|
|||||
โดย..ท.ทิวเทือกเขา | |||||
![]() เดิมทีตั้งอยู่ที่บ้านคุ้ม ภายหลังมีการสร้างอ่างเก็บน้ำห้วยสาตรงบริเวณ ที่บรรจุอัฐิท่านพอดีชาวบ้านจึงได้ทำการย้ายมาอยู่ตรงบริเวณขอบอ่างแทน |
|||||
ตาม ตำนานเรื่องเล่าตรงนี้ ผู้เรียบเรียงเคยได้ฟังตำนานหรือเรื่องเล่าปรัมปรา จากบรรดาครูบาอาจารย์ พระเถรานุเถระ พ่อหน้อยพ่อหนาน พ่ออุ้ยแม่อุ้ยเล่าได้ให้ฟังอยู่เสมอ จะลองนำมาเรียบเรียงเป็นตัวอักษรให้ท่านผู้อ่าน ได้ช่วยกันสืบทอด เล่าให้ลูกหลานของท่านฟัง ข้อมูลอาจจะคลาดเคลื่อนจากหลายๆที่หลายๆคนที่ได้ฟังมาบ้าง ก็อย่าถือสาว่าความกันนะครับ เพราะพวกเราก็ต่าง ไม่มีใครได้อยู่ในเหตุการณ์จริง ก็ได้ฟังเล่าสืบต่อกันมา บางแห่งบางที่ ก็มีการเสริมเติมแต่งเพื่อให้น่าฟังหรือน่าติดตามยิ่งขึ้น แต่ก็คงมีเค้าโครงเรื่องจริงอยู่บ้างไม่มากก็น้อย หรืออาจจะเป็นแค่เรื่องเล่าแค่นั้นเอง แต่ผู้เขียนคิดว่า หลายท่านที่ได้อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา คงจะเคยได้ยินเรื่องเล่า ที่ผมจะนำมาเล่าต่อ ดังนี้ (จากตำนานตรงนี้ ภายหลังผู้เรียบเรียง ได้สืบหาเรื่องราว ถามครูบาอาจารย์หลายท่าน โดยได้ศึกษาตาม ปีพุทธศักราช จนได้พบความจริง และได้ความรู้เพิ่มเติมมากมาย ทำให้ทราบว่า ในสมัยหนึ่ง พระยาคำแดง พระราชโอรสของพ่อขุนงำเมือง แห่งอาณาจักรภูกามยาว หรือ พะเยา เคยนำทัพม้าศึกจำนวน 500 ตัวมาปราบพวกแกวยวน ณ พื้นที่แห่งนี้ ได้ศึกษาสืบทอดจากวงศ์ตระกูล ทำให้ทราบที่มาของสามตระกูล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องราวตำนานที่จะได้เล่าต่อไปนี้ ในครั้งก่อน พวกท่านเหล่านั้นไม่ยอมเปิดเผย อาจเนื่องกลัวมีผลกระทบต่อที่มาของวงศ์ตระกูล แต่เพื่อเป็นประโยชน์แด่คนรุ่นหลัง ข้อมูลเหล่านั้นจึงได้ทะยอยออกมา จากการศึกษาจากคนสามตระกูลที่ได้สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ทำให้เราได้ทราบเรื่องราว ถึงแม้อาจจะไม่ครบถ้วน แต่ก็เป็นเค้าโครงเรื่องให้เชื่อมโยงกัน เมื่อได้เอามาเทียบเคียงกับประวัติศาสตร์ที่ไล่เรียงมาแต่ละพุทธศักราช ทำให้เรื่องเล่าหรือตำนานตรงนี้ มีเค้าความจริงมากยิ่งขึ้น อาจจะถือได้ว่า เป็นเรื่องเล่าที่อิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ได้ด้วย ในตอนท้ายเรื่องนี้ ผู้เรียบเรียงจะได้อ้างแหล่งที่มาแห่งเรื่องราวทั้งหมด หากท่านสนใจอ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ ขอให้ท่านคลิ๊กอ่านที่ภาพ สถูปบรรจุอัฐิครูบาปัญญา (ครูบาดวงงาม ได้เลยครับ) เรา มาเรียบเรียงเรื่องราวตำนานอิงประวัติศาสตร์ เรื่องครูบาคอขาด หรือ ทางบ้านเราจะเรียกว่าตุ๊เจ้าคอ ซึ่งก็คือ เรื่องราวของการประหารชีวิต พระสงฆ์และอุบาสิกา ที่ถูกใส่ความว่า มีสานสัมพันธ์เชิงชู้สาวกัน จนเป็นเหตุแห่งเรื่องราวที่จะได้กล่าวต่อไปนี้ ใน อดีตกาลนานมา แล้ว มีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า เมืองคุ้ม (ปัจจุบันเชื่อกันว่า บริเวณที่ตั้งของเมืองดังกล่าว เป็นที่ตั้งของวัดคุ้ม ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา) มีเจ้าพระยาครองเมืองอยู่พระองค์หนึ่ง ในสมัยก่อนเขาเรียกว่า เจ้าเมืองคุ้ม มีพระมเหสีผู้เป็นที่รักอยู่พระองค์หนึ่ง พระนางเป็นผู้ที่มีสิริโฉมงามยิ่งนัก นอกจากนั้นแล้ว พระนางยังมีจิตใจเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างแรงกล้า พระนางได้รักษาศีล ให้ทาน ทำบุญอยู่มิได้ขาด อีกทั้ง พระนางได้ให้ความเคารพนับถือศรัทธาในพระเถระรูปหนึ่ง พระเถระรูปนี้ ถือได้ว่า เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่รักษาพระวินัย รักษาศีลอย่างเคร่งครัด เป็นพระประพฤติปฏิบัติชอบ เป็นที่เคารพศรัทธาของบรรดาเจ้าเมืองในละแวกนั้น รวมไปถึงบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วไป รวมไปถึง เจ้าเมืองคุ้ม ก็ให้ความเคารพนับถือศรัทธาเป็นอย่างมากด้วยเช่นกัน โดยพระภิกษุรูปนี้ ได้รับการยอมรับ เปรียบเสมือนเป็นพระอาจารย์สอนวิชาแก่เจ้าเมืองคุ้มด้วย พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยพระองค์เองอย่างไม่เคยขาดตกบกพร่อง แม้ในยามที่พระองค์ออกเสด็จว่าราชการต่างเมือง พระองค์ก็ยังได้รับสั่งให้นางสนมกำนัน หรือเหล่าบรรดาข้าราชบริพาร คอยรับส่งและถวายภัตตาหาร ทำบุญอยู่เป็นนิจมิเคยขาด ท่านพระ มหาเถระรูปนี้ ได้คอยให้คำปรึกษาราชการ พร้อมทั้งได้แนะนำหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา แก่เจ้าเมืองคุ้ม และสอนให้เจ้าเมืองได้ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่เป็นเนืองๆเรื่อยมา เหตุการณ์เหล่านี้ ได้ดำเนินไปเป็นปกติอยู่เป็นเวลาหลายปี จวบจนกระทั่งวันหนึ่ง เจ้าเมืองคุ้ม ได้เสด็จไปว่าราชการต่างเมือง ก่อนเสด็จไป พระองค์ได้ทรงรับสั่งกับพระมเหสีผู้เป็นที่รักว่า ขอให้พระนางช่วยเป็นธุระ คอยดูแลจัดแจงกิจเกี่ยวกับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาแทนพระองค์ด้วย พระมเหสีท่านนี้ ก็ได้รับคำว่า จะทำหน้าที่นี้ให้ดีที่สุด ประกอบกับพระนาง ก็เป็นผู้มีจิตใจเคารพศรัทธาในพระพุทธศาสนา อีกทั้ง ก็ยังได้ศรัทธาพระมหาเถระ ผู้เป็นพระอาจารย์อยู่แล้ว แต่ ด้วยความที่พระนางเป็นหญิงที่มีพระสิริโฉมงดงามดั่งพระจันทร์ในคืนเดือนเพ็ญ เป็นที่รักของเจ้าเมืองคุ้มยิ่งนัก อีกทั้งขณะนั้น ในเมืองคุ้ม ก็มีบรรดาเหล่านางสนมกำนัน ที่ตั้งตัวกันเป็นก๊กเป็นเหล่า แย่งความเป็นใหญ่ อยากจะได้รับพระราชทานรางวัล หรือ เลื่อนขั้นเลื่อนชั้นของตนเอง ให้มียศตำแหน่งสูงๆขึ้นไป ก็เกิดมีความอิจฉาริษยาต่อพระมเหสีของเจ้าเมืองคุ้ม ที่มีตำแหน่งบารมีและยศที่สูงกว่าตน จึงได้สมรู้ร่วมคิดคบหากันกับบรรดาเสนาอำมาตย์และเหล่าทหารที่คอยรับใช้ คอยยุแยงตะแคงรั่ว ใส่ร้ายป้ายสี สร้างเรื่องราวให้เกิดขึ้น และร่วมกันวางแผน ที่จะทำลายชื่อเสียงของพระมเหสีอันเป็นที่รักของเจ้าเมืองคุ้มนั้น โดยที่พระมเหสีพระองค์นี้ ก็ไม่ได้คิดหรือระวังภัยที่จะเกิดขึ้นกับตนเองในอนาคตได้ เมื่อ เจ้าเมืองคุ้ม ได้เสด็จออกไปว่าราชการยังต่างเมือง พระนางก็ได้รับหน้าที่นำภัตตาหารเช้า ภัตตาหารเพล ไปถวายพระมหาเถระ อยู่เป็นประจำทุกวัน พร้อมได้สดับรับฟังพระธรรมเทศนา จากพระมหาเถระ เมื่อถึงวันพระ ก็ได้นุ่งขาวห่มขาว ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติปฎิบัติธรรมรักษาศีลอุโบสถ อาศัยอยู่ที่วัด นั่งสมาธิ อยู่มิได้ขาด พระนางปฏิบัติอยู่อย่างนี้เป็นกิจวัตร มีอยู่วันหนึ่งซึ่งเป็นวันพระใหญ่ พระมหาเถระรูปนี้ โดยปกติท่านจะฉันหมากพลูอยู่เป็นนิตย์ แต่บังเอิญวันนั้น ปูนขาวหมด ก็เลยใช้ให้ลูกศิษย์ซึ่งเป็นสามเณร ไปขอปูนขาวจากแม่ออกศรัทธาอันเป็นพระมเหสีของเจ้าเมือง แต่เป็นธรรมเนียมของคนโบราณแล้วว่า จะไม่ยอมควักปูน หรืออะไรก็ตามออกจากที่เก็บ เช่น ปูนขาว ข้าวในเล้า เพราะถือว่าเป็นวันพระ เป็นวันแรง ดังนั้น พระมเหสี จึงได้เอาปูนขาวของตนเองส่งให้สามเณรไป และบอกว่า เอาของแม่ออกไปก่อน ส่วนของพระมหาเถระ เดียวพรุ่งนี้จะเอาปูนขาวใส่ให้เต็มแล้วนำไปถวายท่านใหม่ สามเณรก็ได้นำถ้วยปูนขาวของพระมเหสีไปถวายพระมหาเถระ แต่บังเอิญว่า ท่านเจ้าเมืองคุ้ม ได้เสด็จกลับมาจากการว่าราชการต่างเมืองมาพอดี ก็ได้แวะเข้ามากราบพระมหาเถระ และสายพระเนตรก็ได้เหลือบไปเห็นถ้วยปูนขาว และจำได้ว่า เป็นของพระมเหสีตน จึงเกิดบันดาลโทสะ คิดว่า ต้องมีอะไรแน่นอน คิดว่าพระมหาเถระแอบเป็นชู้กับมเหสีของตนเอง โดยมีโมหะและโทสะเข้าครอบงำ ไม่ฟังเสียงใดๆทั้งสิ้น เมื่อ เจ้าเมืองคุ้ม ได้นิวัติกลับมายังพระนคร เหล่าบรรดานางสนมกำนัน ที่ได้รับใช้ใต้พระเนตรพระกรรณ ก็พากันใส่ร้ายป้ายสี ทูลเรื่องที่ไม่เป็นความจริงต่อเจ้าเมืองคุ้มต่างๆนานาอีกบ้างก็เท็จทูลว่า ” พระองค์รู้หรือไม่ว่า เมื่อครั้งที่พระองค์ไม่ได้ประทับอยู่ในพระนคร พระมเหสีของพระองค์ทรงคิดนอกใจ บ้างก็ว่า พระนางมีใจให้กับพระมหาเถระ ซึ่งเป็นพระอาจารย์ของพระองค์ ในระหว่างที่พระองค์มิได้ทรงประทับอยู่ในพระนคร พระนางก็เสด็จไปยังวัดทุกเช้าทุกเย็น บางวันก็ไปนอนที่วัด เสด็จไปตอนเย็น ไปนอนค้างพักแรมที่วัด กลับก็ตอนเช้ามืด แล้วก็เปลี่ยนสวมชุดใหม่มาตลอด บางครั้งบางที ก็นำเสี้ยนหมากพลู ปูนขาว ไปถวายเป็นการเอาอกเอาใจในพระมหาเถระ บางครั้งก็ทรงประกอบอาหารอย่างประณีตไปให้กับพระมหาเถระองค์นั้น นางสนมกำนันเหล่านั้น บางคนก็เสริมเติมแต่งเรื่องราวให้ดูน่าเชื่อถือขึ้นอีก บางก็เท็จทูลว่า พระองค์ไม่เชื่อใช่ไหม พระองค์ก็ลองสังเกตผิวพรรณของพระมเหสีดูสิ ผิวพรรณของพระมเหสีของพระองค์ ดูเปล่งปลั่งมีน้ำมีนวลแม้ในขณะที่พระองค์ไม่อยู่ ซึ่งผิวพรรณดังกล่าวของพระมเหสี เกิดจากการรักษาศีล ประพฤติปฏิบัติธรรม ไม่บริโภคเนื้อสัตว์ ทานแต่อาหารมังสวิรัติ ทำให้ผิวพรรณดูผ่องใสเป็นยองใย และก็ได้ใส่ไฟใส่ร้ายป้ายสีหลายๆอย่าง จนทำให้เจ้าเมืองคุ้มเกิดความระแวงสงสัย ประกอบกับพระองค์เป็นคนโทสะจิต ถูกความลุ่มหลงงมงายเข้าครอบงำ อันเกิดจากความรักความหึงหวงในตัวของพระมเหสีผู้เป็นที่รักของพระองค์ พระองค์ไม่ได้ฟังเสียงอื่นใด ไม่มีการสอบสวนหรือฟังเหตุผลอื่นใด พระองค์มีแต่ความโกรธเข้าครอบงำ ได้สั่งให้เหล่าทหารของพระองค์ไปจับกุมพระมหาเถระดังกล่าวมาเพื่อที่จะทำการ ลงโทษด้วยการประหารชีวิตเสีย
ฝ่าย พระมหาเถระ ผู้ประพฤติปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ รักษาศีล และพระวินัยอย่างเคร่งครัด ที่ไม่ได้รู้เรื่องราวอะไรด้วยเลย อันเป็นเหตุแห่งการอิจฉาริษยากันเองของบรรดาเหล่าสนมกำนัน ท่านพระมหาเถระรูปนี้ ก็รู้ด้วยวาระแห่งจิต และอาจจะเป็นผลกรรมชาติใดชาติหนึ่ง จึงยอมให้ทหารจับกุมเสียแต่โดยดี แม้จะปฏิเสธกับเจ้าเมืองคุ้มอย่างใด ด้วยโทสะจริต โมหะจริต เข้าครอบงำจิตใจของเจ้าเมืองพระองค์นี้เข้าเสียแล้ว แม้จะมีเหตุผลประการใดๆมาแก้ต่าง ก็คงไม่เป็นผลอันใด เจ้าเมืองได้สั่งให้ทหารนำพระมหาเถระองค์นี้ ไปทำการประหารที่ลานประหาร ณ ทิศตะวันตกของเมือง (ปัจจุบันที่บริเวณแห่งนี้ก็ยังมีอยู่ให้เห็น โดยชาวบ้านได้เรียกบริเวณแห่งนี้ว่า “รอมสรี” หรือที่มีต้นศรีมหาโพธิ์ อยู่ตรงบริเวณกลางทุ่งนาบริเวณระหว่างบ้านหนองร่มเย็น ต.ร่มเย็น กับบ้านดอนลาว ต.เจดีย์คำ อ.เชียงคำ จ.พะเยา) เมื่อ บรรดาเหล่าทหารเพชรฆาต ได้นำพระมหาเถระดังกล่าวมายังรอมสรี ได้มัดมือของพระมหาเถระ ประดับดอกบัวไว้ที่พุ่มมือ เอาผ้าปิดตา และผูกโยงไว้กับเสาหลักประหาร และได้ทำพิธีคล้ายกับการประหารนักโทษทั่วไปในสมัยนั้น แต่ก่อนที่จะได้ทำการประหารนั้น พระมหาเถระรูปนี้ ได้ตั้งจิตอธิษฐานก่อนที่เพชรฆาตจะลงมือ โดยได้เปล่งวาจาออกมาให้ได้ยินทั้งบรรดาเหล่าทหารและชาวบ้านที่เคารพศรัทธา ในตัวพระมหาเถระว่า “ตัวเรานี้ เป็นพุทธบุตรขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เราได้รักษาศีล รักษาพระวินัยอย่างเคร่งครัด ประพฤติปฏิบัติชอบ ทำการอบรมสั่งสอนแนะนำหลักธรรมสอนให้กับพุทธศาสนิกชน เพื่อนำใปเป็นหลักธรรมในการดำเนินชีวิตมาโดยตลอดมิได้ขาด หากแม้นว่า เราได้ทำผิดอย่างที่ท่านได้กล่าวให้โทษแก่เราแล้วไซร้ เมื่อท่านได้ให้เพชรฆาตได้ลงดาบแก่เรา ขอให้โลหิตเลือดของเราจงตกรดลงไปสู้พื้นปฐพี แต่หากแม้นว่า เรามิได้กระทำผิดดั่งที่ท่านกล่าวให้โทษเราแล้วไซร้ ขอให้เลือดของเราอย่าได้ตกลงสู่พื้นปฐพี จงล่องลอยขึ้นสู่นภากาศ อย่าให้ได้เปื้อนเป็นมลทินแก่พื้นปฐพีเลย นับต่อแต่นี้ไป หากเราได้ทำการมรณภาพสิ้นชีวิตไป หากเจ้าเมือง หรือผู้ปกครองผู้ใด ทำการปกครองบ้านเมืองแห่งนี้ (หมายถึงเมืองพุทธรสหรือเมืองชะราว) โดยไม่ตั้งอยู่ในครรลองครองธรรม ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 ไม่บริหารราชการแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม มีแต่อคติความลำเอียง ขอให้ผู้ปกครองท่านนั้น อย่าได้มีความสุข อยู่ในตำแหน่งได้ไม่นานและมีอันเป็นไปทุกคน” ชาวบ้าน และบรรดาพุทธศาสนิกชนเหล่านั้น ต่างก็พากันได้ยินคำตั้งจิตอธิษฐานของพระมหาเถระดังกล่าวทุกคน แต่ก็ไม่มีผู้ใดสามารถกล้าหาญคัดค้าน หรือทูลขออภัยโทษของพระมหาเถระได้ เนื่องจากพากันเกรงกลัวพระราชอาญา ดังที่ว่า “กษัตริย์ตรัสแล้วมิคืนคำ” เมื่อ พระมหาเถระกล่าวคำตั้งจิตอธิษฐานจบ บรรดาเหล่าทหารเพชรฆาตผู้ทำหน้าที่ ก็ได้ทำพิธีขอขมาลาโทษต่อพระมหาเถระ เจ้าหน้าที่พิธีก็ได้บรรเลงกลองปี่พาทย์ เพชรฆาตได้ร่ายรำ เมื่อถึงกำหนดเวลา ก็ได้ลงดาบประหารพระมหาเถระดังกล่าว แต่เหตุการณ์ยังไม่จบลงแค่นั้น เมื่อเพชรฆาตได้ลงดาบจนคอพระมหาเถระขาด ก็เกิดเหตุการณ์ดั่งที่พระมหาเถระได้ตั้งจิตอธิษฐานไว้ เกิดลมพายุ ฟ้าร้อง มืดฟ้ามัวดิน เลือดโลหิตของพระมหาเถระ แม้จะโดนดาบที่คมกริบของเพชรฆาต กลับไม่ไหลลงมาเปื้อนพื้นปฐพีแม้แต่หยดเดียว แต่กลับล่องลอยขึ้นสู่นภากาศกระเด็นไปไกลถึงป่าแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ตรงข้ามกับ รอมสรี ที่ปัจจุบันชาวบ้านทั่วไปได้เรียกว่า “ดงป่าแดง” โลหิตเลือดของพระมหาเถระได้ไปเกาะติดกับใบไม้ โดยไม่ล่วงลงสู่พื้นดิน และที่น่าอัศจรรย์ที่มีมาให้เห็นจวบจนกระทั่งปัจจุบัน ที่ไม่มีใครพิสูจน์ได้ว่าเป็นเพราะอะไร ป่าไม้บริเวณแห่งนี้ ทุกต้นล้วนแต่มีใบสีแดง จนชาวบ้านพากันขนานนามว่า ป่าไม้ดงแดง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านพากันเคารพนับถือเป็นอย่างมาก เมื่อ ทำการประหารเสร็จแล้ว บรรดาเหล่าทหารเจ้าพิธี ก็ได้นำร่างอันไร้วิญญานของพระมหาเถระ ได้ทำพิธีตามอย่างราชประเพณี และได้สร้างสถูปเก็บอัฐิของครูบาไว้ ที่บริเวณอ่างเก็บน้ำห้วยสาในปัจจุบัน ทุกเทศกาลวันสำคัญก็จะมีชาวบ้านมาทำการสักการะบูชาอยู่เป็นเนืองนิจ เช่น การตานขันข้าวร้อยขัน เป็นต้น
ส่วน ตำนานเปื้อยเปียง ก็ได้เล่าต่อว่า พระมเหสีพระองค์นี้ ก็ถูกแห่ไปประจานรอบเมือง ก่อนถูกนำตัวไปประหารที่ดงไม้บ้านเปื๋อยเปียง ก่อนที่เพชรฆาตจะได้ลงดาบ พระนางได้ตั้งสัจจะอธิษฐานถึงความบริสุทธิ์ใจในสิ่งที่พระนางได้ประพฤติ ปฏิบัติ ตั้งสัจจะอธิษฐานว่า หากนางไม่มีความผิด ขอให้ต้นไม้บริเวณนี้ จงเจริญเติบโตแต่มีความสูงเท่ากัน และเป็นเหตุให้อัศจรรย์ใจ ดังที่เราได้เห็นว่า ต้นเปื้อยที่บ้านเปื๋อยเปียงมีความสูงพอๆกันหมดทุกต้นอย่างน่าอัศจรรย์ใจ จึงเป็นที่มาหรือชื่อของหมู่บ้านแห่งนี้ในกาลต่อมา
กล่าว ถึงฝ่ายเจ้าเมือง หลังจากพระองค์ได้สั่งประหารครูบาปัญญา (ครูบาเจ้าดวงงาม) และพระมเหสีของตนเองแล้ว เมื่อพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นสิ่งอัศจรรย์ใจ ที่ได้เกิดขึ้นกับพระมหาเถระและพระมเหสีของพระองค์แล้ว เจ้าเมืองพระองค์นี้ ก็รู้สำนึกถึงความผิดอย่างมหันต์ ที่พระองค์ทรงฟังความข้างเดียว มีโทสะจริตและโมหจริตความลุ่มหลงเข้าครอบงำ จะสำนึกผิด ก็ไม่ทันการเสียแล้ว จะทำการใด เพื่อเป็นการไถ่บาป ก็คงไม่สมกับบาปกรรมที่กระทำไว้ (ตรงนี้ ผู้เขียนก็ได้ฟังพ่ออุ้ยแม่อุ้ยเล่า ไม่ค่อยชัดเจนนัก บ้างก็ว่า หลังจากที่เกิดเหตุการณ์อัศจรรย์ดังกล่าวขึ้น เจ้าเมืองก็เกิดสำนึกผิด และตรอมใจตาย บ้างก็ว่า โดนชาวเมืองรุมประชาทัณฑ์บ้าง บ้างก็ว่า พระองค์เกิดสติวิปลาสกลายเป็นคนบ้าไป บ้างก็ว่า พระองค์ยอมสละราชสมบัติแล้วเสด็จออกบวชเป็นฤาษีจวบจนสิ้นอายุขัย หากใครมีข้อมูลที่พอจะเป็นสิ่งที่สอดคล้องและน่าเชื่อถือได้ ก็นำมาแบ่งกันให้รับรู้บ้างนะครับ จักขอบพระคุณยิ่ง) ตาม ตำนานพ่อ อุ้ยแม่อุ้ยยังได้เล่าให้ฟังอีกว่า หลังจากที่เจ้าเมืองได้ตายไปแล้ว ก็ได้ไปตกนรกอเวจีอยู่นานและได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ เพื่อชดใช้กรรมอีกหลายๆชาติ และในการเกิดมาแต่ละครั้ง ก็จะเกิดเป็นคนบ้าใบ้สติไม่ค่อยสมประกอบ เคยมีคนเชื่อในเรื่องของคนประเภทนี้อยู่หลายท่าน แต่ผู้เขียนไม่กล้าเอามานำเสนอ กลัวจะกระทบต่อญาติพี่น้องของเขา เอาเป็นว่า ถ้าผู้คนที่อยู่ในย่านตำบลร่มเย็น ตำบลเจดีย์คำ น่าจะเคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวที่ผมได้นำมาเรียบเรียงประติดประต่อให้เข้าใจ ได้ง่ายขึ้น ก็น่าจะพอจับใจความและโยงใยเนื้อเรื่องให้เข้ากันได้กับที่เคยได้ยินได้ฟัง พ่อแม่ปู่ย่าตายาย พ่ออุ้ยแม่อุ้ยเล่าให้ฟังได้นะครับ กล่าว กันว่า ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หากยามใดที่มีผู้ปกครอง หรือเจ้าหน้าที่บ้านเมือง ที่มีตำแหน่งปกครองเมืองแห่งนี้ มารับหน้าที่ทำการปกครอง ไม่ตั้งอยู่ในครรลองครองธรรม ไม่ซื่อสัตย์สุจริต ไม่ประกอบด้วยพรหมวิหาร 4 ไม่บริหารราชการแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม มีแต่อคติความลำเอียง ผู้ปกครองท่านนั้น ก็จะอยู่ในตำแหน่งได้ไม่นาน และมีอันเป็นไปทุกรายไป บ้านเมืองก็จะเกิดภัยพิบัติต่างๆมากมาย ทั้งข้าวยากหมากแพง ฝนแล้ง เกิดโรคระบาด เหมือนเป็นคำสาปที่อยู่คู่กับเมืองแห่งนี้มาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ *หมาย เหตุ บทความที่ท่านได้อ่านข้างบนนี้ เป็นเพียงเรื่องราวที่ผู้เรียบเรียบ เคยได้ยินได้ฟัง จากบรรดาครูบาอาจารย์ พระเถรานุเถระ พ่อหน้อยพ่อหนาน พ่ออุ้ยแม่อุ้ยเล่าให้ฟัง ซึ่งหลังจากฟังเรื่องราวจากหลายๆท่านแล้ว ทำให้เกิดความรู้สึกว่า มีความคล้ายๆกันในทุกสังคม ที่จะมีเรื่องเล่าหรือตำนานที่มีคติธรรมแฝงด้วยปรัชญาข้อคิดที่ดี ทำให้สันนิษฐานว่า คงเป็นเรื่องเล่าที่มีเค้าความจริงอยู่บ้าง และได้เล่าสืบต่อกันมาจวบจนรุ่นลูกรุ่นหลาน ทำให้ผู้เรียบเรียงได้รับรู้เรื่องราววิถีชีวิตประเพณีวัฒนธรรมในอดีตของ เมืองเชียงคำของเราเพิ่มมากยิ่งขึ้น หากข้อความส่วนใดที่เกิดจากการเรียบเรียงของข้าพเจ้า เกิดความขาดตกบกพร่อง มีข้อผิดพลาด เนื้อหาคลาดเคลื่อนไป ขอได้โปรดยกโทษให้อภัยแก่ข้าพเจ้าด้วย เนื่องด้วยสติปัญญาที่มีอยู่เพียงน้อยนิด แต่ด้วยความคิด สำนึกรักในบ้านเกิดเมืองนอน หวงแหนในทุกสิ่งที่ควรคุณค่าแก่การศึกษาและช่วยกันอนุรักษ์ไว้ให้ลูกหลานของ เราสืบต่อไปเบื้องหน้า ให้ได้เรียนรู้วิถีความเป็นมาของสังคมในแต่ละยุคสมัย เพราะคุณค่าเหล่านี้ประมาณค่ามิได้เลย หากข้อความเนื้อหาตอนใดมีประโยชน์แล้วไซร้ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาบุญ ขอบุญกุศลจงบังเกิดผู้มีพระคุณของข้าพเจ้า ขอให้ท่านจงมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง อยู่เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรให้ข้าพจ้าตราบนานเท่านานด้วยเทอญ. * ภายหลังผู้เขียนได้ติดตามสืบเรื่องราว โดยการได้พูดคุยกับผู้ที่สืบทอดตระกูลเจ้าเมืองเชียงคำของเรามา และได้ศึกษาทางประวัติศาสตร์พงศาวดาร ทำให้เรื่องราวค่อยประติดประต่อ และเชื่อมโยงกันได้อย่างลงตัว และเชื่อได้ว่า ตำนานนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นมาอย่างลอยๆ จากการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ทำให้ได้เรียนรู้เรื่องราวอะไรอีกหลายอย่าง ท่านสามารถอ่านและติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับตำนานนี้ผ่านทาง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ คลิ๊กที่นี่ได้เลยครับ |
|||||
ท.ทิวเทือกเขา |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |