|
||
![]() พระเจ้านั่งดิน วัดพระนั่งดิน ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา |
||
ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ พี่ชัยวัฒน์ จันทิมา ผู้สื่อข่าวพะเยารัฐ ที่ได้ส่งภาพประวัติดังกล่าว ที่ได้รับมาจากวัดพระนั่งดิน ที่เป็นต้นฉบับเดิมไม่มีการแก้ไข อันเป็นการเรียบเรียงโดยคณะกรรมการบูรณะและปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์คำและพระ เจ้านั่งดิน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ในครั้งอดีต มีท่านพระครูขันติวชิรธรรม รองเจ้าคณะอำเภอเชียงคำ อันเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า ได้ร่วมเรียบเรียงด้วยมาให้ข้าพเจ้าเป็นผู้พิมพ์ ข้าพเจ้าเลยถือโอกาสเผยแผ่ต่อ เพื่อเป็นวิทยาทานสืบต่อไป นมจตุ จุลศักราช 1213 ตัวปีลวงไก๊ เดือน โหรา แรม 3 ค่ำ วันจันทร์ ยังมีขุนพระองค์หนึ่งลุกเมืองมาแต่เมืองใต้ มาเมตตาในเมืองชราวพุทธรสะว่า ในเมืองชราวที่นี้ ในอดีตอันล่วงแล้วในกาละเมื่อก่อน ต้าวตนหนึ่งชื่อว่า พระยาสิงห์กุตระนคร อยู่ในเวียงนครชัยยศยิ่งธรณี เทพนครยศเขต มีพระยา 4 ตน ตนหนึ่งชื่อว่า พุทธสอนอยู่ทิศใต้ ตนหนึ่งชื่อว่า อนุโลก อยู่หนตะวันตก ตนหนึ่งชื่อว่า สุริยวงศ์ษา อยู่หนตะวันออกเฉียง (แจ่ง) ใต้ ตนหนึ่งชื่อว่า ดุริยะนนถี (ดนตรี) อยู่หนตะวันออกเหนือ แล้วยังมีเทวปุตร์ 4 ตน เจ้าฤษี 2 ตน พระยาอินทร์ตนหนึ่ง พระยาอีกตนหนึ่ง นางนาสสนมของพระยาตนนั้น มีหมื่นหนึ่งคิดราชการกับด้วยกัน ในเมืองมหาเทพมหานครชัย เสมียนชี้แจงออกภาษี ถึงขุนภักดีราชการเสมียน ชี้แจงออกถึง ขุนอนุโลกคิดราชการ จึงเอารี้พลแสนและหมื่น ถึงปีมะเส็ง เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จิ่งจัดแจงให้ทราบแจ้งด้วยกันสร้างกำแพงเวียงพุทธรสะแล้ว ปางเมื่อสัพพัญญูเจ้า เลียบโลกมาถึงเวียงพุทธรสะ มาสถิตอยู่ในดอยสิงกุตระ จิ่งมาเล็งหันยังชายทุกขตะผู้หนึ่งชื่อว่า คำแดง สัพพัญญูเจ้า มาเล็งหันยังบุญสมภารแห่งชายทุกขตะผู้นี้ จักได้ถึงฐานันตระภายหน้า สัพพัญญูเจ้าจิ่งเทศนาว่า หื้อได้สร้างรูปกูตถาคตไว้ ในเมืองสิงห์ธรณีมหาเทพนครชัย พระยาอินทร์ตนหนึ่ง พยานาคตนหนึ่ง พระฤษี 2 ตน อรหันต์ 4 ตน ไปเอาดินแต่เมืองลังกาทวีปมาสร้างรูปนานได้เดือนป๋าย 7 วันจึ่งแล้ว เมื่อนั้นสัพพัญญูเจ้าจิ่งเสด็จไปโปรดโลกอันไคว่แล้ว จึงเสด็จเข้ามาสู่เมืองสิงห์ธรเทพมหานครที่สร้างรูปเจ้านั้น ยามนั้นพระพุทธเจ้า จิ่งเล็งหันสารูปนั้นว่าน้อยกว่าองค์กูตถาคต จิ่งจักหื้อสร้างพอกแหมให้ใหญ่เท่าตนกูสัพพัญญูนี้เตอะ จักมีอิทธิ รัศมีรุ่งเรืองงามจะและ ยามนั้นสัพพัญญูเจ้าจิ่งเบ่งริทธีปาฏิหาริยะออกเผื่อขอบจักรวาฬยามนั้น สารูปเจ้าจิ่งค้ายลงมาจากแท่น ลงไหว้พระพุทธเจ้านั้นและ เมื่อนั้นสัพพัญญูเจ้าจิ่งจักเทศนา ซึ่งพุทธรูปเจ้าว่า ให้ท่านจิ่งรักษา ศาสนาตถาคตให้เสี้ยง 5,000 พระวรรษา เป็นของแห่งเราแล้ว จักเทศนาแก่ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายว่า ที่ใดจักสมควรรักษาศาสนาเป็นที่ชุมนุมต้าวพระยาทั้งหลาย เป็นที่แผ่นดินพระพุทธเจ้าจักรุ่งเรืองไปภายหน้านั้น จุ่งไปสร้างในที่นั้นเต๊อะ เมื่อนั้นสัพพัญญูเจ้าจิ่งเสด็จไปแล้ว ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย จิ่งพร้อมกันยกเอาพระพุทธรูปเจ้าไปไว้ในเวียงพุทธรสะนั้น ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย จิ่งยกเอาเวียงพุทธรสะที่นั้นเข้าประเคนพระพุทธเจ้าหั้นแล้ว ท้าวพระยาเสนาอำมาตย์ทั้ง จิ่งอุสาราชะภิเษกชายทุกขตะผู้นั้นเป็นพยาคำแดงหั้นแล้ว จิ่งยกออกเวียงพุทธรสะที่นั้น พระพุทธเจ้าว่า บ่อควรต้าวพระยาเสนาอำมาตย์ เจ้านายผู้หลักผู้ใหญ่จักอยู่จักร้อนไหม้บ่อวุฒิจำเริญแล แดนแต่นั้น ยังมีนางผู้หนึ่งชื่อว่า อินทตาสวรรค์ เป็นลูกสาวพระยาคำแดง มีรัศมีผิวพรรณวรรณอันงามเป็นดั่งแสงพระจันทร์วันเพ็ญอันรุ่งเรืองงาม ปรากฎไปถึงพระยาคนหนึ่ง ชื่อว่า พระยาริทธีอยู่ทิศหนเหนือ จิ่งมีบรรณาการของฝากเข้ามาขอเอานางอินทตาสววรค์ซึ่งพระยาคำแดง พระยาคำแดงก็บ่ออนุญาต ก็กลับขึ้นไปสู่เมืองตนนั้นและ ถัดนั้นมา ยังมีพระยาคนหนึ่งชื่อว่า พระยาเตชะนุภาพ อยู่ทิศหนใต้เข้ามาขอแถมเล่าพระยาคำแดงก็บ่ออนุญาต ก็กลับคืนสู่เมืองแห่งตนหั้นและ ลุนนั้นมายังมีพระยาคนหนึ่งชื่อว่า สุริยวงศษาอยู่ทิศหนตะวันตก ก็เข้ามาขอเอานางอินทตาสวรรค์แถมเล่า พระยาคำแดงก็บ่ออนุญาต ก็กลับคืนสู่เมืองแห่งตนหั้นและ ลุนนั้นมายังมีพระยาอีกตนหนึ่งชื่อว่ สุรยนนถีอยู่ทิศตะวันออก ก็เข้ามาขอเอานางอินทตาสวรรค์ ซึ่งพระยาคำแดงก็บ่ออนุญาต ก็กลับคืนเมือสู่เมืองตนหั้นและ เมื่อนั้นพระยาทั้ง 4 ตนนั้น ก็พร้อมกันยกทัพรี้พลเข้ามาตีเอาเมืองสิงห์ธรณีเทพมหานครนั้นและ ยามนั้นพระยาเตชานุภาพ ลูกชายพระยาคำแดง ก็ออกยุทธกรรมกับด้วยพระยา 4 ตนนั้น ด้วยหลาวเหล็ก ไม้รวก พระยาทั้ง 4 ตนนั้น ก็ทำกาลอันตรายไปเสี้ยงทั้ง 4 ตน นั้นหั้นและ พระยาคำแดงหันพระยาทั้ง 4 ตนนั้น กระทำอันตรายไปเสี้ยงแล้ว พระยาคำแดงก็สดุ้งตกใจกลัวอยู่ ก็หนีออกจากเวียงไปเฝ้าพระพุทธเจ้านั้นและ เมื่อนั้น พระยาคำแดง ก็ไหว้พระพุทธเจ้าว่า ภัณเต ภควา ข้าแด่สัพพัญญู พระพุทธเจ้า ยังมีพระยา 4 ตน 4 ทิศ มาขอเอาลูกสาวข้าพเจ้า ผู้ชื่อว่านางอินทตาสวรรค์ ข้าพเจ้าไม่อนุญาต ยามนั้น พระยาทั้ง 4 ตน ก็ยกเอารี้พลมาตีเอาเมืองข้าพเจ้า ลูกชายข้าพเจ้า ก็ฆ่าพระยาทั้ง 4 ตนนั้น ด้วยหลาวเหล็ก พระยาทั้ง 4 ก็กระทำกาลอันตรายไปเสี้ยงทั้ง 4 ตน นั้นหั้นและ เหตุนั้น ข้าพเจ้าจิ่งกึ๊ดอยู่บ่อได้ ตึงหนีออกจากเวียงมาไหว้สัพพัญญูเจ้านั้นและ เมื่อนั้น สัพพัญญูเจ้าจิ่งเทศนาว่า มหาราชา จุ่งคืนเมือสู่เมืองแห่งมหาราชดังเก่าเต๊อะ สรีระพระยาทั้ง 4 ตนนั้น มหาราชาจั่งเอากระทำหื้อเป็นขะโจ๋มแล้ว มาก่อหื้อเป็นรูปสิงห์ 4 ตัว เอาไว้ในอุโมงคำ ในดอยสิงห์กุตระหั้นเต๊อะ สัพพัญญูเจ้าจึงลูบเอาเกษาหื้อเส้นหนึ่ง ไปบรรจุไว้หั้นแล้ว ปายลุนพระตถาคนปรินิพพานไปแล้ว จุ่งหื้อพระอรหันต์เอาธาตุนิ้วมือขวา พระตถาคตมาบรรจุไว้ภายในดอยนั้นเตอะ ภายหน้าเมืองอันนี้จักเปล่าว่างขาดห่างไปน้อยหนึ่ง จักคืนมาเป็นเมืองแถม ยามนั้นบ้านเมืองก็บ่อวุฒิเหตุว่า ท้าวพระยาตนเชฏฐาระถะบ่อจับตามจารีตประเพณี จำเริญตามพระพุทธวจนะนั้นและ พระพุทธเจ้ากล่าวเท่านั้นแล้ว พระยาคำแดง ปิ๊กปอกคืนสู่เมืองตนดังกล่าวแล้ว พระยาคำแดงก็ชุมนุมมายัง ท้าวพระยาและเสนาอำมาตย์ทั้งหลาย มาพร้อมกันไปเอาซากพระยา 4 ตนนั้น มากระทำหื้อเป็น คะจวร (กระโจม) แล้วมากระทำหื้อเป็นชะตายสมกับสรีระซากพระยาทั้ง 4 ตนนั้น แล้วมากระทำหื้อเป็นรูปสิงห์ 4 ตัว ลงไว้ในพื้นดินอุโมงคำในดอยสิงห์กุตระหั้นก่อนแล้ว เมื่อปายลุน พระพุทธเจ้านิพพานแล้ว อรหันต์เจ้าทั้งหลายจักไปเอาธาตุนิ้วก้อยมือขวา แห่งพระพุทธเจ้ามาใส่ไว้ในสำเภาคำ เอาลงตั้งไว้ในหลังสิงห์ 4 ตัวนั้นแล้ว ก่อเป็นเจดีย์ ไว้เหนือหลังสิงห์กุตระมาตราบบัดนี้และ กล้าวห้องพระพุทธเจ้าและมหาเจติยะ สิงห์กุตระธาตุเจ้าดอยก็คำก็แล้วเต่านี้ก่อนและ ที่นี่จักจ๋าด้วย พระยา 4 ตน เข้ามายุทธกรรมในเมืองสิงห์ธรณีนั้น ดั่งอั้น พระยาสุริยะวงศา อันหนีออกจากเวียงไป อยู่เมืองแก้วนั้น ก็รู้ประวัติ ข่าวสารว่า บ้านเมืองตนสุขแล้ว ก็กลับคืนเข้าสู่เมืองตนดังเก่าแล้ว ดั่งอั้น พระยาคำแดง ก็น้อมเมืองหื้อพระยาสุริยะวงศา ดังเก่าแล้ว พระยาคำแดง ก็หนีออกเมืองเทพสิงหชัยอันเป็นที่อยู่แห่งตนดังเก่าแล้ว ก็กลับคืนมาสู่เมืองสิงห์ธรณีแล้ว พระยาคำแดง ก็หนีออกไปบวชเป็นฤษี ก็กระทำพรหมวิหาร 4 ไปไจ้ๆ ตราบเสี้ยงอายุ ก็จุติไปเกิดในสวรรค์เทวโลก ก็มีวันนั้นและ เมื่อพระยาสุริยวงศา ได้คืนมาอยู่เสวยเมืองสิงห์ธรณีนั่นแล้ว ก็สั่งสอนบริษัททั้งหลาย ได้กระทำบุญกินทานไปไจ้ๆ ตามเขตอายุแห่งตนจู่คนหั้นและ ตนท่านเป็นประธานก็พากัน จำศีล ภาวนา สังวาส สาทธิยาย ยังทิพมนติ ว่าดังนี้ พุทฺธํ ธมฺมํ สงฺฆํ นิพพานปัจจโย โหนฺตุ เม สัมมา สัมพุทโธ โลกนาโถ อนาคโต นิพพานปัจจโย โหนฺตุ ปรมํ สุขังโหนตุโน พระยาตนนั้น ก็จำเริญ กถาอันนี้ไปไจ้ๆ บ้านเมืองก็วุฒิไปด้วยโลกุตรธรรมและโลกิยสมบัติ มีในตนและ อายุ วรรณ สุขะ พละ อธิปไตยไปไจ้ๆ ตราบเมี้ยน อายุ จุติ ก็ได้เอาจนเมือเกิดในสวรรค์ เทวโลกตามปุญสมภารแห่งตน ก็มีวันนั้นและ ตั้งแรกแต่นี้ไปปายหน้า ท้าวพระยาตนใด ได้มาเสวยเมืองสิงห์ธรณีที่นี้ ถึงวันวิสาขะ เดือน 8 เป็ง หื้อได้ขึ้นสละสรงมหาเจดีย์เจ้าสิงห์กุตระแล้วหื้อสระสรงพระพุทธรูปเจ้านั่ง ดินแล้ว หื้อขออนุญาต รสโอชารส พิชชะ (พืช) ข้าวกล้า สัพพะสิ่งของอัญญะมุณี อันมีในแผ่นดินตังมวล จึงจักอุดมสมวุฒิ จู่อันจู่ประการจะและ หื้อท้าวตนเสวยเมืองนี้นั้น หื้อได้ภาวนาจำเริญกถาอันนี้ไปจู่วัน ก็จึงจักอุดมสมสละวุฒิจู่เยื่องจู่ประการ อันหนึ่ง ก็จักประกอบไปด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ สวัสดีไปภายหน้าแต่บ่อสงสัยจะและ กล่าวห้อง พุทธบัญญัติเจติยะพุทธปะปะตะ (บรรพรต) สิงห์กุตระและพุทธบัญญัติปากฐาอิติวุตะปกาเรนะ ด้วยประการดังกล่าวมานี้และ กล่าวยังพุทธบัญญัติ ธาตุเจ้าดอยคำ เต่านี้ก่อนและ ตามที่เขียนมานี้ อาศัยต้นฉบับเดิม ซึ่งแปลมาจากตำนานอักษรพื้นเมือง มิได้เปลี่ยนแปลงและแก้ไขเนื้อเรื่องแต่ประการใด เพื่อรักษาประวัติพระธาตุดอยคำและพระเจ้านั่งดินนี้ ให้คงรูปเดิมไว้ ถึงจะมีก็เพียงแต่แก้ไขคำพูดบ้างเล็กน้อย เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจชัดเจนยิ่งขึ้น หากข้อความตอนใดผิดพลาด ขอได้รับอภัยจากผู้มีจิตศรัทธาทั่วทุกท่านด้วย แปลโดยใจความจากต้นฉบับเดิม ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ พี่ชัยวัฒน์ จันทิมา ผู้สื่อข่าวพะเยารัฐ ที่ได้ส่งภาพประวัติดังกล่าว ที่ได้รับมาจากวัดพระนั่งดิน ที่เป็นต้นฉบับเดิมไม่มีการแก้ไข อันเป็นการเรียบเรียงโดยคณะกรรมการบูรณะและปฏิสังขรณ์พระธาตุเจดีย์คำและพระ เจ้านั่งดิน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ในครั้งอดีต มีท่านพระครูขันติวชิรธรรม รองเจ้าคณะอำเภอเชียงคำ อันเป็นอาจารย์ของข้าพเจ้าได้ร่วมเรียบเรียงด้วยมาให้ข้าพเจ้าเป็นผู้พิมพ์ ข้าพเจ้าเลยถือโอกาสเผยแผ่ต่อเพื่อเป็นวิทยาทานสืบต่อไป การแปลโดย เอาใจความจากต้นฉบับนี้ ก็เพื่อความเข้าใจได้ดียิ่งขึ้น หากข้อความส่วนใดที่เกิดจากการเรียบเรียงของข้าพเจ้า เกิดความขาดตกบกพร่อง มีข้อผิดพลาด เนื้อหาคลาดเคลื่อนไป ขอได้โปรดยกโทษให้อภัยแก่ข้าพเจ้าด้วย ท่านสามารถส่งข้อมูลเหล่านั้นให้ข้าพเจ้าได้เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้องสืบ ต่อไป เนื่องด้วยสติปัญญาที่มีอยู่เพียงน้อยนิด แต่ด้วยความคิด สำนึกรักในบ้านเกิดเมืองนอน หวงแหนในทุกสิ่งที่ควรคุณค่าแก่การศึกษาและช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานของ เราสืบต่อไปเบื้องหน้า ให้ได้เรียนรู้วิถีความเป็นมาของสังคมในแต่ละยุคสมัย เพราะคุณค่าเหล่านี้ประมาณค่ามิได้เลย หากข้อความเนื้อหาตอนใดมีประโยชน์แล้วไซร้ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญ ขอบุญกุศลจงบังเกิดแก่ ผู้มีพระคุณของข้าพเจ้า ขอให้ท่านจงมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ข้าพจ้าตราบนานเท่านานด้วยเทอญ. นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา ตำนานดอยคำและพระเจ้านั่งดิน ตามตำนานกล่าวว่า พระยาผู้ครองเมืองพุทธรส ได้ค้นพบประวัติ (ตำนาน) เมื่อ นมจตุ จุลศักราช 1213 ปีระกา เดือน 6 แรม 3 ค่ำ วันจันทร์ ในตำนานได้กล่าวไว้ว่า ” ณ บริเวณแห่งนี้ มีมหานครที่ยิ่งใหญ่อยู่ที่เมืองหนึ่ง โดยมีชื่อว่า สิงห์กุตระนคร เมืองแห่งนี้ มีท้าวพระยาสิงห์กุตระ เป็นเจ้าเมือง โดยมีเมืองขึ้นหรือ เมืองบริวารอยู่โดยรอบทั้ง 4 ทิศ ดังนี้ ทิศใต้ มีพระยา อนุสอน เป็นเจ้าเมืองผู้ปกครอง นอกจากนั้นแล้วยังมีเทวรูป 4 ตน มีฤาษี 2 ตน มีพระยาอินทร์ตนหนึ่ง “นางนาสสนมของพระยาตนนั้น มีหมื่นหนึ่งคิดราชการกับด้วยกัน ในเมืองมหาเทพมหานครชัย เสมียนชี้แจงออกภาษี ถึงขุนภักดีราชการเสมียน ชี้แจงออกถึง ขุนอนุโลกคิดราชการ จึงเอารี้พลแสนและหมื่น” (ตรงนี้ยังแปลเอาใจความยังไม่ได้ครับ วานปราชญ์ผู้รู้ช่วยกันนะครับ) เมื่อ ถึงปีมะเส็ง เดือน 8 แรม 11 ค่ำ จึงได้มีการร่วมมือกันจัดกำแพงเมืองพุทธรส ต่อมาเมื่อ องค์สมเด็จพระสัมมาพระพุทธเจ้า องค์ศาสดาของพระพุทธศาสนาของเรา ได้เสด็จออกเมตตาสรรพสัตว์น้อยใหญ่รอบโลกโดยทางอภินิหาร พอพระองค์ได้เสด็จมาถึงเมืองพุทธรส (อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน) พระองค์ได้เสด็จประทับอยู่บนดอยสิงหกุตตระ หรือที่ พระธาตุดอยคำในปัจจุบันนั้น พระองค์ทรงเล็งเห็นด้วยข่ายพระญาณ เห็นชายยากจนคนหนึ่ง ชื่อว่า คำแดง ทรงเล็งเห็นถึงบุญญาวาสนาและบารมีของชายผู้นี้ว่า ในอนาคตกาล ชายผู้นี้จะได้เป็นใหญ่ถึงฐานันดรศักดิ์เป็นถึงเจ้าผู้ครองนคร พระพุทธองค์ ได้เสด็จไปโปรดและทรงเทศนาว่า “ให้พวกท่าน ปั้นรูปพระตถาคตไว้ในเมืองสิงห์กุตระนครนี้ โดยให้พระยาอินทร์ตนหนึ่ง พญานาคตนหนึ่ง พระฤาษี 2 ตน พระอรหันต์ 4 รูป ไปนำเอาดินจากเมืองลังกาทวีป เพื่อนำมาป็นเป็นพระพุทธรูปของพระตถาคต” เหล่าพระยาอินทร์ พญานาค พระฤาษี และ พระอรหันต์สาวก ได้ทำการปั้นรูปของพระถาคตขึ้น โดยใช้เวลาใช้เวลาในการปั้นเป็นเวลาถึง 1 เดือนกับอีก 7 วัน จึงแล้วสำเร็จเสร็จสิ้น เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จโปรดเวไนยสัตว์จนทั่วทุกสารทิศแล้ว ได้เสด็จกลับมายังเมืองสิงห์กุตระนครอีกครั้งหนึ่ง พระองค์ทรงทอดพระเนตรเห็นรูปปั้นของพระองค์ว่ามีขนาดเล็กกว่ามาก จึงได้ตรัสสั่งให้เอาดินมาพอกเพิ่มเติม เพื่อให้มีขนาดเท่ากับพระองค์จริง ด้วยจะทำมีอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ มีรัศมีรุ่งเรืองงดงามยิ่ง จากนั้น พระพุทธองค์ทรงปล่งฉัพพรรณรังสีและแสดงปาฏิหาริ์ยออกไปครอบจักรวาล รูปปั้นที่เหมือนกับองค์ตถาคตก็ได้เกิดสิ่งน่าอัศจรรย์ขึ้น โดยที่รูปปั้นดังกล่าว ได้เสด็จลงมาจากฐานชุกชี (แท่นวางพระพุทธรูป) และลงมาทำการอัญชลีกราบไว้พระพุทธเจ้าของเรา เมื่อนั้น พระพุทธองค์ได้ตรัสกับพระพุทธรูปที่เป็นรูปปั้นว่า “ขอท่านจงรักษาศาสนาของเราให้อยู่เจริญรุ่งเรืองจนครบ 5,000 ปี เถิด เมื่อเทศนาจบลง พระพุทธรูปนั้น ก็ได้กลายเป็นพระพุทธรูปปั้นตามเดิม จากนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา ก็ได้ตรัสเทศนาแก่บรรดาเสนาอำมาตย์ทั้งหลายว่า ที่ใดสมควรจักรักษาพระพุทธรูปอันเป็นตัวแทนของเรา ก็ขอให้พวกท่านจงสร้างที่เก็บรักษาไว้ที่นั้นเถิด หลังจากนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงเสด็จพระราชดำเนินกลับชมพูทวีปโดยทางอภินิหาร ตามตำนานเล่าว่า พระพุทธองค์ ทรงได้ตรัสอภิวาจา เหมือนกับตรัสปริศนาธรรมไว้ว่า “หากในอนคต เจ้าเมืองหรือผู้ปกครองท่านใด ไม่มีความซื่อสัตย์ คดโกง ประพฤติผิดศีล ผิดจารีตประเพณี ทำการไม่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรม ท่านผู้ปกครองเมืองพุทธรสหรือ เมืองชราว ก็จะอยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน ก็จะมีอันเป็นไปทุกคน” จากปริศนาธรรมนี้ ได้ปรากฎในเวลาต่อมาอยู่เนืองๆ ที่อยู่คู่กับอำเภอเชียงคำของเรามาจวบจนกระทั่งทุกวันนี้ หากเจ้าหน้าที่บ้านเมือง หรือข้าราชการ ผู้ปกครองท่านใด ประพฤติตัวไม่เหมาะสม ผิดจารีตประเพณี ทำไม่ถูกต้อง ไม่ซื่อสัตย์ ทุจริตคดโกงต่อหน้าที่ ก็จะอยู่บริหารหรือทำหน้าที่ ณ ที่อำเภอเชียงคำของเราได้ไม่นาน ถ้าไม่โดนไล่ออก ก็จะโดนย้าย หรือ มีอันเป็นไปทุกคน” พระยาคำแดง พระองค์ได้ทรงปกครองเมืองบ้านเมือง ณ ดินแดนแห่งนี้ ด้วยทศพิธราชธรรม เป็นที่รักและเคารพของชาวเมืองทุกคน บ้านเมืองความสงบสุขร่มเย็นเรื่อยมา ปราศจากข้าศึกศัตรูมารุกราน จวบจนกระทั่ง พระองค์ได้มีพระราชธิดาพระองค์หนึ่ง ผู้ทรงมีสิริโฉมงดงามยิ่ง มีรัศมีผิวพรรณอัดงดงามดั่งพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ พระนางนั้นมีพระนามว่า พระนางอินตาสวรรค์ ด้วยพระสิริโฉมที่งดงามดังกล่าว จึงเป็นที่หมายปองของบรรดากษัตริย์และราชบุตรของเจ้าเมืองต่างๆ ที่อยากได้พระนางไปเป็นพระมเหสี จนในวันหนึ่ง พระยาฤทธิ์ ที่มีเมืองอยู่ทางทิศเหนือ ก็ได้ส่งเครื่องบรรณาการของฝากต่างๆ และส่งราชทูตเข้ามาสู่ขอ พระราชธิดาของพระยาคำแดง แต่พระยาคำแดง ก็ได้ปฏิเสธไป ไม่ยอมยกพระธิดาของพระองค์ให้ ต่อมาได้มี พระยาเดชานุภาพ ที่มีเมืองอยู่ทางทิศใต้ ก็ได้ส่งเครื่องบรรณาการและเข้ามาสู่ขอพระนางอินตาสวรรค์อีก พระยาคำแดง เจ้าเมืองก็ได้ปฏิเสธไปอีก ต่อมาก็มีพระยาสุริยวงศ์ษา อยู่ทางทิศตะวันตก ก็ได้ส่งเครื่องบรรณาการเข้ามาทูลขอพระธิดาของพระยาคำแดงอีก พระองค์ก็ทรงตอบปฏิเสธเหมือนอย่างเคย และต่อมา ก็ได้มีพระยาสุริยดนตรี ซึ่งมีเมืองปกครองอยู่ทางทิศตะวันออก ก็ได้ส่งเครื่องบรรณาการที่จะมาสู่ขอพระนางอินตาสวรรค์ ไปเป็นพระมเหสี แต่ พระยาคำแดง ผู้เป็นพระราชบิดา ก็ทรงปฏิเสธไปทั้งหมด ทำให้เจ้าเมืองทั้ง 4 เหล่านั้นพากันผิดหวังแล้วกลับไปยังเมืองของตนเอง เมื่อพระยาเจ้า เมืองทั้ง 4 เมืองพากันผิดหวัง ก็ได้มีการตกลงสมคบกัน และได้พากันยกทัพเข้ามาทำศึก เพื่อจะทำลายเมืองสิงห์กุตระนคร ในเวลานั้น พระยาเดชานุภาพ (น่าจะคนละพระองค์กับที่จะมาขอพระนางอินตาสวรรค์ ไปเป็นพระมเหสี) ซึ่งเป็นพระราชบุตรของ พระยาคำแดง ได้ทำการออกสู้รบแทนพระราชบิดา ปรากฎว่า พระยาเดชานุภาพ เป็นผู้ทีมีความสามารถเก่งกาจ ได้ใช้อาวุธ ทั้งหอก ทั้งหลาว ต่อสู้กับเจ้าพระยาทั้งสี่เมืองนั้นจนสวรรคตไปทั้ง 4 พระองค์ เมื่อ พระยาคำแดง ได้เห็นพระยาเจ้าเมืองทั้ง 4 พระองค์นั้นสวรรคตไป ก็เกิดอาการสังเวช สะดุ้งและตกใจกลัวเป็นอันมาก จึงได้เสด็จออกจากเมืองไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ และก็ได้กราบทูลเรื่องราวต่างๆ ให้พระพุทธองค์ทรงทราบ เมื่อพระพุทธองค์ ได้ทรงสดับเรื่องราวแล้ว ได้ตรัสเทศนาแก่พระยาคำแดงว่า ดูก่อนมหาราชา ท่านจงกลับคืนไปสู่เมืองของมหาบพิตรเถิด แล้วให้พระองค์ทรงจัดการกับพระศพของเจ้าพระยาทั้ง 4 ดังนี้ โดยให้พระองค์ทรงทำกระโจม หรือเจดีย์ แล้วได้นำสรีระร่างของเจ้าพระยาทั้ง 4 นั้น ไปไว้ในกระโจมนั้น แล้วให้ปั้นรูปสิงห์ 4 ตัว ใส่ไว้ในอุโมงที่ดอย (ภูเขา) สิงห์กุตระด้วย หลังจากนั้น พระพุทธองค์ ทรงให้ใช้พระหัตถ์ลูบเอาพระเกศาจำนวน 1 เส้น และได้มอบให้กับพระยาคำแดง เพื่อนำไปบรรจุไว้ที่กระโจมแห่งนั้นด้วย แล้วพระพุทธองค์ก็ได้ทรงตรัสไว้ว่า หลังจากพระองค์เสด็จดับขันธ์ปรินิพานไปแล้วภายภาคหน้า จะมีพระอรหันต์นำเอาพระบรมสารีริกธาตุนิ้วมือข้างขวาของพระองค์ มาเก็บรักษาเป็นพุทธบูชา ณ ดอยแห่งนี้ด้วย และ เมืองพุทธรส หรือ เมืองสิงห์กุตรนครแห่งนี้ จะว่างจากการมีเจ้าเมืองหรือไร้ผู้คนไปสักชั่วระยะหนึ่ง เนื่องด้วยเจ้าเมืองผู้ปกครองประพฤติไม่เหมาะสม ไม่ถูกต้องจารีตประเพณี ไม่ปกครองบ้านเมืองด้วยทศพิธราชธรรม บ้านเมืองก็จะไม่เจริญ แล้วในที่สุด ก็จะกลับคืนมาเป็นเมืองที่ยิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง พระยาสุริยวงศ์ษา ที่ได้เสด็จหนีไปครั้งเกิดเหตุการณ์สู้รบในเมืองนั้น เมื่อทราบเมืองสงบสุขดีแล้ว พระองค์ก็ได้เสด็จกลับเมืองของตนดังเดิม และต่อมา พระยาคำแดง ก็ได้ยกราชสมบัติของตน ให้กับพระยาสุริยวงศ์ษา ขึ้นเสวยราชสมบัติแทน แล้วพระยาคำแดง ก็ได้เสด็จออกผนวชเป็นพระฤาษีตราบสิ้นอายุขัย ก็ได้ไปบังเกิดบนสวรรค์ เมื่อเจ้าพระยาสุริยวงศา ได้เสวยราชสมบัติที่เหมืองสิงห์กุตระนครแห่งนี้แล้ว พระองค์ก็ทรงปกครองสั่งสอนพสกนิกรของพระองค์ ด้วยทศพิธราชธรรมตลอดมา ทรงทำบุญให้ทาน รักษาศีล ภาวนา มิเคยขาด บ้านเมืองก็มีความสุข มีความเจริญ จวบจนสิ้นอายุขัย นับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา ทุกวันเพ็ญวิสาขะ เดือน 8 เจ้าเมืองทุกคนและผู้ปกครองเมืองทุกคน จะทำการสรงน้ำพระธาตุและเจดีย์ และเจ้าเจ้านั่งดิน เพื่อตั้งจิตอธิษฐานขอให้พืชพันธุ์ธัญญาหาร มีความอุดมสมบูรณ์ ประชาชนมีความอยู่ดีกินดี ร่มเย็นเป็นสุขตราบนานเท่านาน |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |