กระทรวง มหาดไทย ได้ประกาศตั้งตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2515 โดยให้มีเขตการปกครอง รวม 11 หมู่บ้าน คือ
มีอาณาเขตดังนี้ (ข้อมูลเดิม ก่อนการตั้งเป็นตำบลร่มเย็น)
ประวัติความเป็นมา : (ปัจจุบัน แก้ไขข้อมูลแล้ว พ.ศ. 2556) ตำบลร่มเย็นเป็นตำบลที่มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ เป็นตำบลขนาดใหญ่มี 22 หมู่บ้าน ประชากรอยู่กันหนาแน่น มีประชากรหลายเผ่าพันธุ์ เช่น ชาวเขาเผ่าม้ง ชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) ชาวไทยอีสาน ชาวไทยเหนือ ชาวไทลื้อ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบเชิงเขา เหมาะกับการทำการเกษตรกรรม นอกจากนั้นยังได้มีโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ บ้านหนองห้า ยังได้มีพี่น้องชนชาติพันธุ์ เมี่ยน (เย้า) ปกากะญอ (กะเหรี่ยง) อาข่า, มูเซอ อีกด้วย ติดตามอ่านเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่เลยครับ สภาพทั่วไปของตำบล : พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และมีพื้นที่ราบสำหรับทำการเกษตร มีแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญคือ วัดพระธาตุดอยคำ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่บนภูเขา และมีถ้ำผาแดงซึ่งเป็นถ้ำหินปูน กว้างประมาณ 10 เมตร ลึกประมาณ 500 เมตร นอกจากนั้นแล้ว ยังมีถ้ำน้ำลอด ถ้ำตา ถ้ำยาย และดอยผาขาม ซึ่งมีตำนานให้น่าติดตามมากมาย คลิ๊กอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับดอยผาขามได้เลยครับ อาณาเขตที่ตั้ง :
จำนวนประชากร : จำนวนประชากรในเขต อบต. 10,767 คน และจำนวนหลังคาเรือน 2,466 หลังคาเรือน ข้อมูลด้านอาชีพ : อาชีพหลัก ทำนา ทำไร่ ข้อมูลสถานที่สำคัญ :
เป็นตำบลที่มีประชากรหลายเผ่าพันธุ์ คือ ชาวเขาเผ่าม้ง เผ่าเย้า ชาวไทยอีสาน ชาวไทยเหนือ ชาวไทยลื้อ เดิมขึ้นอยู่กับตำบลเจดีย์คำ ได้แยกออกมาเป็นตำบลร่มเย็น โดยมีนายตุ้ย อินต๊ะสิน เป็นกำนันคนแรก เมื่อ พ.ศ.2515-2528 ,นายต่วน ใจสุข เมื่อ พ.ศ.2528-2547 และนายเจริญ แจ้งสว่าง เมื่อ พ.ศ.2547-ปัจจุบัน มีประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน ดังนี้
1. บ้านร้อง หมู่ที่ 1 เป็น หมู่บ้านที่ชาวบ้านอพยพมาจากจังหวัดน่าน เดิมชื่อบ้านร่องขมิ้น เพราะเหตุชาวบ้านนิยมปลูกขมิ้นกันมาก หมู่บ้านนี้ตั้งอยู่ที่ราบลุ่มติดสองฝั่งของลำน้ำญวน และมีลักษณะของที่ตั้งของหมู่บ้านเป็นสถานที่ลุ่ม และต่ำกว่าหมู่บ้านอื่นๆ จึงได้ชื่อว่าบ้านร่อง ต่อมาเพี้ยนเป็นบ้านร้อง (ข้อมูลโดยนายมา ชุมภู ผู้ใหญ่บ้าน)
2. บ้านหนอง หมู่ที่ 2 ประมาณ ปี พ.ศ.2080 ถอยหลังไปบริเวณสถานที่ตั้งหมู่บ้านและวัดแห่งนี้เป็น สระหนองอันร่มเย็นกว้างใหญ่ กาลเวลาผ่านมานับปีไม่ถ้วน น้ำในสระหนองดังกล่าวก็เริ่มตื้นเขินไป ปีละเล็กละน้อยในที่สุดก็หมดสภาพความเป็นสระหนองมีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นเต็มไป หมด ได้มีชาวบ้านกลุ่มหนึ่งได้อพยพมาจากอำเภอสา จังหวัดน่าน ตามคำบอกเล่าสืบตามกันมาว่า ประชาชนที่มาอยู่ครั้งแรก จำนวน 7 ครอบครัว มีเจ้าบุญอุ้ม, แม่นายตุ่น, แม่นายเผือ, แม่นายแต่น พร้อมด้วยครอบครัวและญาติพี่น้องรวมเจ็ดครอบครัว เนื่องจากที่จังหวัดน่านมีประชาชนหนาแน่น ที่ทำมาหากินคับแคบ ได้ทราบข่าวว่าที่จังหวัดเชียงรายมีเนื้อที่กว้างขวางโดยตั้งใจจะไปอยู่ที่ อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย พอเดินทางมาถึงสถานที่แห่งนี้เข้าก็เกิดความชอบใจ เพราะมีสถานที่ราบรื่นมีที่ดินและแม่น้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การทำไร่ทำสวนทำ นาหาเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม กาลเวลาผ่านไปก็มีสมาชิกในหมู่บ้านเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ ทุกคนอยากให้มีวัดประจำหมู่บ้านไว้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศล จึงได้ปรึกษากันแล้วก็พากันหาสถานที่อันเหมาะสมแล้วก็ได้ทำการแผ้วถางและทำ การก่อสร้างศาลาบำเพ็ญบุญหนึ่งหลังและกระท่อมสำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของพระ ภิกษุสามเณรอีกหลังหนึ่ง พอสร้างเสร็จแล้วก็ได้ส่งตัวแทนในหมู่บ้านจำนวนหนึ่งไปกราบอาราธนานิมนต์พระ ภิกษุสามเณรที่อำเภอสา จังหวัดน่าน ไม่ทราบว่าเป็นวัดบ้านอะไร ในเมื่อได้นิมนต์พระภิกษุสารเณรเสร็จแล้วก็พากันเดินทางกลับ ไม่มียานพาหนะเหมือนสมัยปัจจุบัน พากันเดินเท้ามีเส้นทางสุดยากลำบากขึ้นเขาลงห้วย ผ่านหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ มือค่ำที่ไหนก็ขอนอนกับชาวเขาชาวดอยเหล่านั้น พอสว่างก็เดินทางต่อ บุญมาวาสนาส่งเป็นอย่างมากในระหว่างการเดินทางมาวันหนึ่งได้พบเห็นป่าบริเวณ ข้างทางนั้นน่าอัศจรรย์มีต้นไม้เขียวชอุ่ม ส่วนบริเวณรอบข้างแห้งแล้งถูกไฟป่าไหม้หมด จึงพากันไปตรวจดูข้างในก็พบซากโบราณวัตถุมีก้อนอิฐเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก จึงช่วยกันขุดคุ้ยดูไม่นานก็พบไหขนาดใหญ่ใบหนึ่ง ก็ได้ทำการเปิดฝาดูก็พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งขนาดสามนิ้วเส้นผ่าศูนย์กลาง มีอักษรจารึกไว้ที่บริเวณใต้ฐานว่าพระพุทธรูปองค์นี้สร้างด้วยนอแรด เมื่อประดิษฐานอยู่แห่งหนใด จักร่มเย็นเป็นสุข จึงได้นิมนต์มาเป็นพระประธาน พอมาถึงแล้วชาวบ้านต่างก็ดีอกดีใจจัดแจงทำบุญถวายศาลากุฏิแด่พระพุทธรูปดัง กล่าว และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านและวัดแห่งนี้ว่า บ้านหนองและวัดหนอง เพราะสถานที่ตั้งในอดีตเป็นสระหนองมาก่อน นับตั้งแต่นั้นมาวัดและหมู่บ้านก็ได้เจริญรุ่งเรืองมาโดยลำดับจนกระทั่งทุก วันนี้ และเมื่อปีพุทธศักราช 2532 ทางกรมการศาสนาได้อนุมัติเพิ่มชื่อวัดให้เป็น วัดหนองร่มเย็น เพื่อให้สอดคล้องกับชื่อตำบล เพื่อความเป็นสิริมงคลอยู่เย็นเป็นสุข (เรียบเรียงจากคำบอกเล่าของปู่ย่าตายาย โดย พระครูขันติวชิรธรรม เจ้าอาวาสวัดหนองร่มเย็น)
ผู้นำหมู่บ้าน :
ผู้นำหมู่บ้าน :
5. บ้านสบสา หมู่ที่ 5 และ หมู่ที่ 18 เดิม ชาวบ้านสบสา อพยพมาจากบ้านศรีสระเกษ ต.สระเกษ อ.สา จ.น่าน อพยพมาตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.2320 อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้าน ซึ่งเรียกกันว่า หมู่บ้านน้ำสา แต่มาอยู่อาศัยไม่นาน ถูกสัตว์ป่ามารบกวน จึงพร้อมใจกันโยกย้ายมาตั้งหมู่บ้านใหม่ตรงที่ลำน้ำสามาบรรจบกับลำน้ำยวน จึงเรียกกันว่าบ้านสบสา ตั้งแต่ปี พ.ศ.2320 จนถึงปัจจุบัน ผู้นำหมู่บ้าน ได้แก่ ผู้นำหมู่บ้าน :
6. บ้านคุ้ม หมู่ที่ 6, บ้านคุ้มเจริญ หมู่ที่ 17 เมื่อ อดีตกาลมาหลายพันปี เมืองเชียงคำแห่งนี้ เดิมมีนามว่า เมืองชะราว ตามปรากฏในประวัติที่พระธาตุดอยคำ และพระเจ้านั่งดิน มีตำนานเล่าขานสืบมานานว่า เมื่อประมาณ 700 ปี ที่ผ่านมา ผู้ครองเมืองแห่งนี้มีพระนามว่า ” พระยาคุ้มแก้ว ” ซึ่งตั้งบ้านเมืองและพระราชวังอยู่ที่ “บ้านคุ้ม ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา” (เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในปัจจุบัน) เจ้ามหาชีวิตเจ้าเมืองน่าน ได้ส่งพระยาคุ้มแก้ว ยกกองทัพจากเมืองน่าน ออกเดินทางมาตั้งกองทัพอยู่ที่บ้านทุ่งทัพ (ปัจจุบันเป็นบ้าน คุ้มเจริญ) สร้างคุ้มที่พักพระยาคุ้มแก้ว ตั้งอยู่ที่วัดคุ้ม ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา พระยาคุ้มแก้วยกกองทัพมาเพื่อโจมตีข้าศึก ซึ่งตั้งบ้านเมืองอยู่ที่บริเวณต้นน้ำสา (ปรากฏหลักฐานคือวัดร้างที่ทุ่งสา ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา) พวกข้าศึกแตกหนี เข้าครองเมืองแทนพร้อมสร้างเมืองและพระราชวังที่บ้านคุ้ม โดยเป็นเมืองขึ้นกับเจ้ามหาชีวิตเจ้าเมืองน่าน และจะส่งส่วยเครื่องบรรณาการเป็นประจำทุกปี การปกครองบ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองมาก เจ้าพระยาผู้ครองเมืองมีศรัทธาความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ไปตามยุคสมัยเรื่อยมาหลายปี บ้านเมือง มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ที่ตั้งบ้านเมืองคับแคบลำบากต่อการป้องกันบ้านเมืองหากเกิดศึกสงคราม จึงได้ย้ายเมืองไปตั้งที่ บ้านเวียง ต.เวียง อ.เชียงคำ จ.พะเยา และต่อมาได้ย้ายเมืองจากบ้านเวียง ไปตั้งเมืองใหม่ที่ บ้านเชียงคำ ซึ่งเป็นอำเภอเชียงคำ ในปัจจุบัน อ่านเรื่องราวที่เกี่ยวข้องคลิ๊กที่นี่เลยครับ
7. บ้านใหม่ร่มเย็น หมู่ที่ 7 บ้านใหม่ร่มเย็น ประชาชนส่วนใหญ่เป็นชาวเขาเผ่าเมี่ยน เดิมเป็นพื้นที่ในเขตปกครองของตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย เกิดเป็นหมู่บ้านจากการรวมตัวของชาวเขาอพยพ จาก 4 กลุ่ม คือ
8. บ้านร่องส้าน หมู่ที่ 8, หมู่ที่ 20 เหตุ เพราะมีลำห้วยส้านไหลผ่านมาจากภูเขา หมู่บ้านแห่งนี้จัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ.2511 เป็นหมู่บ้านจัดสรรโดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีหลายเผ่า เช่น ชาวไทยอีสาน ชาวเขาเผ่าม้ง ชาวไทยพื้นเมือง ชาวไทลื้อ ต่อมาชาวไทลื้อได้ย้ายไปอยู่ที่อื่น ชาวไทยพื้นเมือง แยกเป็นบ้านทุ่งรวงทอง หมู่ที่ 12 เผ่าม้งแยกเป็นบ้านประชาภักดี หมู่ที่ 13 จึงเหลือแต่ชาวไทยอีสานที่ย้ายมาจากหลายจังหวัดในภาคอีสาน ต่อมาปี พ.ศ.2527-2533 บ้านร่องส้านแห้งแล้งมากชาวไทยอีสานบางครอบครัวได้ย้ายกลับถิ่นฐานเดิม และในปี พ.ศ.2537 ได้มีชาวเขาเผ่าม้งย้ายมาจากศูนย์อพยพบ้านแก อ.เชียงคำ และจังหวัดน่าน ปัจจุบันบ้านร่องส้าน จึงมีประชากร 2 กลุ่ม คือกลุ่มอีสานและกลุ่มม้ง (ข้อมูลโดยนายบุญส่ง มนัสสิลา, นายทวีศักดิ์ แซ่ย่าง ผู้ใหญ่บ้าน)
11. บ้านผาแดงบน หมู่ที่ 11 หมู่ บ้านบ้านผาแดงบนก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2470 โดยพญาคำแดง กระทั่งปี พ.ศ. 2511 ย้ายไปอยู่ที่บ้านร่มเย็น ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เนื่องมีการสู้รบกับกลุ่มขบวนการคอมมิวนิสต์ และปีพ.ศ. 2515 ได้ย้ายกลับมาอยู่ที่เดิม จนได้รับการจัดตั้งเป็นหมู่บ้านทางการเมื่อปี พ.ศ. 2536 มีผู้ใหญ่บ้านคนแรกชื่อนายเสงฮิน แซ่เติ๋น ลักษณะหมู่บ้านอยู่บนเขาสูงใกล้แนวตะเข็บชายแดนไทย-ลาว และอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกภูซาง และพื้นที่ต้นน้ำหย่วน ห่างจากตัวอำเภอเชียงคำประมาณ 30 กิโลเมตร เส้นทางคมนาคมไม่ค่อยดีฤดูฝนสัญจรไปมาลำบาก บ้านผาแดงบน ประชาชนเป็นชาติพันธุ์เมี่ยน มีประเพณีความเชื่อแบบดั้งเดิม หมู่บ้านเล็กๆ มีความผูกพันใกล้ชิดกันเหมือนเครือญาติ หมู่บ้านนี้มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้นำหลักในการปกครอง และสามารถปกครองได้อย่างทั่วถึงเนื่องจากเป็นหมู่เล็ก แต่ผู้นำทางด้านจิตวิญญาณจะมีบทบาททางด้านการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ เป็นหลัก (ข้อมูลโดยนายนายสมเจตน์ แซ่จ๋าว ผู้ใหญ่บ้าน)
12. บ้านทุ่งรวงทอง หมู่ที่ 12 เมื่อปี พ.ศ.2483 หลังสงครามอินโดจีนฝรั่งเศสไม่นาน นายทองสุข สงวงศ์ นายอำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ในสมัยนั้น ได้จัดสรรที่ดินผืนนี้ซึ่งเป็นที่ป่าเสื่อมโทรมให้ราษฎรที่อพยพมาจากเมือง คอบ แขวงไชยบุรี หรือแขวงห้วยหัวของ ประเทศลาว เข้ามาอยู่อาศัยประมาณ 80 ครอบครัว แต่ไม่มีน้ำเพียงพอต่อการเกษตร ราษฎรเหล่านั้นจึงอพยพไปอยู่ที่อื่นเกือบหมด คงตกค้างอยู่เพียง 6 ครอบครัว เมื่อปี พ.ศ.2483-2485 ต่อมาปี พ.ศ.2513 นายประสิทธิ์ สงวนน้อย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พันตรีชอบ มงคลรัตน์ อดีตนายอำเภอเชียงคำ และนายเลือดไทย บุญหวาน อดีตหัวหน้าหน่วยจัดสรรที่ดิน กรมที่ดิน ได้จัดสรรที่ดินผืนนี้ เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากจนไม่มีที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกิน และชาวเขาที่อพยพหนีภัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ต่อมามีราษฎรหลายๆ เผ่าเข้ามารับการช่วยเหลือ เช่น ชาวไทยอีสาน ชาวไทยภูเขา และชาวไทยพื้นเมือง เข้ามาอยู่อาศัย โครงการนี้ ดำเนินไปเป็นผลสำเร็จโดยความร่วมมือจากทางราชการหลายๆ ฝ่ายด้วยกัน มีการรังวัดจัดสรรที่ดินให้เป็นที่อยู่อาศัยครอบครัวละ 1 ไร่ และพื้นที่เพาะปลูกอีกส่วนหนึ่งครอบครัวละ 15 ไร่ เป็นเนื้อที่จัดสรรทั้งหมด 22,625 ไร่ มีการขุดเจาะบาดาล ขุดคูส่งน้ำ สร้างฝายทดน้ำ มีการตัดถนนสายใหญ่และถนนซอยเข้าถึงทั่วถึงทุกพื้นที่ มีการกันที่ดินสาธารณประโยชน์ไว้เป็นที่ก่อสร้างวัด โรงเรียน สถานีอนามัย และที่สาธารณะ เมื่อจัดสรรแบ่งแปลงที่ดินเสร็จแล้ว ทางราชการได้จัดให้ราษฎรเข้าอยู่อาศัยซึ่งมีคนพื้นเมือง คนทางภาคอีสาน และชาวเขาเผ่าม้ง ซึ่งมาจากหลายจังหวัดในแต่ละภาค โดยแยกกันอยู่แต่ละชนเผ่าเป็นหมู่บ้าน ไม่อยู่ปะปนกัน เนื่องจากประเพณีและวัฒนธรรมต่างกัน จำนวน 597 ครอบครัว ทั้ง 3 หมู่บ้านนี้ชื่อ หมู่บ้านทุ่งรวงทอง หมู่บ้านร่องส้าน และหมู่บ้านประชาภักดี หมู่บ้านทุ่งรวงทอง เดิมเป็นหมู่บ้านบริวารของหมู่บ้านร่องส้านซึ่งเป็นชุมชนชาวอีสาน หมู่ที่ 8 ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ ปัจจุบันนี้ ชื่อเดิมก็เป็นหมู่บ้านร่องส้าน เนื่องจากตั้งชื่อตามลำน้ำห้วยร่องส้าน ต่อมาปี พ.ศ.2519 พระสิงห์คำ กิตติสักโก หัวหน้ากลุ่มพระธรรมจาริกประจำหมู่บ้านร่องส้าน ในความอุปถัมภ์ของกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย และนายเตียมศักดิ์ สิงห์แก้ว อดีตผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านร่องส้าน หมู่ที่ 8 ได้ทำหนังสือถึงส่วนราชการอำเภอเชียงคำ เพื่อขอแยกหมู่บ้านปกครองตนเอง ทางราชการจึงอนุมัติให้แยกได้ตามพระราชบัญญัติปกครองส่วนท้องถิ่น โดยตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านทุ่งรวงทอง” หมู่บ้านทุ่งรวงทอง พื้นที่เดิมเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ป่าแดง มีเนื้อที่ประมาณ 7,541 ไร่ ระดับดินสูงจากทางทิศตะวันออกตั้งแต่เชิงเขาและลาดต่ำสู่ทิศตะวันตก มีลำห้วยหม้อ ลำห้วยบง ลำห้วยไร่ ลำห้วยอ่วม ลำห้วยสา และลำห้วยร่องส้าน ไหลผ่านที่ดินผืนนี้จากทางทิศตะวันออกลงสู่น้ำลาว ทางทิศตะวันตกมีน้ำตลอดปี แต่จะมีน้ำน้อยมากในฤดูแล้ง จนไม่เพียงพอต่อการทำเกษตร หมู่บ้าน ทุ่งรวงทอง มีอาณาเขต ทิศตะวันออกติดเขตแขวงไชยบุรีหรือแขวง หัวของ ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีภูเขาสามเหลี่ยมเป็นเส้นกั้นเขตแดน ทิศใต้ติดเขตตำบลเจดีย์คำ ทิศตะวันตก ติดเขตตำบลสบบง อำเภอภูซาง ทิศเหนือ ติดเขตตำบลทุ่งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา (ข้อมูลโดย นายสิงห์คำ เนตรใหญ่)
13. บ้านประชาภักดี หมู่ที่ 13 บ้านประชาภักดี เป็นชาวเขาเผ้าม้ง ซึ่งนับถือศาสนาพุทธ และผีบรรพบุรุษ ปี พ.ศ.2518 มีชุนชนแต่ล่ะกลุ่มได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน โดยกลุ่มแรกอพยพมาจากบ้านภูเขา บ้านเลาอู อ.เทิง จ.เชียงราย กลุ่มที่สองอพยพมาจากขุนน้ำสา ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา เข้ามาราษฎร หมู่ที่ 8 ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ผู้ใหญ่บ้านคนแรกคือ นายหนูเยีย แซ่หาญ หมู่บ้านประชาภักดีและหมู่บ้านประชาพัฒนา เดิมชื่อหมู่บ้านร่องส้าน หมู่ที่ 8 ต.ร่มเย็น เนื่องจากขึ้นปกครองอยู่กับหมู่บ้านร่องส้านปัจจุบัน หมู่บ้านประชาภักดีและหมู่บ้านประชาพัฒนา เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ซึ่งอพยพหนีภัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์(ผกค.) เพราะถูก ผกค. ชักชวนให้เข้าร่วมเป็นพวก และจัดหาเสบียงอาหารให้ ผู้ใดขัดขืน ผกค. ก็ใช้ญาติพี่น้องของผู้นั้นฆ่าผู้นั้นเสีย ก่อให้เกิดความระแวงไม่ไว้ใจกันไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ จึงพากันอพยพหลบหนีจากหมู่บ้านเดิม เพื่อความปลอดภัยในชีวิต โดยมีนายเลาจือ แซ่หาง (หาญบุญทวี) เป็นผู้นำชนเผ่าหรือหัวหน้าเผ่า จากหมู่บ้านห้วยส้าน , หมู่บ้านนาหนุน ต.ภูซาง อ.ภูซาง หมู่บ้านเพียสี อ.เชียงของ จ.เชียงราย และหมู่บ้านห้วยกอก อ.เทิง จ.เชียงราย ปี พ.ศ.2513 นายประสิทธิ์ สงวนน้อย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พันตรีชอบ มงคลรัตน์ อดีตนายอำเภอเชียงคำ ได้จัดสรรที่ดินผืนนี้ จำนวน 22,625 ไร่ ซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรมให้เข้าอยู่อาศัยและประกอบอาชีพในที่ดินที่ทางราชการ จัดสรรให้ โดยแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบอาชีพ และที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่อยู่อาศัยครอบครัวละ 1 ไร่ ที่ดินทำกินครอบครัวละ 15 ไร่ นอกนั้นจัดเป็นที่สาธารณะ เพื่อก่อสร้างโรงเรียน วัด สถานีอนามัย ขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และลานกีฬา เป็นต้น มีราษฎรเข้าอยู่อาศัย 3 กลุ่ม คือ ชาวเขาเผ่าม้ง ชาวพื้นเมือง และชาวอีสาน ปี พ.ศ.2536 จึงได้แยกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านประชาภักดี หมู่ที่ 13 และต่อมามีประชาชนหนาแน่นขึ้น ปี พ.ศ. 2546 หมู่บ้านประชาภักดี จึงได้แบ่งแยกหมู่บ้านขึ้นอีก 1 หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านประชาพัฒนา หมู่ที่ 20 ผู้นำหมู่บ้าน :
(ข้อมูลโดย นายดำริ มณีนิล , นายสิงห์คำ เนตรใหญ่) ติดตามอ่านเรื่องราว เบื้องหลังการปราบปรามผกค.ในพื้นที่ตำบลร่มเย็นคลิ๊กอ่านได้เลยครับ ชุดที่ 1 ชุดที่ 2 ชุดที่ 3 ชุดที่ 4 ชุดที่ 5
14. บ้านห้วยสา หมู่ที่ 14 บ้าน ห้วยสา บริเวณดังกล่าวมีลำห้วยอยู่ 2 ห้วย คือ ห้วยสาน้อย และห้วยสาใหญ่ ที่ได้ชื่อว่าห้วยสาเพราะบริเวณนั้นเต็มไปด้วยต้นสา ในปี 2470 ได้มีประชาชนจากจังหวัดแพร่อพยพเข้ามาทำมาหากิน ประกอบไปด้วย นายเมา – นางด้วง ใจหมั้น , นายกั๋น – นางเต็ม ไม่ทราบนามสกุล บ้านป่าแดงพัน จังหวัดแพร่ นายน้อย – นางฟอง ไม่ทราบนามสกุล อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ทั้ง 3 ครอบครัวได้เข้ามาอาศัยอยู่ก่อน เดิมบ้านห้วยสาขึ้นอยู่กับบ้านร้องเก่า หมู่ที่ 1 ต.เจดีย์คำ อ.เชียงคำ ในวันที่ 23 มิถุนายน 2532 ทางราชการได้แยกเป็นหมู่บ้านห้วยสา (ข้อมูลโดย นายบดินทร สัจจญาติ ผู้ใหญ่บ้าน)
ก่อนที่จะกลายมาเป็นบ้านเกษตรสมบูรณ์ ในปัจจุบันนี้ ก็มีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่ ผู้รู้ พ่ออุ้ยแม่อุ้ย พ่อหน้อย พ่อหนาน และปราชญ์ชาวบ้าน ได้เล่าให้ฟังถึง เรื่องราวความเป็นมาในอดีตของผู้คนชาวบ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา ซึ่งมีที่ไปที่มาต่างที่ต่างทางกัน เพราะในสมัยอดีตนั้น มีการอพยพย้ายที่ทำกินกันไปตามที่ต่างๆ ที่อุดมสมบูรณ์ มีที่ทำกิน โดยเฉพาะบริเวณไหนที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ ก็มักจะมีหมู่บ้านไปรวมตัวกันอยู่ ณ บริเวณจุดนั้น การเดินทางในสมัยอดีตนั้น ใช้วิธีการเดินทางโดยล้อเกวียน การเดินทางไปเป็นครอบครัวเดี่ยว หรือไปเป็นกลุ่มเป็นคณะบ้าง โดยได้เดินทางมาจากทางตำบลเจดีย์คำ เช่น บ้านร่องค้อม บ้านอัมพร บ้านปัว บ้านปีน บ้านกว๊าน บ้านปุ๊ บ้านบุญยืน บ้านดอนลาว เป็นต้น ที่มาจากตำบลเวียง ก็มีเช่น บ้านปี้ บ้านทราย บ้านกอม บ้านดอนแก้ว เป็นต้น และก็มาจากตำบลอื่นๆ เช่น ตำบลแม่ลาว ตำบลหย่วน ตำบลเชียงบาน ตำบลทุ่งกล้วย ก็มีอยู่บ้าง ฯลฯ เป็นต้น แต่ก็เป็นเพียงแค่ส่วนน้อย ส่วนใหญ่จะเป็นเขยหรือเป็นสะใภ้เสียมากกว่า เพราะราษฎรส่วนใหญ่แล้ว จะสืบเชื้อสายมาจากทางตำบลร่มเย็นมากกว่ามากกว่าการสืบเชื้อสายมาจากตำบล อื่น โดยบางครอบครัวก็ได้อพยพย้ายมาจาก บ้านร้องเก่า บ้านร้องใหม่ บ้านใหม่เจริญสุข บ้านห้วยสา บ้านคุ้ม บ้านสบสา บ้านหนองร่มเย็น บ้านโจ้โก้ บ้านปางถ้ำ ฯลฯ เป็นต้น ชุมชนเหล่านี้ สันนิษฐานว่า ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2361 โดยราษฎรกลุ่มแรกนั้น เป็นคนพี้นเมืองในท้องถิ่นดั้งเดิมอยู่แล้ว และประมาณ ปี พ.ศ. 2441 ได้มีราษฎรจากจังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน และจังหวัดอื่นๆ บางส่วนได้อพยพมาจากเมืองคอบ สปป.ลาว และได้อพยพเข้ามาอยู่เพิ่มเติมมากขึ้น โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้คนบ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา ดั้งเดิมนั้นสืบเชื้อสายมาจากผู้คนพื้นเมือง ได้อาศัยกันอยู่ที่่บ้านก๊อด บ้านบน บ้านแขม บ้านร่องดินแดง บ้านโจ้โก้ “ปัจจุบันหมู่บ้านเหล่านี้ ไม่ปรากฎรูปร่างหรือสภาพหมู่บ้านให้เห็นเป็นหมู่บ้านแล้ว เพราะพื้นที่บางส่วนกลายเป็นทุ่งนา ที่ไร่ที่สวน เป็นที่ทำการเกษตรของหมู่บ้านไปหมดแล้ว มีเพียงแต่บ้านโจ้โก้เท่านั้น ที่ยังคงสภาพให้เห็นหมู่บ้านอยู่อยู่มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ในสมัย อดีตนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่จะพากันอพยพย้ายถิ่นทำมาหากินมาจากจังหวัดน่าน ด้วยการเดินลัดเลาะตามห้วยและผ่านหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆมา ในปัจจุบันนี้ เส้นทางที่พ่ออุ้ยแม่ได้พากันเดินทางอพยพมาแทบจะไม่หลงเหลือร่องรอยให้เห็น เพราะเส้นทางบางช่วงได้ถูกตัดขาดและบดบังด้วยต้นไม้ใบหญ้าไปหมดแล้ว จากคำบอกเล่าของพ่ออุ้ยแม่อุ้ย ท่านได้เล่าให้ฟังอีกว่า “เส้นทางที่พวกเขาได้พากันเดินมาจากจังหวัดน่านนั้น เป็นเส้นทางที่แสนจะลำบากมาก ต้องพากันเดินเท้ารอนแรมนอนกลางดินกินกลางป่า ผ่านหมู่บ้านชาวเขาเผ่าต่างๆ ซึ่งก็เป็นหนทางเดินป่าที่ ชาวบ้านเหล่านั้นใช้สำหรับสัญจรในการไปทำไร่ข้าว หรือไร่ฝิ่นบ้าง ผ่านมาทางอำเภอปัว เข้าอำเภอเชียงกลาง ผ่านอำเภอสองแคว ของจังหวัดน่าน เข้าสู่ที่บ้าน ผาหลัก บ้านยอด บ้านห้วยเหาะ ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น บ้านผาสิงห์ ซึ่งหมู่บ้านเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วเป็นพี่น้องชาวไทลื้อ อยู่ในพื้นที่เขต เทศบาล ต.ยอด อ.สองแคว จ.หวัดน่าน เข้าสู่บ้านปางส้านซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีทุ่งนา และเป็นหมู่บ้านที่น่าอยู่ ดังนั้นจึงมีชาวบ้านหลายครอบครัว พากันตั้งรกรากปักฐานกันที่นี่ก็เยอะ และหลายๆครอบครัวก็พากันเดินทางต่อเพื่อมุ่งหน้าสู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย (หลังวันที่ 28 สิงหาคม 2520 ก็ได้รับการแบ่งการปกครองเป็นจังหวัดพะเยา) สืบไป ผู้คนที่ได้อพยพ ถิ่นฐานเหล่านี้ ได้เดินทางลัดเลาะผ่านไปตามลำห้วยต่างๆ ผ่านดอยกู้ ดอยจี๋ ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงมาก แม้ในปัจจุบันจะมีทางลาดยางที่สะดวกสบายแล้ว ก็ถือว่าเป็นทางที่ค่อนข้างจะอันตรายอยู่พอสมควร ส่วนใหญ่หากผู้คนที่สัญจรจากอำเภอเชียงคำ เพื่อเดินทางไปสู่จังหวัดน่าน จะต้องผ่านเส้นทางนี้ และส่วนใหญ่ก็จะต้องพากันแวะพักดื่มน้ำเย็นธรรมชาติที่ไหลออกมากลางหุบเขา ดอยจี๋ และแวะไหว้ศาลเจ้าพ่อดอยจี๋แห่งนี้เสียก่อนออกเดินทางต่อไป เพื่อความเป็นสิริมงคล และเป็นการแวะพักร่างกายที่เมื่อยล้าจากการเดินทาง เป็นการเดินทางอย่างมีสติและไม่ประมาทด้วย เนื่องด้วยเส้นทางเหล่านี้ส่วนใหญ่จะมีแต่หุบเขาและเหวลึกมาก อีกทั้งเป็นเส้นทางที่รถต้องวิ่งสวนทางกัน ดังนั้น ควรที่จะต้องขับขี่ด้วยความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพื่อความปลอดภัยผู้เดินทางเหล่านั้นได้เดินทางรอนแรมจนกระทั่งเดินทางมาถึง ห้วยลึก และส่วนใหญ่ก็จะมานอนพักแรมกันที่นี่จำนวนหนึ่งคืน ” บางครั้งบางคราวถ้ามีแรงเดินมากหน่อยก็จะเดินต่อไปเพื่อพักที่บ้านปางถ้ำ” พวกท่านได้เล่าให้ฟังว่า “บริเวณที่แห่งนี้ พบรอยเท้าคล้ายรอยเท้ามนุษย์ปรากฎอยู่บนก้อนหิน เป็นสถานที่สงบร่มเย็น ร่มรื่นอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลหมากรากไม้ อีกทั้งยังมีสัตว์ป่ามากมายหลายชนิดที่ได้อาศัยอยู่ท่ามกลางป่าเขาลำเนาไพร ที่อุดมสมบูรณ์แห่งนี้ ซึ่งต่อมาในปัจจุบันผู้คนต่างก็ได้ขึ้นไปเยี่ยมชม และเชื่อกันว่าเป็นรอยพระพุทธบาท” จากนั้นก็ผ่านบ้านต้น ผึ้ง ผ่านบ้านผาแดงล่าง เป็นบ้านชาวเขาเผ่าเย้า หรือ เมี่ยน เข้าสู่บ้านปางถ้ำ ผ่านบ้านปางปอบ “ปัจจุบันเรียกบ้านน้ำญวนพัฒนา” ได้มาตั้งรกรากปักฐาน ณ บ้านก๊อด บ้านบน บ้านแขม บ้านโจ้โก้ บ้านร่องดินแดง ส่วนหนึ่งก็ลงไปทางบ้านคุ้ม บ้านหนอง เข้าสู่ตำบลเจดีย์คำก็มี เพราะเหตุแห่งความยากจน จึงได้พากันออกรอนแรมเดินทาง เพื่อที่จะหาที่ทำกินแห่งใหม่” จากคำบอกเล่าของพ่ออุ้ยเม่อุ้ย ได้เล่าให้ฟังว่า ในครั้งอดีตนั้น บริเวณหมู่บ้านดังกล่าว เป็นสถานที่อุดมสมบูรณ์ พืชผักธัญญาหาร สัตว์ป่า สัตว์น้ำ มีอยู่ชุกชุมจำนวนเยอะมาก ทำให้ผู้คนได้พากันอพยพครอบครัวมาอยู่รวมกลุ่มกันนั้นบริเวณแห่งนี้ บ้านเกษตรสมบูรณ์แห่งนี้ เดิมทียังไม่เป็นหมู่บ้าน สภาพแวดล้อมโดยทั่วไป เป็นป่าไม้เล็กๆ พืชพันธุ์และไม้ต่างๆ ไม่ใหญ่โตมากนัก ส่วนมากเป็นไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้ตองตึง ไม้เหียง และเป็นป่าหญ้าคา หรือที่เรียกว่า ป่าแพะ เป็นต้น ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน เคยมีชาวเขามาอาศัยอยู่ด้วย สถานที่แห่งนี้เป็นสถานที่ทำมาหากินของชาวบ้านบ้านก๊อด บ้านบน และบ้านโจ้โก้ของชาวบ้านในสมัยนั้น ต่อมา เมื่อวันเสาร์ ที่ 9 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2507 ตรงกับวันแรม 13 ค่ำ เดือน 8 เหนือ ได้มี ครอบครัวของนายแก้ว มาสุข และ ครอบครัวของ นายเงิน รุ่งเรือง ได้พากันย้ายจากบ้านก๊อดและบ้านทุ่งบน มาอยู่ยังสถานที่แห่งนี้ โดยได้ปลูกบ้านอยู่ใกล้กันที่ 4 แยก ทางไปบ้านโจ้โก้ในปัจจุบัน และต่อมาก็เริ่มมีชาวบ้านครอบครัวอื่นๆ ได้ทยอยกันย้ายตามมาจนกลายเป็นหมู่บ้านใหญ่ ในครั้งตอนที่ย้ายครอบครัวกันมาครั้งแรกนั้น บ้านเกษตรสมบูรณ์แห่งนี้ ยังคงใช้ชื่อหมู่บ้านตามหมู่บ้านเดิมอยู่ มีผู้ใหญ่บ้านปกครอง 1 คน ในสมัยนั้นคือ นายเป็ง ฐานะราช ชื่อหมู่บ้านคือ บ้านโจ้โก้ มีวัดแห่งหนึ่งชื่อวัดดอนมูลหรือวัดโจ้โก้เก่า และเรียกหมู่บ้านที่ตั้งขึ้นใหม่ว่าบ้านโจ้โก้ใหม่ หมู่ที่ 15 ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย ต่อมา นายเป็ง ฐานะราช ได้เสียชีวิตลง ทางราชการได้เลือกและแต่งตั้งให้ นายทอง หายทุกข์ เป็นผู้ใหญ่บ้านสืบต่อมาอีก 10 กว่าปี และเมื่อ นายทอง หายทุกข์ ได้ลาออกจากตำแหน่ง ทางราชการได้เลือกและแต่งตั้งให้ นายมานพ ฐานะราช สืบต่อมา จากนั้นไม่นาน ทางราชการได้แบ่งการปกครองใหม่ คือ ได้แยกตำบลเจดีย์คำ ออกเป็น ตำบลร่มเย็น จากหมู่ที่ 15 ให้เป็นหมู่ที่ 4 และเปลี่ยนการปกครองจากจังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2520 สำหรับหมู่บ้านเกษตร สมบูรณ์ของเรา ทางองค์การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ดำเนินการวางเสาไฟ และปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ชาวบ้านใช้เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปีพุทธศักราช 2527 เมื่อมีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน เครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆก็เริ่มเข้ามาสู่หมู่บ้านของเรา และมีผู้คนพากันอพยพครอบครัวมาอยู่ยังหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์แห่งนี้เพิ่มมาก ขึ้น และประชากรก็เพิ่มมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทางชาวบ้าน จึงมีการประชุมตกลงกัน เพื่อที่จะขออนุญาตทางการ ที่จะทำให้ชุมชนของตนเองตั้งขึ้นเป็นหมู่บ้านแห่งใหม่ โดยที่จะเลือกผู้นำขึ้นมาเพื่อปกครองหมู่บ้านของตนเอง เมื่อทางมติที่ประชุมได้เห็นสมควรแล้ว จึงได้แจ้งให้ทางราชการทราบ และตั้งชื่อชุมชนหรือหมู่บ้านของตนเองว่า บ้านเกษตรสมบูรณ์ เนื่องจากเห็นว่าสภาพของหมู่บ้าน เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ ทั้งด้านข้าวปลาอาหาร ที่ทำกิน มีแม่น้ำและลำเหมืองไหลผ่าน สามารถที่จะทำการเกษตรได้ตลอดทั้งปี เมื่อได้ชื่อหมู่บ้าน แล้ว ชาวบ้านได้พากันเลือกผู้ใหญ่ใหม่ โดยได้เปิดรับสมัครผู้ที่จะดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้าน มีผู้เข้าร่วมสมัครจำนวน 2 คน คือ นายเหลา รุ่งเรือง และ นายอินแสวง มาสุข ปรากฏว่า หลังจากการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยที่ทางการมาดำเนินการในการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ให้ ชาวบ้านโดยส่วนใหญ่ได้เลือกให้ นายอินแสวง มาสุข เป็นผู้ใหญ่บ้าน ปกครองบ้านเกษตรสมบูรณ์ หมู่ที่ 15 ตำบลร่มเย็น อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา รหัสไปรษณีย์ 56110 เมื่อปี พ.ศ. 2533 เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก ท่านก็ได้ปกครองหมู่บ้านแห่งนี้ เป็นเวลา 2 ปี และได้ลาออกจากการเป็นผู้ใหญ่บ้าน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2535 เมื่อ นายอินแสวง มาสุข ได้ลาออก ทางราชการจึงได้ให้ชาวบ้านเลือกตั้งผู้นำหมู่บ้านคนใหม่ เพื่อขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่บ้านแทนผู้ใหญ่บ้านคนเก่าที่ลาออก และจัดให้มีการเลือกตั้งขึ้น ในการลือกตั้งครั้งนี้ มีชาวบ้านมาสมัคร เพื่อที่จะให้ชาวบ้านเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่หลายคน หนึ่งในนั้นคือ นายเหลา รุ่งเรือง และเมื่อลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ก็ปรากฎว่า นายเหลา รุ่งเรือง ได้รับการคัดเลือกจากชาวบ้านให้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้นำในชุมชนของตนเองสืบมา และทางการก็ได้แต่งตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2535 และท่านได้ดำรงตำแหน่งจนครบวาระถึง 2 สมัย และหมดวาระสมัยที่ 2 เมื่อวันที่ 24 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 เมื่อนายเหลา รุ่งเรือง ได้หมดวาระการดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ สมัยที่ 2 ท่านก็ไม่ได้สมัครต่อในสมัยที่ 3 แต่ท่านได้ไปทำงานที่องค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็นแทน โดยท่านได้ดำรงตำแหน่ง รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลร่มเย็น และได้เปิดโอกาสให้แก่น้องชายของตนเอง เข้ามาเพื่อสมัครเป็นผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ แทนตำแหนงที่ว่างลง ทางราชการก็ได้ทำการเปิดรับสมัครผู้ที่จะมาดำรงเป็นผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ คนใหม่ ก็ได้มีชาวบ้านมาสมัครกันหลายคน แต่เมื่อชาวบ้านได้ทำการเลือกตั้งและผลการเลือกตั้ง ปรากฎว่า นายเหลี่ยม รุ่งเรือง ก็ชนะผลการเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ และทางราชการก็ได้แต่งตั้งท่านเป็นผู้ใหญ่บ้านอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 4 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2546 และได้ปกครองหมู่บ้านจนครบวาระสมัยที่ 1 เมื่อหมดวาระในสมัยแรก ก็ไม่มีใครสมัครอีก เนืองจากชาวบ้านมีมติ เห็นว่าท่านได้ทำงานช่วยเหลือหมู่บ้านอย่างจริงจัง และนำพาหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา ให้มีความเจริญก้าวหน้า จนกลายเป็นหมู่บ้านนำร่อง หมู่บ้านพัฒนาตัวอย่าง ชนะเลิศได้ที่ 1 ในการประกวดหมู่บ้านประจำอำเภอถึง 2 สมัยซ้อน เนื่องจากท่านเป็นผู้นำหนุ่มไฟแรง และรับฟังความคิดเห็นของชาวบ้าน เป็นประชาธิปไตย ไม่มีอคติลำเอียง ไม่เลือกญาติพี่น้อง ทำงานอย่างจริงจัง ทำให้ได้รับความไว้วางใจ เป็นที่รักและเคารพของชาวบ้าน แม้ในสมัยที่สอง ท่านจะไม่อยากจะรับตำแหน่ง แต่ชาวบ้านก็ยังให้การสนับสนุน เนื่องจากในสมัยที่ 2 ท่านมีสิทธิ์ที่จะชิงตำแหน่งกำนันตำบลร่มเย็น ที่หมดวาระลง แต่เมื่อท่านสมัครเข้าชิงปรากฎว่า การเลือกตั้งกำนันตำบลร่มเย็นในครั้งนี้ ไม่ได้เหมือนครั้งก่อนๆ คือ ในสมัยนี้ (พ.ศ. 2552) การรับสมัครและการเลือกตั้ง ให้เลือกกันที่ประชุมของอำเภอ และผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้ง ไม่ใช่ชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆในตำบลอีกต่อไปแล้ว แต่ให้อำนาจผู้ใหญ่บ้านแต่ละหมุ่บ้านเป็นคนเลือกกันเอง เพราะฉะนั้นผู้นำหมู่บ้านทั้งตำบลร่มเย็น ที่มีเพียง 21 หมู่บ้านก็ได้ใช้ดุลพินิจและความคิดเห็นของลูกบ้านของตนเอง เลือกกำนันคนใหม่ ปรากฏว่า ท่านกำนันคนเก่า คือ นายเจริญ ก็สมัครเข้าชิงตำแหน่งในสมัยที่ 2 เหมือนกัน ปรากฏว่าผลการเลือกตั้งกำนันเจริญ ชนะไปด้วยคะแนนเสียง 11 ต่อ 8 คะแนน ท่านเพ้ไปเพียง 3 คะแนน ทำให้ท่านไม่ได้เป็นกำนันตำบลร่มเย็น เนื่องจากชาวบ้านคาดว่า หากท่านได้ดำรงตำแหน่ง คงจะทำให้หมู่บ้านและตำบลร่มเย็น พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจากเห็นผลงานของท่านที่ทำไว้กับหมู่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา อย่างไรก็แล้วตาม ท่านก็ยังคงดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านเกษตรสมบูรณ์ของเรา มาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน โดยได้แต่งตั้งให้ นายธงชัย มาสุข และนายกวด แจ้งสว่าง เป็นผู้ช่วย ในสมัยแรก และในสมัยที่สอง พ.ศ. 2552 ได้ตั้งนาย ธงชัย มาสุข และ นายติด วงศ์แก้ว เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เพื่อช่วยกันทำงานและพัฒนาหมู่บ้าเกษตรสมบูรณ์ของเราสืบมา ผู้นำหมู่บ้าน :
16. บ้านต้นผึ้ง หมู่ที่ 16 หมู่ บ้านจัดตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 เป็นชุมชนชาวเมี่ยนอาศัยอยู่ตามภูเขาสูงจาก น้ำทะเลประมาณ 1,100 เมตรจากน้ำทะเล และอาศัยมาแล้ว 100 กว่าปี ราษฎรมีอาชีพทำไร่ข้าว ข้าวโพดและสวนผลไม้เป็นบางส่วน ชาวบ้านเป็นชนเผ่าเมี่ยนนับถือศาสนาพุทธ มีภาษาพูดเป็นของตัวเองคือ ภาษาเย้า มีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์มาแต่โบราณโดยจะมีหมอผีทำพิธี เมื่อมีการเกิด เจ็บ ตาย และ ทำบุญ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่า (ข้อมูลโดยนายวุฒิชัย แซ่ลี ผู้ใหญ่บ้าน)
17. บ้านน้ำยวนพัฒนา หมู่ที่ 19 เดิมเรียกว่าบ้านปางปอบ ที่เพี้ยนมากจากคำว่า ปางป้อม เพราะเป็นดงของมะขามป้อม เนื่องจากผู้คนในยุคนั้นไม่รู้หนังสือ ทั้งยังพูดคำไทยไม่เป็น สภาพเดิมที่เป็นป่าที่อุดมไปด้วยต้นไม้นานาชนิด เช่น ไม้สัก ไม้ยาง ไม้ประดู่ ไม้เต็ง ไม้ตะเคียน และไม้เปา และอีกมากมายหลายชนิด ที่สำคัญที่ตั้งของหมู่บ้านมากด้วยมะขามป้อม ปางปอบนี้มีแม่น้ำญวนไหลผ่านตลอดทั้งปี ในห้วยมีหอย ปู ปลา ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของหมู่บ้าน อีกประการหนึ่งชาวบ้านปลูกข้าวโพด เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ ตามวิถีชีวิตของชาวเมี่ยน (ตามอีกหนึ่งประวัติคือ บริเวณรอบหมู่บ้านนี้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งที่เรียกว่าต้นปอบเกิดขึ้นเยอะ เลยได้เรียกชื่อบริเวณแถวนี้ว่าปางปอบ) เมื่อ 30 – 40 ปีก่อน มีคนพื้นเมืองที่เข้ามาอยู่ตรงนี้ได้ทำเป็นปางวัว เลี้ยงวัว และต่อมาชาวบ้านบนดอยห้วยแฝดได้เดินทางมาทำไร่ปลูกข้าวที่ปางแห่งนี้ด้วย ตอนแรกก็มาทำไร่ปลูกพืชพันธุ์ธัญญาหาร แต่ไม่ได้มาอยู่อาศัย ต่อมาในปี พ.ศ.2509 ชาวบ้านจึงอพยพมาปลูกบ้านที่ปางแห่งนี้ เดิมทีขึ้นอยู่กับการปกครองหมู่ที่ 10 หมู่ที่ 9 และหมู่ที่ 11 ตามลำดับ ต่อมา พ.ศ.2520 ได้มีกรมประชาสงเคราะห์พร้อมทั้งพระภิกษุได้เข้ามาใน หมู่บ้านนี้ ได้มาถ่ายทอดความรู้ต่างๆ เช่น สอนให้ปลูกส้ม สอนให้รู้จักรักษาสุขภาพตัวเอง และสร้างศูนย์เด็กเล็กขึ้น ก่อนนี้การเดินทางไปตัวอำเภอเชียงคำ หรือต่างบ้านเช่นบ้านสบสา หรือร่มเย็น ต้องเดินด้วยเท้า ต่อมาปี พ.ศ.2530 ราษฎรในหมู่บ้านย้ายทะเบียนบ้านเข้ามารวมกันที่หมู่ 9 บ้าน ปางถ้ำ(นอกจากนั้น สมัยก่อนบริเวณแถวนี้ยังมีอีกหมู่บ้านคือ บ้านห้วยหอย และ บ้านห้วยเคียน รวมอยู่ด้วย) ปี พ.ศ.2534 จึงมีไฟฟ้าใช้ และปี พ.ศ.2540 นายกิตติ แซ่จ๋าว เป็นพ่อหลวงบ้าน จึงยื่นหนังสือขอแยกหมู่บ้าน และยื่นเปลี่ยนชื่อใหม่ เพราะชื่อบ้านปางปอบ คนมักจะเข้าใจผิด คิดและล้อว่าเป็นผีปอบ ในปี พ.ศ. 2547 ราชการจึงมีคำสั่งให้ชื่อว่าหมู่บ้านน้ำยวนพัฒนา (ข้อมูลโดยนายอนุกูล จ๋าวจิรัฎฐ์สกุล ผู้ใหญ่บ้าน) “จากผู้เขียน ขอเสนออีกแนวคิดหนึ่งนะครับ อาจจะจริงหรือไม่ก็ได้ เท่าที่เคยไปสัมผัสและเดินทางไปยังหมู่บ้านนี้บ่อยอีกทั้งเคยได้ยินพ่ออุ้ย แม่อุ้ย ได้เล่าให้ฟังว่า ณ บริเวณบ้านแห่งนี้ มักจะมีต้นไม้อีกชนิดที่พบมาก นั่นก็คือ ต้นปอบ (ผมยังหาภาพมาประกอบไม่ได้ครับ) แต่ลักษณะของมัน ชอบขึี้อยู่ริมน้ำ มีใบคล้ายใบโพธิ์ (ต้นสะหรี) มีดอกสีขาว เขาเรียกว่า ต้นปอบ ซึ่งต่อมาอาจจะเป็นชื่อของหมู่บ้านก็ได้ ก็เป็นอีกแนวคิดหนึ่งนะครับ นายตัวดี ท.ทิวเทือกเขา
18 บ้านประชาพัฒนา หมู่ที่ 21 หมู่บ้านประชาภักดีและหมู่บ้านประชาพัฒนา เดิมชื่อหมู่บ้านร่องส้าน หมู่ที่ 8 ต.ร่มเย็น เนื่องจากขึ้นปกครองอยู่กับหมู่บ้านร่องส้านปัจจุบัน หมู่บ้านประชาภักดีและหมู่บ้านประชาพัฒนา เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง ซึ่งอพยพหนีภัยผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์(ผกค.) เพราะถูก ผกค. ชักชวนให้เข้าร่วมเป็นพวก และจัดหาเสบียงอาหารให้ ผู้ใดขัดขืน ผกค. ก็ใช้ญาติพี่น้องของผู้นั้นฆ่าผู้นั้นเสีย ก่อให้เกิดความระแวงไม่ไว้ใจกันไม่อาจอยู่ร่วมกันได้ จึงพากันอพยพหลบหนีจากหมู่บ้านเดิม เพื่อความปลอดภัยในชีวิต โดยมีนายเลาจือ แซ่หาง (หาญบุญทวี) เป็นผู้นำชนเผ่าหรือหัวหน้าเผ่า จากหมู่บ้านห้วยส้าน , หมู่บ้านนาหนุน ต.ภูซาง อ.ภูซาง หมู่บ้านเพียสี อ.เชียงของ จ.เชียงราย และหมู่บ้านห้วยกอก อ.เทิง จ.เชียงราย ปี พ.ศ.2513 นายประสิทธิ์ สงวนน้อย อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงราย พันตรีชอบ มงคลรัตน์ อดีตนายอำเภอเชียงคำ ได้จัดสรรที่ดินผืนนี้ จำนวน 22,625 ไร่ ซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรมให้เข้าอยู่อาศัยและประกอบอาชีพในที่ดินที่ทางราชการ จัดสรรให้ โดยแบ่งเป็นที่อยู่อาศัย ที่ประกอบอาชีพ และที่ดินสาธารณะประโยชน์ ที่อยู่อาศัยครอบครัวละ 1 ไร่ ที่ดินทำกินครอบครัวละ 15 ไร่ นอกนั้นจัดเป็นที่สาธารณะ เพื่อก่อสร้างโรงเรียน วัด สถานีอนามัย ขุดสระน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค และลานกีฬา เป็นต้น มีราษฎรเข้าอยู่อาศัย 3 กลุ่ม คือ ชาวเขาเผ่าม้ง ชาวพื้นเมือง และชาวอีสาน ปี พ.ศ.2536 จึงได้แยกหมู่บ้านเป็นหมู่บ้านประชาภักดี หมู่ที่ 13 และต่อมามีประชาชนหนาแน่นขึ้น ปี พ.ศ. 2546 หมู่บ้านประชาภักดี จึงได้แบ่งแยกหมู่บ้านขึ้นอีก 1 หมู่บ้าน ชื่อหมู่บ้านประชาพัฒนา หมู่ที่ 21 (ข้อมูลโดย นายดำริ มณีนิล , นายสิงห์คำ เนตรใหญ่) ประวัติความเป็นมาของ หมู่บ้าน เดิมเป็นหมู่บ้านจัดสรรตามโครงการพระราชดำริ ในปี พ.ศ.2513 ซึ่งความเป็นมาของหมู่บ้าน แต่เดิมได้อพยพมาจากบ้านเลาอูและบ้านเลาลือ พ่อค้า ในปี พ.ศ. 2509 โดยมีสงครามคอมมิวนิสต์ตอนบน สร้างความเดือดร้อนความสงบสุขของประชาชน จึงได้อพยพมาก่อตั้งหมู่บ้านตามโครงการ ชื่อบ้านร่องส้าน โดยมีทั้งหมด 3 หมู่บ้าน 1. บ้านทุ่งรวงทอง 2. บ้านประชาภักดี 3. บ้านร่องส้าน ต่อมาพ่อหัวหน้าเลาจือ แซ่หาง จึงนำราษฎรย้ายมาจากบ้านห้วยส้านมาอยู่ที่บ้านร่องส้าน ม.8 ต.ร่มเย็น อ.เชียงคำ จ.พะเยา ในสมัยนั้นราษฎรได้อาศัยอยู่ด้วยกัน 3 กลุ่ม โดย พ่อเตรียมศักดิ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านร่องส้าน และต่อมาปี พ.ศ. 2526 ได้แยกหมู่บ้านร่องส้าน หมู่ 8 มาเป็นประชาภักดีหมู่ 13 มีนายหนูเยีย หาญบุญศรี เป็นผู้ใหญ่บ้าน ต่อมาจังหวัดพะเยาได้ประกาศแยกหมู่บ้านประภักดีหมู่ที่ 13 จัดตั้งเป็นหมู่บ้านประชาพัฒนาหมู่ที่ 21 เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2546 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนพิเศษ 108 ง 17 กันยายน 2546) ในปัจจุบันประชาชนบ้าน ประชาพัฒนา ส่วนใหญ่เป็นชนเผ่งม้ง จะใช้ภาษาท้องถิ่น หรือภาษาประจำเผ่าเป็นภาษาม้ง ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ อีกบางส่วนหรือส่วนน้อยนับถือศาสนาคริสต์ ประชากร ซึ่งมีขนบธรรมเนียมประเพณี การแต่งกายเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ชุดม้ง ที่เป็นลายปักหัตกรรมมีความโดดเด่น สวยงาม เป็นที่ต้องการของตลาด โดยเฉพาะความงดงาม ในปัจจุบันลายเสื้อผ้าของเผ่าม้ง เป็นที่ต้องการของตลาดเสื้อผ้ามากโดยนำไปแปรรูปได้ผลิตภัณฑ์หลายอย่าง อาทิเช่น กระเป๋าสะพายผ้าปักม้ง กางเกงลายผ้าปักม้ง รองเท้าลำลองผ้าปักม้ง และอื่นๆอีกมากมาย (ข้อมูลโดยนายทวีศักดิ์ แซ่ย่าง ผู้ใหญ่บ้าน)
ศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนาบ้านเฮา คลิ๊กชมวีดีโอได้เลยครับ
ศิลปวัฒนธรรมแบบล้านนาบ้านเฮา คลิ๊กชมวีดีโอได้เลยครับ |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |