|
||
![]() ติดตามรับชมภาพและข้อมูลเพิ่มเติมผ่านเฟรชบุ๊ค คลิ๊กที่ภาพเลยครับ บ้านเชียงคาน หมู่ที่ 7 ต.เชียงบาน อ.เชียงคำ จ.พะเยา ต่อกันที่หมู่ที่ 7 เลยนะครับ บ้านเชียงคาน และ วัดเชียงคาน ตั้งอยู่บ้านเชียงคาน หมู่ที่ 7 ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ 2 งาน อาคารเสนาสนะประกอบด้วย ศาลาการเปรียญ วิหาร และกุฏิสงฆ์ วัดเชียงคาน สร้างเมื่อ พ.ศ. 2480 ใครมีภาพและข้อมูลเพิ่มเติม ก็นำมาแบ่งปันกันรับชมเพื่อเป็นวิทยาทานนะครับ ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์กลางทางวัฒนธรรม |
||
|
||
![]() คลิ๊กที่ภาพเพื่อชมภาพเพิ่มเติมครับ ไทลื้อ หรือ ไตลื้อ เป็นชาวไทกลุ่มหนึ่ง มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในแถบสิบสองปันนาของจีน มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น คือการใช้ภาษาไทลื้อ และยังมีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อื่นๆ เช่น การแต่งกาย ศิลปะและประเพณีต่างๆ การอพยพ เดิม ชาวลื้อ หรือไทลื้อ มีถิ่นที่อยู่บริเวณ เมืองลื้อหลวง จีนเรียกว่า “ลือแจง” ต่อมาได้เคลื่อนย้ายลงมาอยู่บริเวณเมืองหนองแส หรือที่เรียกว่า คุนหมิงในปัจจุบัน แล้วย้ายลงมาสู่ลุ่มน้ำน้ำโขง สิบสองปันนาปัจจุบัน ประมาณศตวรรษที่ 12 จึงเกิดมีวีรบุรุษชาวไทลื้อชื่อ เจ้าเจื๋องหาญ ได้รวบรวมหัวเมืองต่างๆ ในสิบสองปันนาปัจจุบันตั้งเป็นอาณาจักรแจ่ลื้อ (เซอลี่) โดยได้ตั้งศูนย์อำนาจการปกครอง เอาไว้ที่หอคำเชียงรุ่ง นาน 790 ปี ต่อมาถึงสมัยเจ้าอิ่นเมือง ครองราช ต่อมาในปี ค.ศ. 1579-1583 (พ.ศ. 2122-2126) ได้แบ่งเขตการปกครองเป็นสิบสองหัวเมือง แต่ละหัวเมืองให้มีที่ทำนา 1,000 หาบข้าว (เชื้อพันธุ์ข้าว) ต่อนาหนึ่งที่/หนึ่งหัวเมือง จึงเป็นที่มาจนถึงปัจจุบัน เมืองสิบสองปันนา ได้แบ่งเขตการปกครองเอาไว้ในอดีตดังนี้ (ที่มาของคำว่า สิบสองพันนา อ่านออกเสียงเป็น “สิบสองปันนา”) ชาวไทลื้ออาศัยอยู่สองฝั่งแม่น้ำโขง คือ ด้านตะวันออกและตะวันตกของแม่น้ำ มีเมืองต่างๆ ดังนี้ภาษาไทลื้อ ได้กล่าวไว้ว่า ห้าเมิงตะวันตก หกเมิงตะวันออก รวมเจียงฮุ่ง (เชียงรุ่ง) เป็น 12 ปันนา และทั้ง 12 ปันนานั้น ประกอบด้วยเมืองใหญ่น้อยต่างๆ เช่น ฝั่งตะวันตก : เชียงรุ่ง, เมืองฮำ, เมืองแช่, เมืองลู, เมืองออง, เมืองลวง, เมืองหุน, เมืองพาน, เมืองเชียงเจิง, เมืองฮาย, เมืองเชียงลอ และเมืองมาง ฝั่งตะวันออก : เมืองล้า, เมืองบาน, เมืองแวน, เมืองฮิง, เมืองปาง, เมืองลา, เมืองวัง, เมืองพง, เมืองหย่วน, เมืองมาง และเมืองเชียงทอง การขยายตัวของชาวไทลื้อสมัยรัชกาลที่ 24 เจ้าอินเมืองได้เข้าตีเมืองแถน เชียงตุง เชียงแสน และล้านช้าง กอบกู้บ้านเมืองให้เป็นปึกแผ่น พร้อมทั้งตั้งหัวเมืองไทลื้อเป็นสิบสองเขต เรียกว่า สิบสองปันนา และในยุคนี้ ได้มีการอพยพชาวไทลื้อบางส่วน เพื่อไปตั้งบ้านเรือนปกครองหัวเมืองประเทศราชเหล่านั้น จึงทำให้เกิดการกระจายตัวของชาวไทลื้อในลุ่มน้ำโขงตอนกลาง (รัฐฉานปัจจุบัน) อันประกอบด้วย เมืองยู้ เมืองยอง เมืองหลวย เมืองเชียงแขง เมืองเชียงลาบ เมืองเลน เมืองพะยาก เมืองไฮ เมืองโก และเมืองเชียงทอง (ล้านช้าง) เมืองแถน (เดียนเบียนฟู) ซึ่งบางเมืองในแถบนี้ เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวไทลื้ออยู่แล้ว เช่น อาณาจักรเชียงแขง ซึ่งประกอบด้วย เมืองเชียงแขง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงกก เมืองเชียงลาบ เมืองกลาง เมืองลอง เมืองอาน เมืองพูเลา เมืองเชียงดาว เมืองสิง เป็นต้น ชาวไทลื้อบางส่วนได้อพยพ หรือ ถูกกวาดต้อน ออกจากเมืองเหล่านี้เมื่อประมาณหนึ่งร้อยถึงสองร้อยปีที่ผ่านมา แล้วลงมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในประเทศตอนล่าง เช่น พม่า, ลาว และไทย ในสมัยรัชกาลที่ 1 เจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) และเจ้าสุมนเทวราช (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่านและเมืองบาง ส่วนในประเทศลาว และต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 เจ้าสุริยะพงษ์ (เจ้าผู้ครองนครน่าน) ก็ได้ยกกองทัพขึ้นไปกวาดต้อนชาวไทลื้อจากสิบสองปันนามายังเมืองน่าน ไท ยอง ชาวไทยอง หรือ ชาวเมืองยอง ใช้เรียกกลุ่มคนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณเมืองยอง และกระจายอยู่ในด้านตะวันออกของรัฐฉาน ประเทศพม่า เขตสิบสองพันนา ในมณฑลยูนนานของจีน ภายหลังได้อพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือน ใน จังหวัดลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย และน่าน ในสมัยรัชกาลที่ 1 ภายใต้กุศโลบาย “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” ของ พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ เพื่อรื้อฟื้นอาณาจักรล้านนา ภายหลังการยึดครองของพม่าสิ้นสุดลง จากตำนาน ชาวเมืองยองนั้น ได้อพยพมาจากเมืองเชียงรุ้งและเมืองอื่นๆ ในสิบสองปันนา ซึ่งเป็นคนไทลื้อ และได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานครั้งใหญ่ในเมืองลำพูน และ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2348 ด้วยสาเหตุของสงคราม เจ้าเมืองยองพร้อมด้วยบุตรภรรยา น้องทั้ง 4 ญาติพี่น้อง ขุนนาง พระสงฆ์และไพร่พลจากเมืองยอง จำนวน 20,000 คนเข้ามาแผ้วถางเมืองลำพูนที่ร้างอยู่ ตั้งบ้านเรือนตามลุ่มน้ำแม่ทา น้ำแม่ปิง ผู้คนทั่วไปในแถบนั้นจึงเรียกคนที่มาจากเมืองยองว่า ชาวไทยอง ในสมัยนั้นผู้คนต่างเมืองที่มาอยู่ร่วมกัน จะเรียกขานคนที่มาจากอีกเมืองหนึ่งตามนามของคนเมืองเดิม เช่น คนเมืองเชียงใหม่ คนเมืองลำปาง คนเมืองแพร่ คนเมืองน่าน คนเมืองเชียงตุง เป็นต้น แต่ของคนเมืองยองนั้น ต่อมาคำว่าเมืองได้หายไป คงเหลืออยู่คำว่า คนยอง ดังนั้น ยอง จึงมิใช่เป็นเผ่าพันธุ์ และเมื่อวิเคราะห์จากพัฒนาการ ประวัติศาสตร์ของเมืองยองแล้ว ชาวไทยอง ก็คือ ชาวไทลื้อนั่นเอง ในราวพุทธศตวรรษที่ 19 เจ้าสุนันทะ โอรสเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ได้พาบริวารชาวไทลื้อจากเมืองเชียงรุ่ง เข้ามาปกครองเมืองยองเหนือคนพื้นเมือง ซึ่งเป็นชาวลัวะ โดยมีทั้งปัจจัยสนับสนุนได้แก่ การผสมผสานระบบความเชื่อและพิธีกรรม และพระพุทธศาสนาที่เข้ามาในภายหลัง ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ และระบบบรรณาการกับเมืองเชียงรุ่ง เชียงตุงและการสร้างพันธมิตรทางการเมืองกับกลุ่มเมืองในที่ ราบเชียงราย บนฝั่งแม่น้ำโขงตอนกลาง เช่น เชียงแสน เชียงของ เป็นต้น ดังนั้น ชาวไทยอง กับ ชาวไทลื้อก็คือ ญาติกันนั่นเอง ปัจจุบัน ชาวไทลื้อกระจายตัวอยู่ที่ ประเทศพม่า มีแถบเมืองยอง เมืองยู้ เมืองหลวย เมืองเชียงลาบ เมืองไร เมืองพะยาก เมืองโก เมืองโต๋น เมืองเลน เชียงตุง ประเทศลาว เมืองหลวงน้ำทา เมืองหลวงพูคา เมืองบ่อแก้ว ไชยะบุลี (เชียงฮ่อนเชียง เชียงลม หงสา) เมืองหลวงพะบาง ประเทศไทย เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน พะเยา ลำปาง แพร่ น่าน ประเทศเวียดนาม เมืองแถน สำหรับในประเทศไทย มีชาวไทลื้อในหลายจังหวัดทางภาคเหนือตอนบน ดังนี้ เชียงราย : อำเภอแม่สาย อำเภอเชียงของ อำเภอเชียงแสน อำเภอพาน ซึ่งเป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากจังหวัดลำปาง (ส่วนหนึ่งได้อพยพไปเมืองเชียง รุ้ง เมื่อเกิดสงครามไทยพม่า) เชียงใหม่ : อำเภอสะเมิง อำเภอดอยสะเก็ด อำเภอสันกำแพง กิ่งอำเภอแม่ออน น่าน : อำเภอเมืองน่าน (ต.ในเวียง บ้านเชียงแขง บ้านเมืองเล็น) อำเภอท่าวังผา มีชาวไทลื้ออยู่ 5 ตำบล คือ ต.ศรีภูมิ บ้านห้วยเดื่อ ต.ป่าคา เป็นชาวไทลื้อที่มาจากเมืองล้า มี 5 ประกอบด้วยหมู่บ้าน บ้านหนองบัว บ้านดอนแก้ว บ้านต้นฮ่าง บ้านดอนมูล บ้านแฮะ ,ตำบลยม มีชาวไทลื้อ 5 หมู่บ้านเป็นชาวไทลื้อที่มาจาก เมืองเชียงลาบ และเมืองยอง ประกอบด้วย บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง บ้านเชียงยืน บ้านเสี้ยว บ้านหนองช้างแดง ,ต.จอมพระ เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยองและเมืองยู้มีชาวไทลื้อ 5 หมู่บ้าน บ้านถ่อน และถ่อนสอง บ้านยู้ บ้านยู้เหนือ บ้านยู้ใต้ อำเภอปัว เป็นอำเภอที่มีชาวไทลื้ออยู่มากที่สุด ประกอบด้วย ต.ศิลาเพชรเป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมืองยอง มี 7 หมู่บ้าน บ้านป่าตอง3หมู่บ้าน บ้านดอนไชย บ้านนาคำ บ้านดอนแก้ว ,ตำบลศิลาแลง เป็นชาวไทลื้อที่อพยพมาจากเมือ งยอง บ้านเก็ด บ้านหัวน้ำ บ้านตีนตก เป็นต้น ต.วรนคร บ้านดอนแก้ว บ้านร้องแง บ้านมอน บ้านขอน บ้านป่าลานเป็นต้น ตำบลสถาน เป็นชาวไทลื้ออพยพมาจากเมืองเชียงลาบ มี 3 หมู่บ้าน นอกนั้นในยังมีอีกไม่ต่ำกว่า 20 หมู่บ้านในอำเภอปัวที่เป็นชาวไทลื้อ อำเภอเชียงกลาง อำเภอสองแคว มีชาวไทยลื้ออาศัยอยู่ที่ตำบลยอด ที่บ้านปางส้าน บ้านผาสิงห์ (บ้านห้วยเหาะ) และบ้านผาหลัก อำเภอทุ่งช้าง บ้านงอบ บ้านปอน ห้วยโก๋น และส่วนที่อพยพเข้ามาใหม่ ซึ่งจะอยู่ปะปนกะชาวเมืองน่านแถบ ชายแดน (มีจำนวนมากที่สุด อพยพมาจาก แขวงไชยะบุรี และ สิบสองปันนา) พะเยา : อำเภอเชียงม่วน อำเภอเชียงคำ (มีจำนวนมาก) อำเภอภูซาง ลำปาง : อำเภอเมือง ประกอบด้วย 5 หมู่บ้าน บ้านกล้วยหลวง บ้านกล้วยแพะ บ้านกล้วยม่วง บ้านกล้วยกลาง และบ้านกล้วยฝาย และบางส่วนใน อำเภอแม่ทะ ลำพูน : อำเภอเมือง อำเภอบ้านธิ จังหวัดแพร่ : อำเภอเมืองแพร่ ต.บ้านถิ่น ส่วนในต่างประเทศนั้น มีการกระจายตัวกันเกือบทุกประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง เช่นในรัฐฉาน ประเทศพม่า ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม(เมืองแถน และ เมืองเดียนเบียนฟู ก็มีการบันทึกไว้ว่ามีชาวไทลื้อ อยู่ที่นั่นด้วย) วัฒนธรรม ชาวไทลื้อมีชีวิตที่คล้ายคลึงกับชาวไทยหรือชนเผ่าอื่นๆทางภูมิภาค คือมีการสร้างบ้านเรือนเป็นบ้านไม้ มีใต้ถุนสูง มีครัวไฟบนบ้าน ใต้ถุนเลี้ยงสัตว์ แต่ในปัจจุบันวิถีชีวิตได้เปลี่ยนไป การสร้างบ้านเรือนก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย เรือนที่ยังคงสภาพเป็นเรือนไม้แบบเดิมสถาปัตยกรรมแบบไทลื้อผสมล้านนายังพอจะ มีให้เห็นบ้างในบางชุมชน เช่น บ้านธาตุสบแวน และบ้านหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ชาวไทลื้อส่วนใหญ่เป็นพุทธศาสนิกชนที่เคร่งครัด นิยมสร้างวัดในชุมชนต่างๆ แทบทุกชุมชนของชาวไทลื้อ ทั้งยังตกแต่งด้วยศิลปกรรม และสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์งดงาม มีการบูรณะ ซ่อมแซม ให้คงสภาพดีอยู่เสมอ ซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงบางแห่ง เช่น วิหารวัดดอนมูล วิหารวัดหนองแดง วิหารวัดหนองบัว วิหารวัดท่าฟ้าใต้ วิหารวัดแสนเมืองมา(วัดมาง) วิหารวัดหย่วน เป็นต้น ศิลปะ ที่โดดเด่นของชาวไทลื้อได้แก่ งานผ้าทอไทลื้อ นิยมใช้ผ้าฝ้าย บางสมัยนิยมใช้เส้นไหมจากต่างถิ่น ทอลวดลายที่เรียกว่า “ลายเกาะ” ก้วยเทคนิคการล้วง ซึ่งปัจจุบันนิยมเรียกว่า ลายน้ำไหล มีการฟื้นฟูและถ่ายทอดศิลปะการทอผ้าแบบไทลื้อในหลายชุมชนของภาคเหนือใน ปัจจุบัน ผู้ชายไทลื้อส่วนใหญ่จะนิยมสวมเสื้อขาวแขนยาว สวมทับด้วยเสื้อกั๊กปักลวดลายด้วยเลื่อม เรียกว่า “เสื้อปา” สวมกางเกง[หม้อห้อม]]ขายาวต่อหัวกางเกงด้วยผ้าสีขาว เรียกว่า “เตี่ยวหัวขาว” นิยมโพกศีรษะ (“เคียนหัว”) ด้วยผ้าสีขาว สีชมพู ส่วนหญิงไทลื้อนิยมสวมเสื้อปั๊ด (เป็นเสื้อที่ไม่มีกระดุมแต่สาบเสื้อจะป้ายเฉียงมาผูกไว้ที่เอวด้านข้าง) นุ่งซิ่นต๋าลื้อ สะพายกระเป๋าย่าม (“ถุงย่าม”)และนิยมโพกศีรษะด้วยผ้าสีขาวหรือสีชมพู[4] เรื่องของชาวไทลื้อ ซึ่งบรรพบุรุษได้อพยพมาจากเมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ (เมืองทั้งหมดนี้อยู่ในรัฐฉาน ประเทศพม่า) และชาวไทยอง (คนไทลื้อเมืองยอง เข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตจังหวัดต่างๆ ทางภาคเหนือหรือล้านนา) นั้น มีความเกี่ยวข้องกันมาก ดังนั้นจึงอาจจะไม่สามารถแบ่งแยกกันได้ว่าไทยองไม่ใช่ไทลื้อ สมเด็จพระเป็นเจ้าหอคำเชียงรุ่ง 1 (พญาเจื๋อง) เป็นปฐมกษัตริย์ของชาวไทลื้อ แห่งราชวงค์อาฬโวสวนตาล จนถึงสมเด็จพระเจ้าหอคำเชียงรุ่งที่ 41 เจ้าหม่อมคำลือ (ตาวซินซือ) ก่อนสิ้นสุดลงเพราะรัฐบาลจีนได้ถอดถอนท่านออกจากการเป็นเจ้าแผ่นดิน ยุบเลิกระบบการปกครองเดิมของสิบสองปันนา ส่วนพระอนุชาได้ลี้ภัย มาอยู่ที่อำเภอแม่สาย หม่อมตาลคำ ได้ลี้ภัยมาอยู่กรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ.2331 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ได้มีรับสั่งให้เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ไปตีเมืองเชียงตุง และได้เข้าไปกวาดต้อนชาวไทยใหญ่จากรัฐฉาน ประเทศพม่ากับ ชาวไทลื้อ จากแคว้นสิบสองปันนา ประเทศจีน อันประกอบด้วยเมืองพง เมืองมาง เมืองหย่วน เมืองแมน เมืองล้า และเมืองอู แต่ละเมืองก็มีเจ้าผู้ครองนครปกครองอยู่ บรรดาผู้คนที่ถูกกวาดต้อนมาให้ไปอยู่เมืองเชียงม่วน (อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) โดยมีเจ้าผู้ครองนครที่ทรงพระนามว่าพญาคำและ พญาธนะรวมอยู่ด้วย และมีความเห็นว่า อันเมืองเชียงม่วนนี้ จะทำอาชีพใดหรือการเกษตรก็ไม่ค่อยที่จะได้ผลดีนัก จึงขออนุญาตเจ้าเมืองน่านอพยพผู้คนเข้ามาอยู่เมืองเชียงคำ (อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา ในปัจจุบัน) และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านมาง” โดยได้เอาชื่อเมืองมางที่เคยอยู่ในอดีตมาตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน พญาทั้งสองได้นำชาวไทยลื้อทั้งหลายมาตั้งถิ่นฐานหรือที่อยู่อาศัย พร้อมกับประกอบอาชีพตามที่ถนัด และได้พากันสร้างวัดขึ้นมาวัดหนึ่ง โดยตั้งชื่อวัดว่า “วัดมาง” ต่อมาปี พ.ศ. 2396 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ มีรับสั่งให้เจ้าอนันตวรฤทธิ์เดชฯ เจ้าผู้ครองนครน่านไปตีเมืองสิบสองปันมา เมืองเชียงรุ้งอีก ปรากฏว่า พอถึงเจ้าเมืองเชียงรุ้งยอมสวามิภักดิ์แต่โดยดี และยังพบชาวไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ที่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีนฮ่อ ซึ่งปกครองด้วยระบบทารุณโหดร้าย จึงได้ทรงช่วยเหลือไทลื้อเหล่านั้น ให้พ้นจากอิทธิพลอันเลวร้าย โดยการกวาดต้อนเข้ามาอยู่ที่บ้านหงาว อำเภอเทิง จังหวัดน่าน (อำเภอเทิง จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน) ครั้นถึง พ.ศ. 2413 พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ได้สืบราชสมบัติแห่งนครน่าน ได้มีเจ้าเมืองสิบสองปันนา ชื่อ “พญาโพธิราช” พาชาวไทลื้ออพยพหนีภัยสงครามเข้ามาอยู่ในเมืองเทิง ซึ่งบรรดาชาวไทลื้อต่าง เรียกเจ้าเมืององค์นี้ว่า “พญานายฮ้อย” ฝ่าย พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ทรงวิตกและเกรงว่า ชาวไทลื้อเหล่านี้ อาจพากันอพยพกลับไปอยู่ที่เดิมอีก จึงได้อพยพไปอยู่ที่อำเภอเชียงม่วน จังหวัดน่าน เมื่อประมาณ พ.ศ. 2416 แต่พื้นที่ของเมืองเชียงม่วน ไม่อุดมสมบูรณ์ ชาวไทลื้อ จึงเข้าไปขออนุญาต ย้ายที่อยู่อาศัยใหม่จากเจ้าเมืองน่าน พระองค์ได้โปรดให้หัวหน้าไทลื้อออกไปสำรวจหาสถานที่ตามแหล่งต่าง ๆ ในที่สุดก็ไปพบที่ราบกว้างใหญ่ พื้นดินอุดมสมบูรณ์และมีแม่น้ำยวน แม่น้ำแวน แม่น้ำลาวไหลผ่าน เป็นที่อยู่อาศัยของไทลื้อสืบไป จึงกลับไปถวายรายงานและ ก็ได้รับอนุญาต แล้วพากันอพยพเข้ามาอยู่ในสถานที่แห่งใหม่ นั่นก็คือท้องที่อำเภอเชียงคำในปัจจุบัน โดยมีหมู่บ้านหย่วน บ้านมาง บ้านแมน บ้านล้า บ้านหนองลื้อ ตั้งอยู่บริเวณแม่น้ำลาว บ้านทุ่งมอก บ้านเชียงบาน บ้านปางวัว บ้านเชียงคาน บ้านแพด บ้านน้ำแวน อยู่บริเวณแม่น้ำแวน และบ้านแดนเมือง อยู่บริเวณแม่น้ำยวน ต่อมาปี พ.ศ. 2447 พวก ไทลื้อได้พากันตั้งหมู่บ้านขึ้นอีกแห่งหนึ่งชื่อ “บ้านธาตุสบแวน” ซึ่งแยกมาจากหมู่บ้านหย่วน พร้อมกับได้พากันแยกย้ายหรือขยายหมู่บ้านออกไป ตั้งถิ่นฐานอยู่ในเขตเมืองเชียงคำอีกเป็นจำนวนหลายหมู่บ้าน ชาวไทลื้อได้พากันตั้งหมู่บ้านเป็นหลักแหล่งมาจนทุกวันนี้ อันเป็นปีที่ ท่านพระยาพิศาลคีรี ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งนายอำเภอคนแรกของอำเภอเชียงคำของเรา ท.ทิวเทือกเขา ไท ลื้อ คือ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษาตระกูลไท มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ในแคว้นสิบสอง-ปันนาทางตอนใต้ของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเราคุ้นเคยในกับเมืองสิบสองปันนาประกอบด้วยเมืองต่าง ๆ รวม 44 เมืองโดยมีเมืองสำคัญ 28 เมือง ได้แก่ เมืองเชียงรุ่ง เมืองลวง เมืองแจ้ เมืองฮาย เมืองสูง เชียงเจิง เมืองฮุน เมืองปาน เชียงลอ เมืองวัง เมืองงาด เมืองออง เมืองยาง เมืองฮิง เมืองลา เมืองฮำ เชียงตอง เมืองขอน เมืองนุน เมืองแวน เมืองเฮม เมืองล้า(เมืองล่า) เมืองบ่อแฮ่ เมืองพง เมืองหย่วน เมืองอูเหนือ และเมืองอูใต้ โดยมีเมืองเชียงรุ่ง เป็นเมืองหลวง เดิมดินแดนสิบสองปันนาจัดการปกครองเป็นระบบ ปันนา โดยการแบ่งเมืองต่าง ๆ ออกเป็นกลุ่ม ๆ ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการจัดเก็บส่วยและผลประโยชน์ของรัฐ โดยแบ่งออกเป็น 12 ปันนา ดังนี้1. เชียงรุ่ง/เมืองฮำ ขึ้นตรงต่อเจ้าแสนหวีฟ้า นอก จากไทลื้อที่ประเทศจีนแล้ว ยังมีไทลื้อในประเทศพม่าบริเวณภาพตะวันออกของรัฐฉาน เช่น เมืองยอง บางส่วนตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคเหนือของประเทศลาว ได้แก่ ลุ่มน้ำทา น้ำสิงห์ แขวงหลวงน้ำทา ลุ่มน้ำงาว แขวงบ่อแก้ว เขตน้ำงู ในแขวงพงสาลี และหลวงพระบาง ลุ่มน้ำก่อ น้ำแบง แขวงอุดมไซ และอยู่ตามที่ราบระหว่างหุบเขาในเขตเชียงฮ่อนและหงสา แขวงไชยบุรี ส่วนในเวียดนาม ไทลื้อมีถิ่นอาศัยอยู่ที่เมืองบินลูห์ และบริเวณฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดำตามพรมแดนที่ต่อต่อกับจีน ไทลื้อสิบสองปันนาสู่เชียงคำตั้งแต่อดีตหลายร้อยปีที่ผ่านมา ชาวไทลื้อจากสิบสองปันนาได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในบริเวณภาคเหนือของไทย ปัจจุบัน ด้วยสาเหตุหลายประการด้วยกัน ต่างทะยอยเข้ามาหลายระลอก ต่างกรรมต่างเวลากัน จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ บอกถึงการเข้ามาของไทลื้อครั้งสำคัญ ในช่วงต้นยุครัตนโกสินทร์ เนื่องจากช่วงเป็นช่วงการฟื้นฟูบ้านเมืองของหัวเมืองต่าง ๆ ในดินแดนล้านนา หลังจากการเข้าสวามิภักดิ์ต่อกรุงเทพ ฯ และขับไล่พม่าออกไปพ้นจากล้านนาแล้ว ดังมีคำเรียกขานว่าเก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าเข้าเมือง เช่นในสมัยพระเจ้ากาวิละแห่งนครเชียงใหม่ ได้ให้เจ้าอุปราชยกทัพไปตีหัวเมืองทางตอนเหนือ ซึ่งเป็นหัวเมืองไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ เพื่อการกวาดต้อนผู้คนเข้ามาเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ใช้เป็นแรงงานสำคัญในการฟื้นฟูบ้านเมืองใน พ.ศ. 2347 นอกจากจะใช้กำลังกวาดต้อน แล้วยังใช้วิธีการเกลี้ยกล่อมให้ยินยอมอพยพมาแต่โดยดี เช่น กรณีไทลื้อเมืองยอง (คนยอง) ที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานบริเวณเมืองลำพูน ในปี พ.ศ. 2348 การไปกวาดต้อนอพยพผู้คนจากทางตอนเหนือ ยังดำเนินต่อมาอีกหลายครั้ง และไม่เฉพาะแต่เมืองเชียงใหม่เท่านั้น หัวเมืองอื่น ๆ ในล้านนาก็ทำเช่นกัน เช่น เมืองน่าน พ.ศ.2348 เจ้าเมืองน่านยกทัพไปตีสิบสองปันนานำเจ้านาย ขุนนาง และเครื่องบรรณาการของไทลื้อไปกรุงเทพ ฯ พ.ศ. 2355 กวาดต้อนคนจากเมืองล้า เมืองพง เมืองแขวง เมืองหลวงภูคา เมืองสิงห์ เมืองมาง พ.ศ. 2399 เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้านครน่านยกทัพไปตีหัวเมืองสิบสองปันนากวาดต้อนเทครัวไทลื้อกลุ่มหนึ่งมา ไว้ที่เมืองเชียงม่วนใกล้ลำน้ำปี้ และต่อมาในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้านครน่านองค์ต่อมาได้ยกทัพไปตีหัวเมืองลื้อ เช่น เมืองพง เมืองหย่วน เมืองมาง เมืองล้า กวาดต้อนเทครัวมาไว้ที่ท่าวังผ่า และที่เมืองเชียงม่วน ปัจจุบันปรากฏว่า มีแหล่งชุมชนไทลื้อในประเทศไทยกระจายอยู่หลาย ๆ จังหวัดทางภาคเหนือ เช่น ชุมชนไทลื้อจังหวัดพะเยา อำเภอเชียงคำ ตำบลหย่วน มีหลายหมู่บ้าน คือ บ้านหย่วน บ้านธาตุสบแวน บ้านแดนเมือง บ้านมาง บ้านดอนไชย บ้านแช่แห้ง บ้านใหม่ การเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวไทลื้อ อำเภอเชียงคำ นั้นมีหลายรูปแบบ และต่างเวลาหลายระลอกด้วยกัน ชาวไทลื้อบ้านหย่วนอพยพ มาจากเมืองหย่วน ปันนาเมืองพงษ์ แคว้นสิบสองปันนา จากประวัติวัดหย่วน ได้บันทึกไว้ว่า การเข้ามาของไทลื้อบ้านหย่วนแต่แรกนั้น ได้ไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่เมือง เมื่อพิจารณาแล้วคะเนว่า ไทลื้อบ้านหย่วน น่าจะ เข้ามายังพื้นที่ประเทศไทยปัจจุบัน ในสมัยที่พม่ายังคงมีอำนาจเหนือบริเวณแถบนี้อยู่ ดังปรากฏในช่วงระหว่าง จ.ศ. 1027 – จ.ศ.1049 (พ.ศ. 2208 – พ.ศ. 2230 ) พระยายอดใจ ได้กินเมืองน่านโดยการแต่งตั้งจากกษัตริย์พม่า ซึ่งขณะนั้น เมืองเชียงคำอยู่ในเขตการปกครองของเมืองน่าน จากการอพยพเข้ามาหลายครั้งของชาวไทลื้อ ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยภายในหรือภายนอก มาตั้งถิ่นฐานใหม่ในบริเวณต่างๆ ในภาคเหนือของประเทศไทย โดยส่วนหนึ่ง เข้ามาตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาในปัจจุบัน โดยเฉพาะที่ตำบลหย่วน ซึ่งเป็นตำบลที่มีชนเผ่าไทลื้อ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานมากที่สุดในจังหวัดพะเยา ได้มีการถ่ายโอนศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อต่างๆ อันเคยปฏิบัติสืบเนื่องกันมา ดังเช่นวัฒนธรรมความเชื่อเกี่ยวกับภพ ภูมิโลกหน้าซึ่งก่อให้เกิดประเพณีการตาน หรืออุทิศปราสาท มณฑก สิ่งของเครื่องใช้ อาหารไปไว้ภายภาคหน้าทั้งเพื่อตนเองและผู้ล่วงลับ งานช่างศิลป หัตถกรรมและภูมิปัญญาแขนงต่างต่าง ๆ รวมทั้งวิถีชีวิตความเป็นอยู่ เครื่องแต่งกายภาษาเป็นต้น สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นชาติพันธ์ของชาวไทลื้อที่สั่งสมสืบทอด กันมาหลายศตวรรษไทลื้อจังหวัดพะเยา 1. ไทลื้อเชียงคำ อยู่ที่อำเภอเชียงคำ อพยพมาจากเมืองพง เมืองหย่วน เมืองมาง เมืองยั้ง เมืองเงิน เมืองเชียงคาน โดยตั้งหมู่บ้านเป็นหมู่บ้าน ๆ ใช้ชื่อเมืองที่อยู่เดิมตั้งเป็นชื่อหมู่บ้าน เช่นบ้านหยวน บ้านมาง บ้านเชียงคาน บ้านล้า ฯลฯ นอกจากนั้นยังมีประเพณีในการนับถือเทวดาเมืององค์เดียวกันคือ เจ้าหลวงเมืองล้า ในบ้านน้ำแวน หมู่ 1 ตำบลน้ำแวน บ้านแวน หมู่ 2 ตำบลน้ำแวน บ้านแวนพัฒนาหมู่ 5 ตำบลเชียงบาน บ้านล้า ตำบลเวียง ( อิสรา ญาณตาล .พ.ศ. 2534 ) กลุ่มไทลื้อเชียงคำ จะอพยพมาจากเมืองปัว ซึ่งเป็นกลุ่มที่นับถือเจ้าหลวงเมืองล้า มาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงคำ โดยเลือกเอาบริเวณที่ห้วยแม่ต๋ำไหลบรรจบกันกับแม่น้ำแวน (ปัจจุบันคือบ้านหมู่ที่ 1) หลังจากนั้น ก็มีการขยายชุมชนออกไปตั้งอยู่อีกฟากหนึ่งของห้วยแม่ต๋ำ (ปัจจุบันคือ หมู่บ้านแวนหมู่ที่ 2) และการขยายตัวครั้งสุดท้าย เมื่อประมาณ พ.ศ. 2460 ไปตั้งอยู่อีกฝากหนึ่งของแม่น้ำแวน ซึ่งปัจจุบันคือ บ้านแวนพัฒนา หมู่ 5 ตำบลเชียงบาน ซึ่งไท ลื้อกลุ่มนี้ จะเป็นกลุ่มเดียวกับที่ถูกกวาดต้อนมาจากสิบสองปันนาใน สมัยพระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช เจ้าผู้ครองนครน่าน บ้าน แวนทั้ง 3 หมู่บ้าน ยังมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับกลุ่มไทลื้อในอำเภอท่าวังผา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความสัมพันธ์เครือญาติระหว่างบ้านแวนพัฒนา หมู่ 5 กับบ้านหนองบัว ดูจะแน่นแฟ้น เพราะใน พ.ศ. 2495 มีครอบครัวไทลื้อจากบ้านหนองบัวมาตั้งรกรากอยู่ที่บ้านแวนพัฒนาโดยตรงประมาณ 20 ครอบครัว นอก จากนี้ กลุ่มไทลื้อเชื้อสายเมืองล้า (บ้านหนองบัว ต้นฮ่าง ดอนมูล รวมถึง บ้านแวนทั้ง 3 และบ้านล้า) มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติกับไทลื้อที่เมืองคอบ ซึ่งอยู่ในเขตประเทศลาวปัจจุบัน กล่าวคือ ต่างก็นับถือเทวดาเจ้าหลวงเมืองล้า เป็นเทวดาเมืองเหมือนกัน และ โดยทุกปีเมื่อมีพิธีกรรมเมือง เลี้ยงเทวดาเจ้าหลวงเมืองล้า ก็มีเครือญาติจากบ้านแวนและบ้านหนองบัวไปร่วมพิธีด้วยทุกครั้ง ถ้าไปไม่ได้ก็จะมีการเก็บเงินไปบริจาคร่วมในการจัดซื้อควายมาสังเวย 2. ไทลื้อเชียงม่วน มีนิทานเล่าขานสืบต่อกันมาว่า “พระยานุ่น” แห่งเมืองน่าน เป็นผู้สร้างเมืองเชียงม่วน โดยเสด็จออกล่า ช้างป่า และทราบว่า ช้างป่าตัวนั้นเป็นช้างเผือกคู่บารมีของพระมหากษัตริย์ ออกหากินในป่าระหว่างแดนเมืองน่าน และเมืองพะเยา พระยานุ่น ได้ติดตามช้างเผือก เข้าไปถึงเขตแดนเมืองปง ซึ่งเป็นหัวเมือง ขึ้นต่อจังหวัดน่าน และจับช้างเผือกเชือกนั้นได้ พระยา นุ่นและบริวาร นำช้างเดินทางรอนแรมมาถึงหมู่บ้านหนึ่ง อยู่ใกล้ฝั่งแม่น้ำยม และอาบน้ำ ประดับประดา ตกแต่งด้วยเครื่องทรง เตรียมการฉลองช้างเผือกคู่บารมี ภาษาพื้นเมืองเรียกการอาบน้ำตกแต่งอย่างวิจิตรบรรจงเช่นนี้ว่า “สระสลุง” บ้านสถานที่ตั้งค่ายพักแรมตกแต่งช้าง จึงมีชื่อว่า “บ้านสระสลุง” แต่ปัจจุบันเรียกสั้น ๆ ว่า “บ้านสระ” พระยา นุ่นจัดงานเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริก มีการแสดงหลายอย่าง ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในแถบนี้ ประชาชนที่มาร่วมงานต่างรู้สึกพอใจสนุกสนานยิ่งนัก และเพื่อเป็นการระลึกถึงการฉลองช้างในครั้งนี้ พระยานุ่น จึงให้สร้างเมืองขึ้นมา แล้วให้ชื่อว่า เมืองเชียงม่วน ซึ่งแปลว่า เมืองสนุก อุทิศ ปฐมของ และรวงทอง สมัคร ได้ให้ความเห็นว่า เชียงม่วน ชื่อที่ใช้ในปัจจุบัน น่าจะเป็นชื่อเรียกในบัญชีเมืองโบราณ สมัยขุนเจืองธรรมิกราช (โอรสขุนจอมธรรม ครองเมืองภูกามยาว มีพระชนม์อยู่ระหว่าง พ.ศ.1714 – 1790) จากคำว่า “เมืองมวน” ตามบัญชีเมืองในสมัยโบราณ 23 หัวเมือง ซึ่งมีเมืองที่น่าสนใจ ดังนี้ 1. เมืองเทิง คือ อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ใน สมัยของพระเจ้าแสนภู ได้สร้างเมืองเชียงแสนเป็นราชธานี ปี พ.ศ.1871 จึงปรับปรุงเขตการปกครองระหว่างเมืองเชียงแสน พะเยา ระบุว่า พันนาเชียงแสนทั้งหมดมี 65 พันนา ๆ ที่น่า สนใจ มีดังนี้ เมืองโก เชียงคำ เชียงม่วน นาคำ นาผึ้ง เมืองพาน ท่าซ้าย เชียงช้าง เมืองมวน เมืองไร และเมือง จาก เอกสารประชุมพงศาวดาร ภาคที่10 ตอนต้น เรื่อง ราชวงศ์ปกรณ์ พงศาวดารเมืองน่าน ฉบับพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช พระเจ้านครน่าน ระบุว่า ” เมื่อ พ.ศ.2399 (รัชกาลที่ 4 ) ได้กวาดต้อนครอบครัวลื้อเมืองพง เขตสิงสองปันนา ซึ่งเวลานั้นอยู่ในบังคับของฮ่อ ให้เข้ามาอยู่ในเขตเมืองน่าน ประมาณคนพันเศษ ได้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ที่เมืองเชียงม่วน และเมืองเชียงคำ รวมเวลาไปมา 5 เดือน” กำ ศรวญ ยาศรี (2537 : 11) ได้สัมภาษณ์ คุณพ่ออภิวัง สมฤทธิ์ ผู้อาวุโสในบ้านธาตุ หมู่ที่ 1 ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา บอกว่า ประมาณปี พ.ศ.2399 พระเจ้าสุริยพงศ์ ผริตเดช (สุริยะ ณ น่าน) ได้ยกทัพไปปราบข้าศึกที่เมืองเชียงตุง ได้พบเห็นเผ่าไทลื้อกลุ่มหนึ่ง ซึ่งมีประเพณีวัฒนธรรม มีนิสัยใจคอ เยือกเย็น อดทน ขยันขันแข็ง รักความสงบ แต่ตกอยู่ในอำนาจจีนฮ่อ 1,000 คน พวกจีนฮ่อใช้ระบบทารุณโหดร้ายต่อเผ่าไทลื้อ ด้วยวิธีต่าง ๆ นานา พระองค์ ได้พิจารณาหาทางช่วยเหลือให้พ้นจากอิทธิพลจีนฮ่อ จึงได้กวาดต้อนชาวไทลื้อ สิบสองปันนา ครั้งแรกมาอยู่บ้านหงาว อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เป็นเวลา 7 ปี ต่อมาทรงวิตกว่า ชาวไทลื้อดังกล่าว จะพากันอพยพไปอยู่ที่เดิมอีก จึงได้อพยพชาวไทลื้อดังกล่าว ไปอยู่อำเภอ เชียงม่วน จังหวัดน่าน สมัยนั้น ในจำนวนไทลื้อ ที่โยกย้ายในยุคนั้น เจ้าเมืองน่านได้สั่งให้ไทลื้อกลุ่มพญาคำ และพญาธนะ (นัยว่า เป็นเจ้าเมืองในสิบสองปันนา) ไปตั้งบ้านเรือนในพื้นที่อำเภอเชียงม่วนปัจจุบัน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในเขตปกครองของเมืองปง ขึ้นกับเมืองน่าน ท้องที่อำเภอเชียงม่วนนี้ แต่เดิมเคยมีฐานะเป็นเมืองว่า เมืองเชียงม่วน ขึ้นกับเมืองเชียงราย (ประกิจกรจักร 2518, 285) ไท ลื้อกลุ่มพญาคำ และพญาธนะนี้ ลงมาจากเมืองมาง ในสิบสองปันนา เมื่อสร้างบ้านเรือนในเขตเมืองเชียงม่วนแล้ว ก็ตั้งชื่อว่า บ้านมาง ตามชื่อบ้านเมืองเดิม ส่วนพญาคำได้แยกออกตั้งบ้านเรือน ณ ริมฝั่งยม ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของบ้านมาง ตั้งชื่อว่า บ้านทุ่งมอก ไท ลื้ออีกกลุ่มหนึ่ง จำนวน 22 ครัวเรือน ประมาณ 100 คนเศษ จากเมืองพง สิบสองปันนาเช่นกัน ซึ่งมีพ่อเฒ่าแสนมังคละ เดินทางลงมาสร้างหมู่บ้านในบริเวณทุ่งใกล้ริมฝั่งน้ำปี้ ที่เรียกกันว่า ทุ่งล้า – ทุ่งลอ และตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า บ้านแพทย์ ตามหมู่บ้านเดิมในเมืองพง เมื่อพ่อเฒ่ามังคละ ถึงแก่กรรม พ่อเฒ่าแก้วกาบคำ ได้สืบตำแหน่งแทน พ่อเฒ่าอุทัย อุ่นตาล แห่งบ้านทุ่งหนอง ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน ให้ข้อมูลว่า ไทลื้อกลุ่มพ่อเฒ่าแสน เป็นกลุ่มแรกที่มาสร้างบ้านเรือนในเมืองเชียงม่วน ซึ่งพ่อเฒ่าได้บันทึกเป็นเอกสารไว้ ตามคำบอกเล่าของคนรุ่นเก่า หมู่ บ้านไทลื้อเมืองเชียงม่วน ตั้งหมู่บ้านริมแม่น้ำปี้ และแม่น้ำยม นับตั้งแต่บ้านหลวง (บริเวณที่ว่าการอำเภอเชียงม่วน ปัจจุบันเป็นบ้านหลวง) บ้านร่องอ้อ (หนองอ้อ) บ้านแพทย์ บ้านน้ำล้อม(ริมฝั่งยมใกล้บ้านหนองหมูปัจจุบัน) บ้านห้วยทราย(บ้านแขนเหนือ) บ้านทุ่งมอก บ้านบ่อตอง บ้านหนอง(ทุ่งหนองเก่า) บ้านท่าฟ้า ส่วนบ้านปงสนุก น่าจะเป็นหมู่บ้านของแพทย์ คนรุ่นแรกน่าจะมาจากเมืองปง(พง) ในสิบสองปันนา เมื่อมาตั้งถิ่นฐานลุ่มน้ำปี้แล้ว ได้รับความสะดวกสบาย ปลูกผักทำการเกษตรได้ผลสมบูรณ์ดีไม่ต้องเดือดร้อนชาวจีน จึงเติมว่า “สนุก” ต่อท้ายภายหลัง คำ ว่า “ทุ่งล้า – ทุ่งลอ” ที่พ่อเฒ่าแสนมังคละนำชาวไทลื้อ มาจั้งหลักแหล่งเป็นกลุ่ม ตามบันทึกของพ่อเฒ่าอุทัย อุ่นตาล น่าจะเป็นบริเวณที่ราบตั้งแต่ดอยหลวง ดอยแก้ว ดอยกลุ่ม จนถึงฝั่งยม บริเวณบ้านทุ่งหนอง สถานที่ตั้งโบราณสถานคูเมือง ซึ่งน่าจะเชื่อได้ว่าเป็นที่ตั้งเมืองเชียงม่วนเก่า บริเวณทุ่งที่ว่านี้ มีลำน้ำแม่ปี้ไหลมาบรรจบกับแม่น้ำยมนี้เรียกว่า “สบปี้” ยื่นเป็นแหลม(triangle) มีร่องรอยของชุมชนโบราณ ชาวบ้านเคยขุดพบถ้วยชามดินเผาในบริเวณกว้าง บ้านน้ำล้อมน่าจะตั้งอยู่บริเวณนี้ ต่อมาถูกน้ำท่วมบ่อยเนื่องจากอยู่ใกล้ฝั่งยม ฝั่งปี้ จึงย้ายหนีในที่สุด ทุ่งล้า – ทุ่งลอ ถูกลำน้ำและเทือกเขาขนาบไว้ การขยายพื้นที่ไป ทำได้ยาก ชุมชนในยุคแรกขาดอุปกรณ์การเกษตรที่มีสมรรถภาพสูง การขยายและปรับปรุงพื้นที่ก็มีปัญหาจึงต้องทำนาทำไร่ริมฝั่งน้ำเป็นหลัก ถ้าปีใดน้ำท่วมสูง พืชผักเสียหาย บ้านเรือน ที่อยู่อาศัยจึงกระทบกระเทือนไปด้วย หมู่บ้านต้นซางจึงย้ายไปอยู่หมู่บ้านไชยสถาน ซึ่งสมัยหนึ่งเคยเรียกว่า บ้านสันกุหลาบ ประชาชน ไทลื้อเชียงม่วน คงขยายอย่างรวดเร็ว ด้วยสาเหตุจากการขยายเผ่าพันธุ์ภายในของประชาชนนอกพื้นที่อพยพมาสมทบ เช่น จากเขตอำเภอเทิงและจากเมืองน่าน หลักฐานทางสถาปัตยกรรม เช่น วิหารวัดทุ่งมอกหลังเก่า วัดบ้านมาง วัดบ้านหลวง แสดงให้เห็นว่าชาวไทลื้อต้องมีจำนวนมากและเข้มแข็งพอที่จะสร้างศาสนสถานเช่น นี้ได้ เมื่อ ประชากรไทลื้อ เพิ่มมากขึ้น ที่ทำกินมีจำกัดและประสบอุทกภัยบ่อยครั้ง ความเป็นอยู่ไม่สมบูรณ์ตามเดิม จนมีคำพูดเชิงประชดประชันว่า “เมืองเซี้ยงม่วน” แทนคำว่า “เชียงม่วน” เซี้ยงภาษาเมืองเหนือ หมายความว่า หมดสิ้นแล้ว ประกอบกับขณะนั้น มีชาวไทลื้อจำนวนหนึ่งในสิบสองปันนา โยกย้ายถิ่นฐานมาอาศัยในเขตเมืองเชียงคำ เช่น กลุ่มพญาโพธิสัตว์(พญานายฮ้อย) จากเมืองหย่วน มาสร้างบ้านหย่วน (สันติภาพ ฟูเจริญ อ้างแล้ว) กลุ่มเจ้านางมะทรุดจากเมืองโลง เพราะได้ข่าวว่า “เมิงไท ดิ๋นด๋ำ น้ำจุ่ม” (โรงพยาบาลเชียงคำ : เอกสารแผ่นปลิว) พญา คำและ พญาธนะ ได้นำไทลื้อจำนวนหนึ่ง ไปอยู่เมืองเชียงคำ สร้างหมู่บ้านใหม่ชื่อ “บ้านมาง” ตามชื่อบ้านมาง แห่งเมืองเชียงม่วนแล้ว เพราะ”วัดทุ่งมอก” ในบัดนี้ตามประวัติบอกเล่า (มุขะปาฐะ) ยืนยันว่า “พญาคำเป็นผู้สร้างวัดทุ่งมอก” พ่อเฒ่าแสนกาบคำ ก็นำไทลื้อจากบ้านแพทย์เมืองเชียงม่วน ไปสร้างบ้านแพดเมืองเชียงคำ การเขียนชื่อหมู่บ้านสับสนต่างกัน เป็นเพราะทางเชียงม่วนเขียนเป็นภาษาไทยปัจจุบัน แต่เสียงยังพ้องกัน สามารถสืบต่อความหมายกันได้ พ่อ เฒ่าอุทัย อุ่นตาล แห่งบ้านทุ่งหนอง เมืองเชียงม่วน ได้ทำบัญชีหมู่บ้านไทลื้อที่อพยพไปอยู่ที่เมืองเทิง(อำเภอเทอง จังหวัดเชียงราย) และเมืองเชียงคำ ต่อ มา พื้นที่อำเภอเชียงม่วนไม่สมบูรณ์ การประกอบอาชีพฝืดเคือง ชาวไทลื้อจึงขออนุญาตย้ายถิ่น ประมาณปี พ.ศ.2431 ชาวไทลื้อส่วนหนึ่ง ได้อพยพจากอำเภอเชียงม่วนที่อยู่นาน 15 ปี ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเชียงคำ ได้แก่ บ้านหย่วน บ้านธาตุสบแวน บ้านมาง บ้านทุ่งมอก บ้านแพด บ้านเชียงบาน บ้านแวน บ้านแดนเมือง บ้านดอนไชย บ้านหนองลื้อ บ้านทราย บ้านห้วยไฟ บ้านหนองเลา บ้านหล้าไชยพรม บ้านกิ่วชมพู บ้านปางวัว บ้านเชียงคาน บ้านแฮะ บ้านฮวก และบ้านสบบง เป็นต้น จากการศึกษาของ อุทิศ ปฐมของ และรวงทอง สมัคร เกี่ยวกับความสัมพันธ์ไทลื้อ สิบสองปันนา กับไทลื้อ เมืองน่าน ในปี พ.ศ.2443 ได้มีการยุบเมืองปง เมืองควน ซึ่งมีพ่อเมืองปกครอง ขึ้นต่อนครน่าน และมีศูนย์รวมการปกครองที่เมืองเชียงคำ เรียกว่า เขตน่านเหนือ และในปี พ.ศ.2459 เปลี่ยนชื่ออำเภอปง เป็นอำเภอบ้านม่วง และในปี พ.ศ.2486 ได้โอนอำเภอปง ไปขึ้นกับจังหวัดเชียงราย ซึ่งมี 8 ตำบล คือ วันที่ 18 มิถุนายน 2512 ได้มีประกาศยกฐานะพื้นที่เขตตำบลเชียงม่วน ตำบลบ้านมาง ตำบลสระ ขึ้นมาเป็น “กิ่งอำเภอเชียงม่วน” และได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะขึ้นเป็น อำเภอ เชียงม่วน จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2517 ต่อมาในวันที่ 28 สิงหาคม 2520 รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติจัดตั้ง จังหวัดพะเยา พ.ศ.2520 ให้มีเขตการปกครอง 7 อำเภอ คือ อำเภอเมืองพะเยา อำเภอแม่ใจ อำเภอดอกคำใต้ อำเภอจุน อำเภอเชียงคำ อำเภอปง และอำเภอเชียงม่วน เดิมที บริเวณของบ้านหลวง เป็นต้นกำเนิดของตำบลเชียงม่วนในปัจจุบัน มีผู้นำหมู่บ้านคือ พ่ออุ้ยคำแสน ซึ่งมาจากเมืองไตรหลวง แคว้นสิบสองปันนา ได้เดินทางพร้อมครอบครัว และเพื่อนบ้านมาตั้งรกรากในปัจจุบัน จึงตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านหลวง” สันนิษฐานว่า กลุ่มที่มาอยู่คงจะนำชื่อถิ่นฐานเดิมมาใช้คือ เมืองไตรหลวง เหลือคำว่า “หลวง” นั่นเอง ตอมา มีพ่ออุ้ยแสน ธนะวงค์ ซึ่งเป็นลูกเขยของพ่ออุ้ยคำแสน คนต่อมา พ่ออุ้ยเมืองก้อน และต่อมา พ่ออุ้ยจันตา (ต้นตระกูลจันตา) ปกครองบ้านเมืองต่อมา |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |