่งเศสและอังกฤษไปแล้ว 4 ครั้ง เพื่อรักษาเอกราชไทยจึงพยายามปรับปรุงการปกครองประเทศให้เรียบร้อย เข็มแข็งและทันสมัย โดยรวมอำนาจบริหารทั้งหมดเข้าสู่ศูนย์กลาง นำระบบที่อังกฤษพัฒนาขึ้นเพื่อปกครองพม่ามาใช้ แบ่งอาณาจักรออกเป็นมณฑล มีข้าหลวงใหญ่เป็นผู้ปกครองและจัดการเก็บภาษีโดยตรงแทนวิธีผูกขาดแบบเดิม เพื่อความเข้มแข็งทางการคลัง ในปีพ.ศ.2437 ได้โอนงานปกครองส่วนภูมิภาคให้กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบทั้งหมดแต่ฝ่ายเดียว ในปีพ.ศ.2440 ได้มีการประกาศใช้ พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ทั่วราชอาณาจักร กำหนดจัดการปกครองแบ่งเป็นหมู่บ้านซึ่งเป็นหน่วยปกครองเล็กที่สุด ถัดขึ้นไปเป็นตำบลและอำเภอ เนื่องจากเจ้าผู้ครองนครเมืองน่านคือเจ้าสุริยะพงษ์ผริตเดชฯมีอำนาจเข้มแข็ง และมีความจงรักภักดีต่อราชสำนักไทยอย่างมาก จึงสามารถจัดการปกครองได้อย่างรวดเร็ว ในปีพ.ศ.2442 พระยาศรีสหเทพ ( ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ) ซึ่งขึ้นมาตรวจจัดราชการในมณฑลตะวันออกเฉียงเหนือ พระยาสุนทรนุรักษ์ ( ข้าหลวงประจำเมืองน่าน ) เจ้าสุริยะพงษ์ผริตเดชฯ ( เจ้านครเมืองน่าน ) และเค้าสนามหลวงเมืองน่านได้ประชุมตกลงกันแบ่งเขตการปกครองเมืองน่านออกเป็น 8 แขวง คือ 1.แขวงนครน่าน 2.แขวงน้ำแหง 3.แขวงน่านใต้ 4.แขวงน้ำปัว 5.แขวงขุนน่าน 6.แขวงน้ำของ ( มีเมืองคอบ เมืองเชียงลม เมืองเชียงฮ่อน เมืองเงิน ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ที่เมืองเชียงลม ) 7.แขวงน้ำอิง ( มีเมืองเชียงคำ เมืองเชียงแลง เมืองเทิง เมืองหงาว เมืองเชียงของ เมืองเชียงเคี่ยน เมืองลอ เมืองมิน ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ที่เมืองเทิง ต่อมามีการแต่งตั้งให้นายหนานมธุรศเป็นนายแขวงน้ำอิง พระยาพิพัฒน์นราสาร และนายทองดีเป็นรองแขวง ) 8.แขวงขุนยม ( มีเมืองเชียงม่วน เมืองสะเอียบ เมืองสะ เมืองสวด เมืองปง เมืองงิม เมืองออย เมืองควร ที่ว่าการแขวงตั้งอยู่ที่เมืองปง ) ในปีพ.ศ.2443 พระยาศรีสหเทพ ราชปลัดทูลฉลองมหาดไทยขึ้นไปตรวจจัดราชการในหัวเมืองมณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ได้ประกาศการจัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น “ แขวง “ และ กรณีที่ท้องที่กว้างก็รวมตั้งเป็น “ บริเวณ “ ดังนี้ 1) นครเชียงใหม่ สำหรับนครน่าน ได้จัดแบ่งการปกครองท้องที่เสร็จไปแล้วในปี พ.ศ.2442 เนื่อง จากล้านนามีระบบการปกครองและวัฒนธรรมเป็นของตนเองมายาวนาน เพื่อให้การปกครองระบบใหม่สอดคล้องกับประเพณีการปกครองในท้องถิ่น ในปีพ.ศ.2443 รัฐบาลไทยจึงได้ออก “ ข้อบังคับสำหรับการปกครองมณฑลพายัพ ร.ศ.119” กำหนดให้ใช้ พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ในมณฑลพายัพทุกมาตราแต่ให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งในการปกครองต่างๆที่เป็นภาษา ไทยให้เป็นภาษาพื้นเมืองเพื่อให้ราษฎรเข้าใจได้ง่าย คือ 5. หลังเหตุการณ์ใหญ่ กบฏเงี้ยว ย้ายเมืองเชียงคำ ผล กระทบจากนโยบายรวมอำนาจและผลประโยชน์จากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลาง เจ้านายบุตรหลานในหัวเมืองล้านนาที่เคยมีมาแต่เดิมถูกจำกัดอำนาจลง จึงเกิดกระแสต่อต้านอำนาจรัฐจากส่วนกลางขึ้นในท้องถิ่น เช่น เกิดกบฏพระยาปราบสงคราม ( พญาผาบ ) ที่สันทรายเชียงใหม่ และแพร่กระจายไปทั่วล้านนา ในเมืองแพร่ได้เกิดเหตุจลาจลขึ้นในปีพ.ศ.2445 พวกกบฏเงี้ยวมาจากเมืองลองได้บุกเมืองแพร่เข้ายึดที่ทำการของราชการและฆ่า พระยาไชยบูรณ์ ข้าหลวงประจำเมืองแพร่พร้อมราชการจากส่วนกลางอีกหลายคน รัฐบาล แต่งตั้งเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีเป็นแม่ทัพใหญ่ขึ้นมาปราบกบฏ พวกกบฏหนีจากเมืองแพร่ออกไปทางเมืองสองแล้วแบ่งเป็น 2 พวก พวกหนึ่งไปทางเมืองงาวเพื่อจะปล้นเมืองงาวแล้วเลยไปพะเยา อีกพวกหนึ่งไปทางเมืองสะเอียบ เมืองเชียงม่วน เมืองปง เมืองออย แล้วขึ้นมายังเชียงคำ แม่ทัพใหญ่ส่งพระยาดัษกรปลาศเป็นแม่ทัพนำกำลังทหารจำนวน 200 นาย ออกจากเมืองแพร่มาทางเมืองสองขึ้นมาปราบเงี้ยวเมืองเชียงม่วนและเมืองเชียง คำ เนื่องจากมีข่าวว่ามีพวกเงี้ยวที่เมืองเชียงของหลายร้อยคนได้รับการสนับสนุน จากฝรั่งเศสบนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง ทางรัฐบาลวางแผนให้กองทหารจากลำปางตีโอบมาจากพะเยามาสมทบกับทัพจากเมืองแพร่ เมื่อทัพพระยาดัษกรปลาศเดินทางมาถึงเมืองสะเอียบในตอนเช้า มีกองกำลังของฝ่ายกบฎประกอบด้วย ส่างโปหัวหน้าเงี้ยวพร้อมเงี้ยว 30 คน นายไชยวงษ์หัวหน้าไตลื้อเมืองเชียงคำพร้อมลื้อ 50 คนและคนเมืองจากเมืองเงิน เมืองปง เมืองออย และเมืองเชียงม่วน 70 คน รวม 150 คน ยกเข้าตีทัพหน้าของพระยาดัษกรปลาศ แต่สู้ไม่ได้จึงล่าถอยเข้าไปตั้งรับอยู่ที่ท่าฟ้า ทัพพระยาดัษกรปลาศตามไปแต่ยังไม่ถึงท่าฟ้า พอดีร้อยเอกบุศย์นำกองทหารจำนวน 80 คนมาจากพะเยามาถึงท่าฟ้าก่อน พวกเงี้ยวและลื้อจำนวน 60 คน มีอาวุธครบมือเป็นกองหน้ายกกำลังไปสกัดทัพของรัฐบาลที่ดอยปู่ม่อม ( ภูมม ) ก่อนเข้าท่าฟ้า แต่ก็พ่ายแพ้ต่อทัพของทางรัฐบาล เมื่อเหตุการณ์สงบแล้วรัฐบาลจึงกล่าวอ้างความชอบธรรมเข้ามาจัดการปกครองมณฑล พายัพ ได้สั่งปลดเจ้าพิริยเทพวงศ์ เจ้าผู้ครองนครแพร่ออกจากตำแหน่ง และค่อยๆยกเลิกระบบเจ้าผู้ครองนครทีละเมืองจนหมด ระหว่าง เดินทัพขึ้นมาปราบกบฎเงี้ยวที่เมืองเชียงคำนั้น พระยาดัษกรปลาศเห็นว่าที่ตั้งเมืองเชียงคำที่ตำบลเวียงนั้นคับแคบไม่พอรอง รับการขยายตัวของชุมชน และที่ตำบลหย่วนมีไตลื้ออพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งอยู่จำนวนมาก มีพื้นที่กว้างขวางสามารถรองรับการขยายเมืองได้ หลังจากการจลาจลสงบลงจึงให้ย้ายเมือง จากตำบลเวียงมาตั้งใหม่ที่ตำบลหย่วน 6.เชียงคำขึ้นอยู่กับบริเวณน่านเหนือ เนื่อง จากนครเมืองน่านมีพื้นที่กว้างขวาง ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นป่าเขาระยะทางระหว่างเมืองต่างๆอยู่ห่างไกล แม้จะเพิ่มเขตปกครองจากเดิม 8 เขตเป็น 13 เขตแล้ว แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะรักษาความสงบเรียบร้อยได้ทั่วถึง จึงได้มีการรวมหัวเมืองต่างๆเข้าด้วยกันตั้งเป็นบริเวณ โดยเริ่มตั้งบริเวณน่านตะวันออกก่อน แล้วตามมาด้วยบริเวณน่านเหนือและบริเวณน่านใต้ ใน ด้านการศึกษาเจ้าผู้ครองนครเมืองน่าน เค้าสนามหลวงและพระชยานันทมุนี ( มหาพรหมเปรียญ 5 ประโยค วัดพระเชตุพน ) พระราชาคณะที่สังฆปาโมกข์เจ้าคณะใหญ่นครเมืองน่านได้ร่วมกันจัดการศึกษาและ ศาสนา โดยตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยขึ้นในเขตนครเมืองน่าน ตั้งโรงเรียนประถมวิทยาที่วัดช้างค้ำ และโรงเรียนอินทสรพิทยาคมที่วัดหัวเวียงเป็นลำดับแรก 1) โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นมูลที่วัดช้างค้ำ ให้พระวินัยธรรมยศเป็นอาจารย์ใหญ่ โรงเรียน ใหม่แห่งนี้นับเป็นโรงเรียนแห่งแรกในบริเวณน่านเหนือ ซึ่งต่อมาพัฒนาเป็นโรงเรียนบ้านหย่วน และในเดือนกันยายน ปีพ.ศ.2465 จอมพลสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมหลวงนครสวรรค์วรพินิตเสนาบดีทหารบก ได้เสด็จตรวจราชการทหารในมณฑลฝ่ายเหนือ ได้พระราชทานนามโรงเรียนประจำอำเภอและตำบล โดยโรงเรียนบ้านหย่วนโรงเรียนประจำอำเภอเชียงคำ ได้รับพระราชทานนามว่า ” เชียงคำนาคโรวาท ” (ดังนั้นในปีพ.ศ.2558 โรงเรียนบ้านหย่วนเชียงคำนาคโรวาท จึงสถาปนาครบ 111 ปี) 7. เชียงคำขึ้นอยู่กับบริเวณพายัพเหนือ หลัง จากเสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศสไปแล้วรัฐบาลเห็นว่าในมณฑลพายัพ นั้น หัวเมืองต่างๆในลุ่มแม่น้ำของ (เดิมเรียกว่าแม่น้ำของต่อมาเปลี่ยนมาเรียกว่าแม่น้ำโขงแทน ) ซึ่งประกอบด้วย รัฐบาล ได้แต่งตั้งให้มีข้าหลวงประจำบริเวณอยู่ที่เมืองเชียงราย มีอำนาจจัดและตรวจตราหัวเมืองดังกล่าวให้ขึ้นตรงกับข้าหลวงใหญ่มณฑลพายัพ 8.กำเนิดแขวงเชียงคำขึ้นมาแทนบริเวณน่านเหนือ บริเวณน่านเหนือเมืองขึ้นของนครน่านถูกตัดไปรวมขึ้นอยู่กับบริเวณพายัพเหนือแล้วใน ปีพ.ศ.2449 กระทรวงมหาดไทยจึงจัดการปกครองบริเวณน่านเหนือใหม่ให้เหมาะสมดังนี้ 9.แขวงเชียงคำกลายมาเป็นอำเภอเชียงคำ ใน ปีพ.ศ.2451 กระทรวงมหาดไทย ได้กำหนดให้เปลี่ยนชื่อตำแหน่งการปกครองท้องที่จากภาษาพื้นเมืองไปเป็นภาษา ไทยเหมือนกันทั่วประเทศคือ แก่บ้านกลับไปเป็น ผู้ใหญ่บ้าน แคว่นกลับไปเป็นตำบล นายแขวงกลับไปเป็น นายอำเภอ และบริเวณให้เป็น จังหวัด ดังนั้นโดยคำสั่งฉบับนี้มีผลให้ ” แขวงเชียงคำ ” เปลี่ยนเป็น ” อำเภอเชียงคำ ” อย่างเป็นทางการ แต่ในเอกสารทางราชการก็ยังเรียกว่า ” เมืองเชียงคำ ” อยู่ในสังกัดของจังหวัดพายัพเหนือ ( บริเวณพายัพเหนือเดิม ) 10.เชียงคำเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ใน ปีพ.ศ.2453 กระทรวงมหาดไทยมีประกาศยกจังหวัดพายัพเหนือ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงราย รวมอยู่ในมณฑลพายัพ มีพระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้าฯให้ประกาศทราบทั่วกันว่า แต่เดิมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ได้จัดรวมเข้าเป็นจังหวัดเรียกว่าจังหวัดพายัพเหนือ ต่อมาเมืองเหล่านี้มีความเจริญยิ่งขึ้นจนเป็นเหตุให้เห็นว่าการที่จัดให้ เป็นแต่เพียงจังหวัดไม่พอแก่ราชการแลความเจริญ สมควรจะเลื่อนชั้นการปกครองขึ้นให้สมกับราชการแลความเจริญในท้องที่ จึงโปรดเกล้าให้รวมเมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย เมืองฝาง เวียงป่าเป้า เมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย เมืองเชียงคำ เมืองเชียงของ ตั้งเป็นเมืองจัตวาเรียกว่าเมืองเชียงรายอยู่ในมณฑลพายัพ แลจัดแบ่งการปกครองเป็น 10 อำเภอคือ อำเภอเมืองเชียงราย อำเภอเมืองเชียงแสน อำเภอเมืองฝาง อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอแม่สวย อำเภอเมืองเชียงคำ อำเภอเมืองเชียงของ เหมือนอย่างหัวเมืองจัตวาชั้นในที่ขึ้นกรุงเทพมหานครทั้งปวง แลทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้พระภักดีณรงค์ซึ่งเป็นข้าหลวงประจำจังหวัดพายัพ เหนือ เป็นผู้ว่าราชการเมืองเชียงรายรับราชการสนองพระเดชพระคุณสืบไป 11.อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน เมื่อ ปี พ.ศ. 2485 (ร.ศ.161) หลวงฤทธิ์ภิญโญ ดำรงตำแหน่งนายอำเภอเชียงคำ ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคำจากฝั่งตะวันออกมาตั้ง ณ ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำลาว ก่อนปี พ.ศ.2514 บริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเชียงคำฝั่งตะวันออก เป็นจวนนายอำเภอหรือบ้านพัก นายอำเภอ อาคารทีสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2514 ปัจจุบันได้รื้อถอนและสร้างอาคารหลังใหม่ทางฝั่งแม่น้ำลาวติดต้นขะจาวแนว ขว้างถนนอย่างที่เราเห็นอยู่ปัจจุบันนี้ เมื่อ วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 ได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดพะเยาขึ้น แบ่งเขตการปกครองจากจังหวัดเชียงราย โดยได้โอนอำเภอพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอปง อำเภอเชียงม่วน และอำเภอเชียงคำ รวม 7 อำเภอ จัดตั้งเป็นจังหวัดพะเยา ข้อมูลประวัติอำเภอเชียงคำ คุณพิทยา วงศ์ใหญ่ ปราชญ์ชาวบ้านอำเภอเชียงคำ ภาพ ” ลดทิฐิมานะ มีสัมมาคารวะ อ่อนน้อมถ่อมตน เป็นคุณสมบัติคนเชียงคำ ตามอย่างพระเจ้านั่งดิน “ ผดุง ประวัง |
ขอขอบพระคุณแหล่งข้อมูลหลักฐานทางประวัติศาตร์ที่ใช้ในการอ้างอิง ดังนี้ | |||||||||||||||||||||||||||||||
|
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |