|
|||||||||||||||||
![]() ปีแล้วปีเล่า ที่ผู้เขียนได้คอยแต่เฝ้าดูสังเกต ติดตาม กับการรอคอยและความหวังให้ทางหน่วยงานราชการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้หันมาใส่ใจดูแลทุกข์สุขของประชาชนบ้าง เหมือนกับตอนที่ท่านหาเสียง เพื่อเข้าไปในสภาอันทรงเกียรติ เพื่อเข้าไปเป็นปากเป็นเสียงแทนชาวบ้าน ตาสีตาสา ยายมี ตามา ที่ก้มหน้าเอาหลังสู้ฟ้าหน้าสู้ดิน เป็นกระดูกสันหลังของชาตินั้น บัดนี้ เวลาก็ได้ล่วงเลยและย่างเข้าสู้ปีที่ 27 แล้ว นับตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2526 กับการเรียกร้องและนำเสนอโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำยวน ไปยังหน่วยงานทางราชการ โดยได้เริ่มต้นตั้งแต่ระดับท้องถิ่น ผ่านทางอำเภอ เข้าสู่หน่วยงานของจังหวัด เพื่อนำเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมชลประทาน เพื่อให้ศึกษาข้อมูล ความเป็นไปได้และผลกระทบ ที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม จากการยื่นเรื่องไป ทำให้ได้รับข้อมูลจากหน่วยงานที่ได้ทำการศึกษา สำรวจพื้นได้ให้ข้อมูลคร่าวๆ ดังนี้ ในฤดูน้ำหลากหรือฤดูฝน ประมาณเดือนกรกฎาคม – เดือนตุลาคมของทุกๆปีนั้น น้ำในแม่น้ำยวน อันเป็นแม่น้ำสายหลัก ที่เกิดจากการไหลรวมตัวของลำห้วยต่างๆทั้ง 21 สาย ได้ไหลมารวมตัวกันเป็นแม่น้ำยวนนั้น จะเอ่อล้นขึ้นสูงแล้วไหลผ่าน อ.เชียงคำ จ.พะเยา และในบางปี ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นในหลายๆปีติดต่อกัน แต่ขณะเดียวกัน ในฤดูแล้ง สายน้ำดังกล่าว กลับแห้งขอด ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการเกษตรในบางพื้นที่ จากการศึกษาพบว่า แม่น้ำยวน อยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ น้ำเปื๋อย น้ำหย่วน น้ำลาว เนื้อที่ประมาณ 1,385 ไร่ และมีพื้นที่บางส่วนซ้อนทับพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูซาง 342 ไร่ อยู่ในเขต ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ห่างจากตัวอำเภอประมาณ 10 กิโลเมตร ข้อมูลจากกรมชลประทาน รายงานว่า “ลำน้ำยวนเป็นลำน้ำขนาดกลาง ยาวประมาณ 36.5 กิโลเมตร เนื่องจากหัวงานอยู่ในเขตป่าอนุรักษ์ และอยู่ในเขตลุ่มน้ำชั้น 1 เอ และ 1 บี จึงต้องให้มีรายงานการศึกษา ในเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (EIA) เพื่อประกอบในการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี พิจารณาก่อนที่จะดำเนินโครงการ และอาจจะมีบางพื้นที่น้ำท่วมบ้านเรือนของราษฎรเสียหายจำนวน 1 หมู่บ้าน คือบ้านน้ำยวนพัฒนา (ปางปอบ) ความคืบหน้าของโครงการ จึงเป็นไปอย่างล่าช้า แต่ถ้าหากโครงการดังกล่าวสำเร็จขึ้นจริง จะทำให้สามารถกักเก็บน้ำและทำการส่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรของประชาชน ประมาณ 20,000 ไร่ และในฤดูแล้ง 8,000 ไร่ และเป็นแหล่งน้ำอุปโภคบริโภคของราษฎร การเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่โครงการและใกล้เคียง ตลอดจนการลดอุทกภัยน้ำท่วม และใช้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์และขยายพันธุ์ปลาการทำประมง รวมทั้งสามารถพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้อีกด้วย ตามแผนงานนั้น โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำยวน จะประกอบไปด้วย อ่างเก็บน้ำ ที่เขื่อนและอาคารประกอบ รวมถึงระบบส่งน้ำ ซึ่งมีความสามารถเก็บกักน้ำได้ที่ 36 ล้าน ลบ.เมตร ความยาวของสันเขื่อนประมาณ 526 เมตร กินพื้นที่ 1,575 ไร่ มีระดับน้ำนองสูงสุดที่ 471 ม.รทก. โดยกำหนดส่งน้ำไปตามคลองส่งน้ำฝั่งซ้ายของแม่น้ำยวน ด้านบ้านร่องส้าน และฝั่งขวาของแม่น้ำลาว ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา รายงานการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ระยะเวลาในการดำเนินโครงการ โครงการอ่างเก็บน้ำยวน คาดว่า จะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 10 ปีจึงแล้วเสร็จ ใช้งบประมาณก่อสร้าง 405.74 ล้านบาท จนกระทั่งปี พ.ศ. 2546 ครม.ของ พณฯ ท่าน พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีท่านอดีตรัฐมนตรี นายเนวิน ชิดชอบ ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงมาสำรวจพื้นที่ที่จะทำการสร้างอ่างเก็บน้ำยวน ได้มาสำรวจยังสถานที่จริง ในคราวที่จัดให้มีคณะรัฐมนตรีสัญจรมาที่จังหวัดพะเยา หลังจาก ท่านเดินทางกลับไปแล้ว ทางคณะรัฐมนตรี ก็มติให้สามารถก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในเขตป่าชั้น 1 เอได้ ทำให้ฝ่ายการเมืองและท้องถิ่น ได้ร่วมกันผลักดันโครงการนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยกรมชลประทาน ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาฯ ทำรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการอ่างเก็บน้ำยวนแล้วส่งไปที่ กรมชลประทาน แต่แล้วเรื่องก็เงียบหายไป จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล และทำให้เรื่องดังกล่าวเงียบหายไปจนกระทั่งถึงปัจจุบัน จากข้อมูลดังกล่าว ทำให้พวกเรา อาจจะต้องรอคอยความหวัง แบบลมๆแล้ง กันอีกต่อไปอีกยาวนาน ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ถึงจะลงตัวสักที จะสร้างหรือไม่สร้าง ก็ขอให้รีบแจ้งประชาชนให้ทราบด้วย เนื่องจาก ในกรณีที่มีการศึกษาสำรวจข้อมูล ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้สำรวจในการศึกษา ได้ไปบอกกับชาวบ้านว่า จะมีการสร้างเขื่อนขึ้นจริงๆ แล้วจะมีการเวนคืนที่ดิน แล้วได้ทำการรางวัดเส้นทาง ที่จะมีน้ำที่ส่งมาจากเขื่อนไหลผ่านในพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน และได้ทำการปักเสาปูนไว้ในสถานที่เหล่านั้น ซึ่งเสาปูนเหล่านั้น ก็เป็นงบประมาณของแผ่นดิน ที่ผ่านมายังโครงการสำรวจ จนทำให้ชาวบ้านพากันหวาดระแวง ไม่กล้าที่จะปลูกพืชผลทางการเกษตร เพราะเกรงว่า หากโครงการดำเนินงานจริงๆ พืชผลที่ปลูกไว้ ก็คงได้รื้อถอนทิ้งทั้งหมด ก็คงจะเสียเวลาเปล่าในการปลูก ซึ่งทางหน่วยงานและเจ้าหน้าที่ที่ทำการสำรวจ ได้แจ้งกับชาวบ้านว่า คลองส่งน้ำจะมีความกว้างถึง 25 เมตร แล้วมีถนนเลียบคลองทั้งสองฝั่งด้วย ซึ่งหากคิดและจินตนาการภาพแล้ว คงจะกว้างมากเพราะมีขนาดถึง 25 เมตร แต่นี่ก็เวลาก็ได้ผ่านไปปีแล้วปีเล่า ที่เฝ้ารอคอย ถ้าปลูกพืชยืนต้น เช่น ลำไย ลิ้นจี่ ยางพารา คงได้ผลผลิตนำไปขายได้ราคา ได้เงินเยอะแล้ว แต่นี่ต้องรอโครงการฯ มองหมุดเสาที่ปักไว้ตรงกลางสวน กลางไร่ กลางนาของชาวบ้านแล้วสะท้อนใจ จนชาวบ้านพากันเจ็บใจ นำหมุดไปเป็นไม้คำต้นลำไยซะหลายต้น เสาปูนบางต้นปลวกอาจจะกัดกินหมดแล้วก็เป็นไปได้ คราวนี้ มาย้อนดูสภาพของอ่างเก็บน้ำยวนกันก่อนแล้วกันว่า ทำไม? ชาวบ้าน จึงพากันเรียกร้องให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำกัน ดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้วว่า ในฤดูกาลน้ำหลาก เรามีน้ำมากมายเหลือใช้ แต่เราก็ปล่อยให้ไหลลงไปสู่ที่ลุ่มตามกฎหลักธรรมชาติ กฎแห่งแรงโน้มถ่วงอะไรต่างๆนานาก็ว่ากันไป บางครั้ง ก็ได้ไหลไปท่วมพื้นที่ของชาวบ้าน ท่วมบ้านเรือน ทำความเสียหายเป็นอย่างมาก ผู้เขียนได้สังเกตเหตุการณ์นี้มาหลายปีแล้ว และได้เคยอ่านบทความเรื่องน้ำท่วมอีกแล้ว ของ หนังสือพิมพ์พะเยารัฐ ผ่านทางเว็ปไซต์ โดยผู้เขียนได้บอกไว้ว่า จริงๆแล้วน้ำมันก็ท่วมเป็นปกติ เป็นธรรมดาของมันทุกปี แต่มนุษย์เรา ไปสร้างถนนสร้างบ้านที่อยู่อาศัยขวางทางน้ำเอง ซึ่งในความเป็นจริง ก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ในเมื่อมนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ เป็นผู้มีจิตใจสูง สามารถที่จะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงธรรมชาติได้บ้าง ถึงจะไม่ได้ทั้งหมด แต่เพื่อความอยู่ดีกินดีของชาวบ้าน เพื่อความอยู่รอด เราก็ควรมีการพัฒนา มีการเปลี่ยนแปลงมิใช่หรือ? ซึ่งจากบทความดังกล่าวที่ได้กล่าวไว้ว่า “เราได้สร้างสิ่งปลูกสร้าง สร้างถนนกีดขวางทางเดินของน้ำเอง” ทำให้ผู้เขียนได้ย้อนระลึกไปถึงอดีตลำน้ำยวนของเรา ที่มีให้ใช้อย่างเพียงพอ มีน้ำที่ใสสะอาด จะว่าไปแล้ว แม้ปัจจุบันสายน้ำดังกล่าว ก็ยังคงใสสะอาดและมีเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิมด้วยช้ำไป เนื่องด้วยป่าไม้ก็อุดมสมบูรณ์ ไม่ได้ถูกทำลายเหมือนในสมัยก่อนๆ ที่มีการทำไร่เลื่อนลอย ปลูกสิ่งเสพติด ปลูกข้าวโพด ซึ่งปัจจุบันได้ลดลงจำนวนมาก ทำให้ป่าไม้กลับมาอุดมสมบูรณ์เหมือนเดิม และทำหน้าที่ดูดซับน้ำและปล่อยออกมา ตามลำห้วยต่างๆ กลายเป็นสายน้ำใหญ่ให้เราได้ใช้สอยกันจนกระทั่งถึงปัจจุบัน เพียงแต่เราไม่มีสถานที่เก็บกับไว้เพียงพอแค่นั้นเอง ยังอยู่ในความทรงจำ และรำลึกถึงเสมอ ว่าในอดีตตอนสมัยผู้เขียน มีอายุได้ประมาณ 6-7 ขวบ ก็มักจะมาเที่ยวงานสงกรานต์ที่ฝายโป่งจี้หรือที่ชาวบ้านใกล้เคียงเรียกว่า “ตะผ้า” ประจำ (ลืมบอกไปว่า ตรงที่เก็บน้ำยวนปัจจุบัน ได้มีการกั้นลำน้ำด้วยฝายขนาดเล็ก ด้วยคอนกรีตกว้างประมาณ 50 เมตร เพื่อกักเก็บน้ำยวน และแบ่งไปตามลำเหมืองสายต่างๆ ซึ่งเป็นฝายเล็กมากเมื่อเปรียบเทียบกับลำน้ำยวน แต่ก็ต้องจำยอม เนื่องด้วยติดที่งบประมาณ และเรียกฝายแห่งนี้ว่าฝายโป่งจี้) โดยที่ทางชุมชน จะมีประเพณีและกิจกรรมการละเล่นริมน้ำ บริเวณใต้ต้นมะเดื่อป่องยักษ์ เป็นต้นมะเดื่อขนาดใหญ่มาก มีร่มเงาบังแดดได้เป็นอย่างดี ก็จะมีรำวงมาตรฐานมาแสดงให้ได้รับชม และร่วมสนุกสนานร่วมร้องรำตามประเพณี มีร้านขายของเยอะแยะเต็มไปหมด ดูแล้วเป็นกิจกรรมที่สร้างความสมัครสมานสามัคคีเป็นอย่างดี ส่วนบริเวณด้านบนฝาย อันเป็นที่กักเก็บน้ำ น้ำจะลึกมาก หลายท่วมเลยก็ว่าได้ ก็จะมีผู้คนได้มาเที่ยวเล่นน้ำกัน ทั้งได้นำห่วงยางและอุปกรณ์เล่นน้ำต่างๆ มาเล่นกันอย่างสนุกสนาน เป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่เป็นที่รู้จักของคนทั้งอำเภอเลยก็ว่าได้ในสมัยนั้น และในช่วงที่ไม่มีกิจกรรมหรือยังไม่มีงาน แถวบริเวณหน้าฝายโป่งจี้ ก็จะมีน้ำตกหรือล้นลงมา ทำให้ชาวบ้านได้ทำการประมง การทำสะล่อดักปลา การทำซุ้มจับปลา เป็นต้น และแล้วเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด ก็มาถึง เมื่อปี พ.ศ. 2538 เกิดฝนตกหนักและน้ำไหลหลาก ได้พัดพาเอาซากหิน ดิน ทราย โคลน ซากต้นไม้ ลงมาทับถมบริเวณฝายโป่งจี้ และล้นลงมาถึงข้างล่างฝาย ทำให้เกิดเป็นดอนสูงขึ้น มีหญ้ามีหนาม และกิ่งไม้เป็นจำนวนมาก ลงมาทับถมกันอยู่เป็นเวลาหลายปีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน ทำให้น้ำตื้นเขิน สามารถเดินลุยน้ำได้เลย แม้แต่บริเวณฝายที่กักเก็บน้ำ ก็เต็มไปด้วยเศษดินโคลนที่ทับถมกัน จนไม่สามารถกักเก็บน้ำได้เหมือนเดิม หลายครั้งที่ทางชุมชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้นำรถแบ็คโฮ มาขุดลอกขี้โคลนออก แต่ก็ทำเหมือนแค่ให้ทำผ่านๆมือไปเท่านั้นเอง แม่น้ำก็ยังคงแห้งขอดเป็นสันเป็นดอนในทุกๆปี ซึ่งเป็นวิธีแก้ไขกันเพื่อให้พ้นไปเป็นปีๆ ด้วยเหตุนี้ ผู้นำชุมชนใน อ.เชียงคำ จึงร้องขอให้กรมชลประทาน ได้ทบทวนโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ ที่เคยได้ร้องขอและส่งเรื่องไปนานหลายปีแล้ว เพื่อที่จะได้ทำการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในทุกฤดู ไม่ให้ไหลผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ เมื่อฤดูแล้งมาถึง เรากลับไม่มีน้ำใช้ พื้นที่ส่วนใหญ่แห้งขอด ไร้น้ำทำการเกษตรกรรม เนื่องด้วย พื้นที่ในเขตอำเภอเชียงคำส่วนใหญ่ ชาวบ้านจำเป็นต้องทำการเกษตรบนผืนที่ดิน เช่น ท้องนา เป็นต้น คนแถวบ้านผมเขาเรียกทุ่งนาเหล่านี้ว่า “ทุ่งนาร้องไห้” เนื่องด้วย ผืนที่นาไม่เคยว่างเว้นจากการทำการเกษตรกรรมเลย ผมจะยกตัวอย่างให้เห็นชัดๆกันเลยดีกว่า เพื่อที่จะโยงเข้ากับข้อเรียกร้องว่า ทำไม ? ชาวบ้าน จึงเรียกร้องให้มีการสร้างอ่างเก็บน้ำ ในแต่ละปีนั้น ชาวบ้านจะเริ่มทำนาปีกันในเดือนกรกฎาคม รอจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิต ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน เมื่อน้ำข้าวออกจากทุ่งนาเสร็จแล้ว ไม่กี่วัน ชาวบ้านก็จะตัดตอฟาง ซึ่งในสมัยก่อนในแวกหรือพร้า แต่ปัจจุบันใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและรวดเร็ว ด้วยเครื่องตัดหญ้าแบบสะพายบ้าง เครื่องลากบ้าง ทำให้เสร็จไว จากนั้นก็จะใช้รถไถ ทำการไถพรวนดินพร้อมขึ้นแปลงปลูกกระเทียมและหอมแดงต่อไป จากนั้นก็ดูแล จนกระทั่งเก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนมีนาคมถึงต้นเดือนเมษายน เมื่อขายผลผลิตหรือนำผลผลิตออกจากท้องนาแล้ว ชาวบ้านก็จะปลูกข้าวโพด บ้างก็ปลูกถั่วลิสง มันเทศบ้าง พืชผักทางการเกษตร เช่น แตงกวา บวบ มะนอย พริกบ้าง ก็จะเวียนไปจบครบฤดูทำนาปีต่อไปพอดี ทำอย่างนี้ทุกปี จนพื้นที่ดินไม่เคยว่างเลย นี่แหล่ะ จึงเป็นเหตุผลและที่มีของชื่อทุ่งนาร้องไห้ เพราะไม่เคยได้พักเลย ดังนั้น ปัญหาที่ตามมาคือ แหล่งน้ำ ที่จะนำมาใส่หรือรดพืชผักอันเป็นผลิตทางการเกษตรนั้น ก็จำเป็นต้องมี ต่างคนต่างมีเหตุผล เนื่องด้วยพืชผลของตนเอง ถ้าไม่ได้น้ำ ก็ไม่มีทางเจริญเติบโต และทำให้ผลผลิตเสียหาย ขาดทุนไปเลยก็ได้ อนิจจา ! หลายครั้งหลายหน ที่ผู้เขียน ได้เห็นการทะเลาะวิวาท ทั้งด้วยวาจาที่ต่างฝ่ายต่างมีเหตุผล อาจจะว่าเป็นความเห็นแก่ตัว ก็อาจจะไม่ถูกต้องนัก เนื่องด้วยมันเป็นความจำเป็นจริงๆ ต่อพืชผลทางการเกษตรของพวกเขา ที่มีสาเหตุมาจาก การแย่งน้ำเข้าพื้นที่ทางการเกษตรของตนเอง เนื่องด้วยบ้านผู้เขียนเอง อาจจะถือว่าอาจจะได้เปรียบกว่าหมู่บ้านอื่นสักหน่อย เนื่องด้วยหมู่บ้านอยู่กับฝายโป่งจี้ เป็นหมู่บ้านแรก นั่นคือ บ้านเกษตรสมบูรณ์ ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ดังนั้น จึงไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องน้ำเท่าไหร่ แต่ปัญหาเหล่านี้ มักจะเกิดขึ้นกับหมู่บ้านและชุมชนถัดๆไป เช่น ชุมชนบ้านใหม่เจริญสุข ชุมชนบ้านร้อง ชุมชนบ้านโจ้โก้ ชุมชนบ้านสบสา ชุมชนบ้านหนอง ต.ร่มเย็น และในเขต ชุมชน บ้านร่องค้อม บ้านอัมพร บ้านปีน บ้านกว้าน บ้านบุญยืนบ้านกว๊าน บ้านปุ๊ ของ ต.เจดีย์คำ เป็นต้น ซึ่งชุมชนเหล่านี้นั้น ล้วนแล้วแต่อยู่ท้ายเขื่อนไปอีกหลายกิโลเมตร ทำให้มีน้ำส่งไปถึงไม่เพียงพอ ขอยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจนในเรื่องของการทะเลาะเบาะแว้งกันในเรื่องการแย่งน้ำดังกล่าว ขอยกเอาตัวอย่าง ในชุมชนละแวกใกล้เคียงหมู่บ้านของผู้เขียนแล้วกัน โดยปกติแล้ว ในช่วงฤดูร้อนหรือหน้าแล้ง จะแบ่งกันใช้น้ำ โดยให้ผู้ที่มีที่นาอยู่เหนือถนนดำ (ที่หมู่บ้านมีถนนทางหลวงหรือลาดยาง โดยที่ชาวบ้านเรียกว่าถนนดำ) ให้ใช้น้ำในเวลากลางวัน โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นที่นาของชาวบ้านเกษตรสมบูรณ์และบ้านโจ้โก้ แต่ในตอนกลางคืน ก็ให้ผู้ที่มีที่นาที่อยู่ด้านล่างถนนดำเป็นต้นไป ได้ใช้น้ำจากลำเหมืองที่เชื่อมมาจากฝายโป่งจี้ ส่วนใหญ่จะเป็นที่นาของชาวบ้านใหม่เจริญสุข บ้านโจ้โก้ บ้านร้อง และของบ้านร่องค้อม บ้านอัมพร ในเขตตำบลเจดีย์คำ ซึ่งเป็นพื้นที่เชื่อมต่อกัน แต่ด้วยลำเหมืองที่เล็กและน้ำไหลมาน้อย บางทีทั้งวัน ชาวบ้านที่อยู่ฝั่งด้านเหนือถนนดำ ก็นำน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรของตนเองไม่เพียงพอ บางทีก็ได้แค่พื้นที่นาของเจ้าของนาเพียงสองสามคนเท่านั้น ที่เหลือในวันนั้นก็แปลว่าอด ไม่มีน้ำเข้าที่นาของตน เป็นเหตุให้มีการขโมยหรือแอบกั้นน้ำในเวลากลางคืน พอตกกลางคืน น้ำไม่ไหลไปสู่ด้านล่างถนนดำ เจ้าของที่นาก็พากันรวมกัน นำจอบนำเสียม เพื่อไปไล่ทำลายที่กั้นน้ำของเจ้าของที่แอบกั้นน้ำไปในที่ของตนเองในเวลา กลางคืน บางครั้งไปเจอ ก็ถึงกับทะเลาะกันด้วยวาจา บางครั้งก็เกือบมีการลงไม้ลงมือกัน ซึ่งบางครั้งแม้แต่เป็นญาติๆกันก็ยังทะเลาะด้วยเรื่องการแย่งน้ำเข้านากันเลย มานึกถึงเรื่องราวในพระพุทธศาสนา ในตอนที่ว่าด้วย องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ยังเคยเสด็จไปห้ามทับฝ่ายบิดาและฝ่ายมารดา ที่ต่างก็แย่งน้ำเข้าที่นาของตนเอง ผู้เขียนไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์อย่างนั้นขึ้นมาอีกเลย ไม่อยากให้พี่น้องบ้านใกล้เรือนเคียง ต้องมาแย่งน้ำ ทะเลาะเบาะแว้ง ถึงขั้นลงไม้ลงมือ เป็นข่าวอึกทึกคึกโครม เพราะเข้าใจดีว่า ต่างคนก็ต่างมีเหตุผล ไม่อยากอดตาย ไม่อยากขาดทุน ไม่รู้ว่าเรื่องเหล่านี้ ผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน จะมองเห็นปัญหากันหรือไม่ หรือมองปัญหาออกแต่ไม่รู้ว่าจะแก้กันอย่างไร? จริงๆแล้ว สาเหตุหรือต้นเหตุมาจากเรื่องน้ำ หลายคนอาจจะพูดว่า แล้วทำไม? ไม่ลดเรื่องการทำการเกษตรลงบ้างหล่ะ ต้องถามกลับว่า แล้วจะให้ชาวบ้านทำอะไรกิน? ใครจะมาดูแล เมื่อเขามีพื้นที่ เขาเป็นคนขยัน ก็น่าจะให้การสนับสนุนเขา ถ้าไม่มีสายน้ำเลยก็ว่าไปอย่าง แต่นี่เรามีทรัพยากรน้ำ คิดว่า เพียงพอ แต่เราไม่มีที่จัดเก็บ พอถึงหน้าแล้งน้ำก็น้อยเป็นธรรมดา แต่เราไม่สามารถแบ่งให้ทุกคนได้อย่างทั่วถึง มันจึงเกิดเป็นปัญหาบานปลาย เมื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง ผู้นำชุมชน ทราบถึงสาเหตุแล้ว ก็ควรจะมานั่งปรึกษาหารือ หาแนวทาง หาทางบริหารจัดการน้ำ ให้เกิดเป็นสัดเป็นส่วนมากที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาภายหลังได้ คราวนี้มาย้อนดูว่า หากโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำยวนเกิดขึ้นจริงๆหล่ะ จะเกิดผลกระทบต่อส่วนไหนบ้าง? แน่นอนหล่ะ ประการแรกคือ เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ คือป่าไม้ที่จะต้องถูกน้ำท่วม ว่ากันว่า น้ำจะท่วมไปถึงชุมชนบ้างน้ำยวนพัฒนา (บ้านปางปอบ) หมู่บ้านพี่น้องชาวเขาเผ่าเมี่ยนหรือเย้า จากการศึกษาข้อมูลมาพอสมควร ก็ทราบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ทับซ้อน มีขนาดพื้นที่ 1,685 ไร่ เป็นป่าอนุรักษ์ 1,358 ไร่ ป่าทับซ้อนเขตอุทยานแห่งชาติภูซาง 342 ไร่ และอยู่ในลุ่มน้ำชั้น 1 เอ ประมาณ 22 ไร่ ซึ่งทั้งหมดมีสภาพป่าที่สมบูรณ์ประมาณ 442 ไร่ แต่จะมีใครรู้เรื่องนี้หรือเปล่า หรือ อาจจะเป็นเรื่องที่ถูกปกปิดกันก็ได้ เนื่องด้วยผู้เขียนอยู่ในพื้นที่ และเคยอาศัยแหล่งน้ำยวนในการทำมาหากินเลี้ยงชีพมาตั้งแต่เป็นเด็กเล็ก ทั้งหากุ้งหอยปูปลา เก็บผักกูด เพื่อนำไปขายยังตลาดบ้านโต้ง หรือ บ้านสบสา ดังนั้น พอที่จะมองออกว่า พื้นที่ดังกล่าว ก็ไม่ได้มีป่าไม้ที่เป็นป่าไม้ใหญ่เท่าไหร่ จริงอยู่ ป่าไม้และต้นไม้ จะเป็นป่ากว่าจะเจริญเติบโตเป็นต้นไม้ได้แต่ละต้นนั้น ต้องใช้เวลาหลายปี อันนี้ผู้เขียนไม่ได้ว่าอะไร เนื่องด้วย มีความรักและหวงแหนธรรมชาติไม่น้อยไปกว่านักอนุรักษ์ทั้งหลาย แต่ด้วยเหตุผล ที่มนุษย์ต้องกินต้องอยู่และดำรงชีวิตอยู่ต่อไปแล้ว สิ่งใดที่ให้ประโยชน์มากกว่าผลกระทบหรือผลเสีย ก็ควรที่จะหาทางศึกษาให้สมเหตุสมผลกัน ผู้เขียนขอออกนอกเรื่องสักเล็กน้อย อาจจะไม่เกี่ยวข้องแต่ว่า เรื่องนี้มันเกี่ยวเนื่องด้วยโครงการดังกล่าว การที่ผู้เขียน ได้เขียนบทความนี้ อาจจะเกิดอันตรายก็ได้ แต่เพื่อประโยชน์ของพี่น้องชาวบ้านที่รอคอยความหวัง ผู้เขียนก็ภูมิใจ ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งการการเรียกร้อง ได้ร่วมผลักดันทางความคิดสักนิดหนึ่งก็ยังดี แม้ไม่มีส่วนในการตัดสินใจ แต่ก็พยายามจะให้ข้อคิดให้หลายๆมุมมอง เท่าที่รู้และปัญญาอันน้อยนิด เรื่องมีอยู่ว่า ตลอดเส้นทางสายน้ำยวนที่ไหลจากขุนน้ำยวนลงมาสู่ที่กั้นน้ำฝายโป่งจี้นั้น เดิมที่ตามสองข้างทางน้ำไหล ก็จะเกิดเป็นสันเป็นดอน ทำให้ชาวบ้านได้พากันลงทุนลงแรง ไปขุดที่ดิน โดยใช้แรงงานตนเอง ทั้งใช้จอบใช้เสียม ใช้สัตว์เลี้ยง เช่น วัว ควาย ในการไถนาเพื่อทำนากัน เพราะในสมัยก่อน การที่จะมีที่นา คนๆนั้นจะต้องมีความขยัน ยิ่งขยันเท่าไหร่ ก็จะมีพื้นที่ทำกินมากเท่านั้น ซึ่งพื้นที่ดินดังกล่าว ถ้าให้ไล่กันลงมา ก็ตั้งแต่พื้นที่นาแถวบ้านปางถ้ำ ส่วนใหญ่ก็เป็นของพี่น้องชาวบ้านปางถ้ำ ถัดมาก็ที่ปางปอบ พื้นที่นาของ พ่ออินทร์ ฉลาดแหลม ที่นาของพ่ออุ้ยปั๋น มะโนศรี และของพ่อต๊ะ (คนบ้านเกษตรสมบูรณ์ ที่ไปบุกเบิกขุดที่นาบริเวณแถวนี้ (เพราะบ้านเกิดของท่านอยู่ที่บ้านปางถ้ำ) เท่าที่ผมรู้จักแล้วกันนะครับ จากนั้น ก็ไล่ลงมาถึงบ้านน้ำยวนพัฒนา (ปางปอบ) ส่วนใหญ่ก็จะเป็นของพี่น้องชาวเขาเผ่าเมี่ยนหรือเย้า ก็มีของชาวบ้านหนองร่มเย็นบ้าง ถัดนั้นมาก็บริเวณ บ้านห้วยปุ้ม ก็เป็นของบ้านสบสาและบ้านหนองร่มเย็น ถัดลงมาก็บริเวณปางสัก ซึ่งถือได้ว่า เป็นบริเวณที่นาที่กว้างใหญ่มาก มีเจ้าของที่นาหลายเจ้า ตั้งแต่เชิงดอยกิ่วนาค ไปจรดถึงวังซาง ก็มีของคนบ้านเกษตรอยู่สองสามเจ้า คือ ของพ่อหนานจู สมประเสริฐ พ่อเสริฐ แจ้งสว่าง เป็นต้น ถัดลงมาก็เป็นบริเวณห้วยเฮีย ลงมาหน่อยก็เป็นตื๊ด หรือพื้นที่ลุ่มน้ำของพ่ออุ้ยหลง ชิดสนิท ที่พ่ออุ้ยเป็นคนบ้านร่องค้อม ต.เจดีย์คำ แต่ได้มาเป็นเขยของบ้านเกษตรสมบูรณ์ พ่ออุ้ยเป็นคนขยันมาก ขุดที่นาได้เป็นจำนวนมาก ถัดมาก็ถึงบริเวณที่ลุ่มน้ำของพ่ออุ้ยมูล ชาวบ้านโจ้โก้ ก็มีพื้นที่บริเวณนี้ ที่เล่าให้ฟัง ก็เนื่องด้วยเกี่ยวกับเรื่องพวกนี้
แต่อนิจจา ! เมื่อปี พ.ศ. 2538 เกิดฝนตกหนักและน้ำไหลหลาก ได้พัดพาเอาซากหิน ดิน ทราย โคลน ซากต้นไม้ ลงมาทับถมบริเวณที่นาของชาวบ้าน จนมองไม่เห็นแนวทางร่องน้ำหลายสายได้อีกเลย ประกอบกับท้องนาเหล่านั้น ทุกวันนี้ ก็ได้เลือนหายไปจากความทรงจำไปหมดแล้ว เนื่องด้วย ที่ดินที่นาเหล่านั้น ได้ตกไปเป็นของนายทุนเสียจนหมดสิ้น จะด้วยสาเหตุใด ผู้เขียนไม่สามารถหยั่งรู้ถึง แต่ที่แน่ๆ น่าจะมาจะมีสาเหตุมาจาก หลังจากที่มีข้อเรียกร้อง และนำเสนอโครงการผ่านไปยังกรมชลประทานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และเรื่องก็ไปอยู่ยังรัฐสภาหลายยุคหลายสมัย จนเกิดมีวันหนึ่ง มีรัฐมนตรีหัวใสท่านหนึ่ง ที่ผมเรียกว่าว่า นายทุน นี่แหล่ะ ที่จริงชาวบ้านเขาก็เรียกว่านายทุนนั่นแหล่ะครับ เพราะน่าจะหมายถึงผู้มีอำนาจ มีบารมีเงิน ที่สามารถซื้อได้ทุกอย่าง นายทุนท่านนี้ เคยเป็นถึงอดีตรัฐมนตรี ผู้เขียนจะไม่กล่าวถึง เพราะไม่เกี่ยวกับผู้เขียน ถามชาวบ้านแถวตำบลร่มเย็นเองแล้วกันว่า เขาคงรู้ว่าหมายถึงใคร อดีตรัฐมนตรีท่านนี้ ท่านคงรู้เรื่องราวถึงความคืบหน้าของโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำยวนทุกอย่าง ก็เลยได้ติดต่อมายังชาวบ้านเหล่านั้น ให้ไล่กว้านซื้อที่ดิน และทำการปลูกต้นยูคาลิปตัสไว้ ปัจจุบันต้นใหญ่เท่าคนโอบก็ยังมี โดยใช้ชื่อเป็นของชาวบ้านทั้งหมด เพื่อหลีกเลี่ยงการตรวจสอบ ผมอยากจะบอกนักสำรวจและนักอนุรักษ์ว่า ป่าไม้ที่คุณว่าจะต้องสูญเสียนั่นนะ ตั้งแต่ด้านหน้าฝายโป่งจี้ ไปจนกระทั่งถึงบ้านปางถ้ำ เป็นของนายทุนทั้งหมดเกือบทั้งหมด เพราะเขาได้กว้านซื้อไปหมดแล้ว เพราะฉะนั้น เมื่อมีการเวนคืนที่ดิน เงินโครงการก็คงไปตกอยู่ที่นายทุนเกือบครึ่งหนึ่งแล้ว จริงอยู่มันเป็นสิทธิ์ตามกฎหมายที่ถูกต้องทุกอย่าง แต่เพราะโครงการนี้ จะสร้างก็ไม่สร้างสักที มีแต่การพูดเกริ่น จนชาวบ้านไม่เป็นอันทำมาหากิน อย่างที่บอกในตอนต้นของบทความ ชาวบ้านจะปลูกพืชยืนต้น เช่น ลำไย ลิ้นจี่ มะม่วง ยางพารา ก็ไม่กล้าปลูก เพราะกลัวน้ำท่วม ยิ่งมีคนปล่อยข่าวว่า ถ้าสร้างเขื่อนแล้ว พื้นที่เหล่านี้อยู่ในป่าสงวน อยู่ในป่าอนุรักษ์ ไม่สามารถเวนคืนและขายได้ ทำให้ชาวบ้านได้ทะยอยขายที่ดินของตนเองไปเรื่อยๆ โดยมีการถูกทาบทามติดต่อซื้อขายจากชาวบ้าน ที่เป็นนายหน้าให้นายทุนอีกต่อหนึ่ง เมื่อมีคนหนึ่งขายไปแล้ว อีกคนจะไม่ขายก็ดูกระไรอยู่ ไม่มีเพื่อนร่วมชะตากรรม ก็เลยต้องจำใจขายไปด้วย
หมู่บ้านแรก ที่นำเสนอให้ย้ายไปอยู่ร่วมคือ บริเวณหมู่บ้านห้วยหอย ซึ่ง เดิมทีก็เป็นพื้นที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำกินของพี่น้องชาวเขา บ้านน้ำยวนพัฒนาอยู่แล้ว และก็ได้ย้ายลงมาอยู่ข้างล่าง เนื่องด้วยการคมนาคมที่สะดวกสบายขึ้น อีกทั้งผู้เขียนยังคิดว่า ชาวบ้านจะได้รับประโยชน์จากเขื่อน โดยอาจทำเป็นรีสอร์ท เป็นโฮมสเตร์ เพื่อต้อนรับนักท่องเที่ยวที่จะหลั่งไหลมาเที่ยวยังสถานที่ท่องเที่ยวแห่ง ใหม่ อันได้แก่ ถ้าผาแดง ถ้ำน้ำลอด ดอยผาขาม เป็นต้น หรือ อาจจะทำอาชีพบริการทำแพ ให้นักท่องเที่ยว หากเกิดมีอ่างเก็บน้ำจริงๆ และเหตุผลสุดท้าย คือ ไม่ต้องอพยพ ไปไกลเกินไป หมู่บ้านที่สองที่นำเสนอ คือ บริเวณบ้านผาแดงล่าง ซึ่ง อยู่เลยบ้านปางถ้ำไปเล็กน้อย โดยสภาพหมู่บ้านแล้ว เป็นหมู่บ้านที่มีความสงบร่มรื่น มีแม่น้ำลำธารไหลผ่าน มีสถานที่ทำกิน ที่ยังพอมีเลือกทำได้ แต่ข้อเสียคือ อยู่ไกลเมืองไปหน่อย ประมาณเกือบ 20 กิโลเมตร แต่ก็ไม่น่าจะใช่ปัญหาเนื่องด้วยปัจจุบันมีทางลาดยางตลอดสายอยู่แล้ว
หมู่บ้านที่สามที่นำเสนอ คือ ย้ายไปรวมกับหมู่บ้านพี่น้องชาวเขา บ้านห้วยปุ้ม ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ลงมาทางด้านหน้าเขื่อน เป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ อีกทั้งยังเป็นที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ รอการไปเยือน ที่มีถ้ำน้ำดั้น ถ้ำพ่อ ถ้ำแม่ อีกทั้ง ยังเป็นสถานที่ประวัติศาสตร์ของการต่อสู้อันยิ่งใหญ่ของนักรบชาวเขาในสมัยอดีต ประกอบกับในอนาคต อาจมีการเชื่อมต่อเส้นทางไปยังบ้านน้ำโต้ม ในเขตของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวด้วย หรือทางเลือกสุด ท้ายที่อยากนำเสนอ คือ ย้ายลงมาอยู่ทางด้านหน้าอ่างเก็บน้ำ ซึ่งมีหลายที่หลายแห่ง ที่พอจะมองเห็น ก็น่าจะแถวบริเวณบ้านปางวัว และ หรือ บริเวณดอยม่อนหินขาว ซึ่งยังพอมีพื้นที่ว่าง ที่พอจะติดต่อซื้อขาย เอาเป็นสถานที่อยู่อาศัยและสถานที่ทำกินแห่งใหม่ได้ อีกทั้งยังจะได้รับประโยชน์จากการได้ใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำได้ด้วย เมื่อเรารู้ปัญหาแล้ว ผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องเร่งแก้ปัญหา และหาแนวทางผลักดันโครงการให้ได้ ปัญหาแรกกับปัญหาที่สอง ส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับที่ดิน และอุทยาน พวกเราอย่าลืมว่า อุทยาน ก็ได้รับการยอมรับและแต่งตั้งโดยมนุษย์ เพราะฉะนั้น มนุษย์ ก็มีสิทธิ์ที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพื่อประโยชน์แก่ผู้คนหมู่มาก แต่ปัญหาที่ยังไม่เกิดนั่นแหล่ะสำคัญ เช่น เรื่องสร้างความมั่นใจ ให้กับชาวบ้านพื้นที่ด้านล่างของอ่างเก็บน้ำ ซึ่งก็คงมีหลายคนเกิดความหวาดระแวง และ เกิดความกลัว จนเกิดการสร้างกระแสต่อต้าน แต่งปั้น เรื่อง เช่น เรื่องเขื่อนแตก เขื่อนพังบ้าง ทำให้คนทำงานเกิดอาการท้อได้เช่นกัน ตามหลักวิทยาศาสตร์และ ด้วยหลักปฏิบัติปฏิบัติของนักวิศวกรผู้ออกแบบย่อมศึกษาหลายอย่างประกอบกัน ทั้งเรื่องผิวดิน น้ำหนัก เหล็ก โครงสร้าง อายุการใช้งาน และการวางระบบ เขาได้ศึกษามาพอสมควรแล้ว คราวนี้ปัญหาไม่ได้ตกอยู่ที่นักวิศวกรแล้ว ปัญหาอยู่ที่ผู้รับผิดชอบโครงการผู้รับเหมา หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่าจะผ่านกี่ด่าน แต่ละด่านต้องเสียค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ก็หวังไว้ว่า คงไม่กินหินกินทราย เสียจนงานไม่เดิน ไม่เสร็จตามกำหนด แค่นี้ก็น่าจะสร้างความมั่นใจให้กับชาวบ้านได้ไม่น้อย และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง เรื่องการประชาสัมพันธ์ข่าวสาส์น ก็น่าจะมีอยู่เป็นนิจ ไม่ควรเงียบหายและปิดเป็นความลับ สำหรับ ผู้เขียนเองนั้น โครงการอ่างเก็บน้ำยวน จะสำเร็จหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับผู้ที่เกี่ยวข้อง แต่อยากให้ตอนนี้ในระหว่างที่รอ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ช่วยดูแลทุกข์สุขของชาวบ้านในเรื่องน้ำก่อน เพราะดูเหมือนว่า โครงการคงอีกต้องรออีกหลายปี แต่ปัญหาของฝายโป่งจี้ตอนนี้คือ มีสภาพที่ตื้นเขิน ไม่สามารถกักเก็บน้ำได้ ดังที่พวกเราเห็นในภาพ จะดีบ้างก็ในช่วงฤดูร้อน ที่พอมีงบเจียดมาขุดลอกบ้าง แต่ก็เป็นงบที่น้อยเหลือเกิน กับความต้องการที่ใช้น้ำของชุมชน แบบว่ามันไม่พอ ผู้เขียนก็เลยมีความคิดเห็น ที่อยากให้ทบทวนการทำฝายให้สูงขึ้นอีกสัก 4-5 เมตร ไม่ต้องสูงถึงโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำยวนที่จะมีความสูงของอ่างประมาณ 49 เมตร ณ ปัจจุบันหากทำฝายให้สูงขึ้นอีกหน่อยอย่างที่ได้กล่าวว่า สูงกว่าฝายเดิมอีกสักหน่อย คาดว่าน้ำก็คงจะเพียงพอกับผู้คนทั้งตำบลร่มเย็น และตำบลเจดีย์คำ แต่จะให้ทั่วทั้งอำเภอคงทำไม่ได้ อันนั้นก็ต้องรอลุ้นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่แล้วกัน นี่คือการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า จะว่าไป ก็น่าเห็นใจผู้นำชุมชน และ องค์กรชุมชน ที่ไม่มีปากมีเสียงเรียกร้องได้เท่าที่ควร บางทีก็นึกอดสู นึกน้อยใจแทนคนชนบทไม่ได้ งบประมาณที่สร้างสรรแบบนี้ แทบจะไม่มีใครสนใจ แต่กลับงบในเมืองหลวง งบเกี่ยวกับการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ กลับมีให้เยอะหลายหมื่นล้าน แต่งบเพื่อช่วยเหลือชาวบ้าน ประมาณพันล้านกว่าบาท เมื่อเทียบกับแล้ว เหมือนกับการซื้อขนมให้เด็ก มันน้อยมาก แต่ทำไมรัฐบาลไม่ค่อยใส่ใจเห็นใจเลย เอาหล่ะไม่อยากเขียนมากไปกว่านี้ เดี๋ยวจะกระทบไปหลายฝ่าย ก็ขึ้นอยู่กับจิตสำนึกของแต่ละคนก็แล้วกันครับ |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |