|
||
![]() เบื้องหลังความงดงามและมนต์เสน่ห์ของพื้นที่แห่งนี้นั้น มีอดีตประวัติการสู้รบ บทเรียนความเจ็บปวด ซ่อนเร้นอยู่ แม้ว่าหลายคนจะไม่อยากรื้อฟื้น หากว่าสิ่งที่ตามมามันจะเป็นความขมขื่น ทรมานใจและการสูญเสีย แต่สำหรับที่นี้เวลานี้สมควรที่จะต้องทบทวนเพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลัง นักเดินทางและผู้แสวงหาได้มีโอกาสรับรู้เข้าใจ ข้อเท็จจริง สถานการณ์ในอดีตไว้เป็นกรณีศึกษา นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 เป็นต้นมาสถานการณ์ก่อการร้ายในจังหวัดเชียงรายเกิดขึ้นโดยพรรคคอมมิวนิสต์ แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้ส่งผู้ปฏิบัติงานจำนวนหนึ่งเข้าสู่ภาคเหนือของประเทศไทย เพื่อแสวงหาแนวร่วมพื้นฐานโดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวไทยภูเขาที่อาศัยอยู่ตามแนว ชายแดนในจังหวัดเชียงราย จังหวัดพะเยา และจังหวัดน่าน ในปี พ.ศ. 2500 พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) ได้ขยายพื้นที่ก่อการร้ายเข้ามาในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน เพื่อส่งผู้ปฏิบัติงานเพื่อปลุกระดมและจัดตั้งมวลชนและทำหน้าที่เผยแพร่ ลัทธิคอมมิวนิสต์โดยเป็นพื้นที่ออกเป็น 4 เขตงาน คือ เขตงาน 7 ครอบคลุมพื้นที่ดอยผาจิ , ผาช้าง เขตงาน 8 ครอบคลุมพื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่น เขตงาน 9 ครอบคลุมพื้นที่บ่อเกลือเชียงกลาง ทุ่งช้างและเขตงาน 52 ครอบคลุมพื้นที่ อำเภอเชียงแสน ในเนื้อที่ของการปลุกระดมได้โฆษณาชวนเชื่อในนโยบายเนื้อหาและแนวทางของลัทธิ คอมมิวนิสต์ได้ปลอดปล่อยประชาชน โดยให้ทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันไม่มีการกดขี่ข่มเหงกันและมีเครื่อง สาธารณูปโภคเหมือนกับคนในเมือง ไม่มีการแยกชนชั้น ทุกคนต้องได้รับความเท่าเทียมกันในด้านการศึกษา พยาบาล และการรับราชการ ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างชนเผ่าและคนพื้นราบ ซึ่งถือได้ว่าเป็นนโยบายขั้นที่ 1 (ขั้นพื้นฐาน) ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานจนประสบผลสำเร็จ เพราะทุกคนเห็นข้อแตกต่างระหว่างชนเผ่ากับคนในเมืองสามารถปฏิบัติงานขั้นที่ 2 ได้ โดยยึดถือว่า คนที่จะได้รับสิทธิเสรีภาพเสมอกันต้องได้มาจากการต่อสู้ด้วยอาวุธโค่นล้ม รัฐบาล ในขณะนั้นขับไล่อเมริกาออกจากประเทศไทยและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ซึ่งเป็นรัฐบาลของประชาชน ในปี พ.ศ. 2507 สมาชิก พคท. สามารถขยายเขตงานได้อย่างกว้างขวางและต่อเนื่อง พคท. เปิดฉากการต่อสู้ด้วยอาวุธกับเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลในภาคเหนือครั้งแรกที่ บ้านน้ำปาม ตำบลไร่หลวง อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2510 ซึ่งถือว่าเป็น “วันเสียงปืนแตก” การต่อสู้รุนแรงขึ้นเป็นลำดับ วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2517 ได้จัดตั้งหน่วยเฉพาะกิจกองพลที่ 4 ให้มีภารกิจป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้าย คอมมิวนิสต์ในจังหวัดเชียงราย พะเยา โดยยึดถือการเมืองนำการทหาร วัน ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2522 ได้จัดตั้งกองอำนวยการผสมพลเรือน ตำรวจ ทหาร (พตท. 2324) ขึ้นแทน หน่วยงานเฉพาะกิจ กองพลที่ 4 เพื่อรับผิดชอบป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยรวมพลังเจ้าหน้าที่ของรัฐทั้งพลเรือน ตำรวจ และทหาร เข้าปฏิบัติการร่วมกันอย่างมีเอกภาพ วัน ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2524 ได้แปรสภาพเป็น พตท. 31 โดยปฏิบัติตาม นโยบาย ตามคำสั่ง นายกรัฐมนตรีที่ 66/23 ลงวันที่ 23 เดือนเมษายน พ.ศ. 2523 และนโยบาย ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 65/24 และดำเนินการรุกทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้ พัน ร. 473 ภายใต้การนำของ พันโทวิโรจน์ ทองมิตร ผู้บังคับกองพัน ซึ่งจัดกำลังจากกองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 7 ได้ส่งกำลังเข้าปราบปราม ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ (ผกค.) ในพื้นที่ดอยยาว – ดอยผาหม่นหลายยุทธการด้วยกัน จนกระทั่งยุทธการที่สำคัญ คือ ยุทธการเกรียงไกร (วีกรรมเนิน 1188) บนพญาพิภักดิ์ จนกระทั่งผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ เข้ามอบตัวเป็นผู้ร่วมพัฒนาชาติไทย เป็นจำนวนมาก จากการปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่โปรยใบปลิวชี้แจงข้อเท็จจริง โดยใช้เครื่องบินติดตั้งเครื่องขยายเสียง ประกาศทำความความเข้าใจกับชาวเขา และอดีตผู้นำนักศึกษาที่เคยร่วมขบวนการและปฏิบัติงานในพื้นที่ ได้ขอเชิญชวนมอบตัวเพราะว่าในขณะนั้นรัฐบาลได้มีการเปลี่ยนแปลง ไปในทางที่ดีกว่าอดีต จึงทำให้สงครามการต่อสู้ด้วยอาวุธได้ยุติลง และเปลี่ยนแปลงการพัฒนาขึ้นแทน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 เป็นต้นมา ใน ช่วงของการต่อสู้กับ ผกค. ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการก่อสร้างทางสายมรณะ (เส้นทางสายยุทธศาสตร์) สายป่าบง – ปางค่า (เส้นทางสาย 1155) ได้เกิดการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลกับ ผกค. รุนแรงมากทำให้มีการสูญเสียชีวิต เครื่องจักรกล และทรัพย์สินเป็นจำนวนมากส่งผลให้ ร้อยโททายาท คล่องตรวจโรค และร้อยโทปิยวิพากษ์ เปี่ยมญาติ ผู้บังคับหมวดปืนเล็ก จากกองพันทหารราบที่ 3 กรมผสมที่ 7 ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญ และเสียสละอย่างสูงสุด ต้องสูญเสียชีวิตพร้อมกันทั้ง 2 ท่าน บริเวณฐานห้วยเมี่ยง วัน ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 พตท.31 ได้ลดกำลังและแปรสภาพเป็นชุดควบคุมที่ 31 (ชค.31) ได้ปฏิบัติการพัฒนาเพื่อความมั่นคง และเสริมสร้างความมั่นคงตามแนวชายแดน จนถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2531 จึงยกเลิกการจัดตั้งหน่วยลง วัน ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2531 โครงการยุทธศาสตร์พัฒนา ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงาน ภายหลังการยกเลิก ชค. 31 ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น ดอยผาจิ เป็นพื้นที่ ที่มีความสำคัญเนื่องจากเขตงานก่อการร้ายเดิม และมีการเคลื่อนไหวของกำลังทหาร สปป.ลาว (ทปล.) บริเวณชายแดน และบางครั้งก่อล่วงล้ำเข้ามาเขตแดนไทย โครงการยุทธศาสตร์พัฒนาได้ปฏิบัติงานตั้งแต่ปี พ.ศ. 2531 – 2532 มีพื้นที่รับผิดชอบ อ. เทิง อ.เวียงแก่น อ.ขุนตาล จ.เชียงราย และ อ.เชียงคำ อ.ปง จ.พะเยา โครงการ พัฒนาเพื่อความมั่นคงพื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น ดอยผาจิ ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2533 ดำเนินการจัดตั้งหมู่บ้านตามแนวชายแดนไทย สปป. ลาว ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย จำนวน 10 หมู่บ้านและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคง ในหมู่บ้านที่มีปัญหาด้านความมั่นคง ในชุมชนเดิมของจังหวัดเชียงราย และจังหวัดพะเยา จำนวน 16 หมู่บ้าน ตั้งแต่ปี 2533 – 2535 แทนโครงการยุทธศาสตร์พัฒนา ดำเนินงานของโครงการมีปัญหาและอุปสรรค อันเนื่องมาจากภัยธรรมชาติ การไม่เข้าใจของการดำเนินงานของส่วนราชการบางหน่วย เป็นผลให้เกิดการจัดสรรงบประมาณล่าช้า จึงทำให้บางแผนงานไม่สำเร็จตามที่กำหนด กองทัพภาคที่ 3 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายวนภาคที่ 3 จึงได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ขยายระยะเวลาดำเนินการโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคงต่อไปอีก 2 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 – 2537 และเข้าสู่ระบบการพัฒนาปกติโดยไม่มีการขยายเวลาอีก และได้โอนมอบพื้นที่ให้อยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายปกครอง เมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2537 วัน ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 ศูนย์อำนวยการประสานงานโครงการพัฒนาความมั่นคงพื้นที่ ดอยยาว – ดอยผาจิ (ศอป. โครงการ พมพ. ดอยยาว ฯ) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นต่อจากโครงการพัฒนาเพื่อความมั่นคง พื้นที่ดอยยาว ดอยผาหม่น ดอยผาจิ โดยมีภารกิจในการอำนวยการประสานงานกับส่วนราชการในพื้นที่ หลังจากที่ดินแดนแห่งนี้เคยเป็นสมรภูมิรบ ระหว่างรัฐบาลไทยกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย อีกเสี้ยวหนึ่งใครจะรู้ว่า ยังมีดินแดนที่มีรูปร่างสวยงามอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง จนมีผู้ขนานนามว่า “ภูชี้ฟ้า” เนื่องจาก มีลักษณะเป็นยอดเขาแหลมและมีแผ่นผาขนาดใหญ่มหึมาชี้ขึ้นไปบนท้องฟ้าอันกว้าง ใหญ่อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่งบนยอดภูชี้ฟ้าเป็นทุ่งกว้างประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร มีหน้าผาเป็นแนวยาวยื่นไปทางฝั่งประเทศลาว หลายคนมีโอกาสได้ดื่มด่ำธรรมชาติ ความงดงามของทะเลหมอกยามเช้าบนยอดภูชี้ฟ้า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ต่างดั้นด้น เดินทางเพื่อพิชิตให้ถึงยอดภูชี้ฟ้าเพียงเพื่อชื่นชมและสัมผัสกับความงดงาม ที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นมา จะมีสักกี่คนที่มองเห็นสถูปและแวะเวียนไปสักการะสถานที่แห่งนั้น ซึ่งเป็นที่สถิตของวีรบุรุษผู้กล้า ผู้เสียสละ ผู้สร้างประโยชน์ และรับใช้แผ่นดินอย่างจริงจังและจริงใจ ซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงาน และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ความกล้าหาญ ของ พอ. วิโรจน์ ทองมิตร เป็นที่ลือเลื่องไปทั้งกองทัพบกเพราะว่า พอ. วิโรจน์ ทองมิตร สามารถจับคนร้ายได้ด้วยมือเปล่า เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2523 เมื่อ พอ.วิโรจน์ ทองมิตร นำผู้ใต้บังคับบัญชาอีก 6 คน ออกลาดตระเวน และทราบข่าวว่าจะมี ผกค. ประมาณ 75 คน มารับเสบียงที่หมู่บ้านเย้ายางฮอม และได้เผชิญหน้ากับ พอ.วิโรจน์ ทองมิตร ยิง ผกค. เสียชีวิตจึงมีการยิงปะทะกันในระยะประชิด ผกค. ถูกยิงแต่คณะของ พอ. วิโรจน์ ทองมิตร ไม่มีใครเสียชีวิต ทั้งที่มีกำลังน้อยกว่าและสามารถนำเชลยศึกกลับมาได้ จึงได้รับคำยกย่องชมเชยอยู่มาก เมื่อสันติภาพและความสงบสุขได้กลับมา สู่พื้นที่ดอยยาว ดอยผาจิ ดอยผาหม่น นับเป็นเกียรติประวัติของพื้นที่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี เสด็จพร้อมด้วยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลี พระราชาธินัดดามาตุ ทรงเสด็จไปเยี่ยมบ้านพญาพิภักดิ์ ณ สันดอยยาว ในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2525 พอ.วิโรจน์ ทองมิตร ได้นำอดีตผู้นำ ผกค. เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เพื่อแสดงความจงรักภักดี ใน วันนั้น พอ.วิโรจน์ ทองมิตร กราบบังคมทูลขอพระราชทาน “รอยพระบาท” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ประทับลงบนแบบพิมพ์ปูนปลาสเตอร์ เพื่อขอจารึกไว้เป็นประวัติศาสตร์ แห่งชัยชนะเหนือดอยยาว และดอยผาหม่นซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาพระราชทานตามที่ขอ และเป็นรอยพระบาทแห่งเดียวในสนามรบของประเทศไทย ที่นักรบขอพระราชทานให้เป็นมิ่งขวัญ เมื่อ เวลาประมาณ 00.30 น. ของวันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 วีรบุรุษผู้กล้าได้จากไปอย่างไม่มีวันกลับและไม่มีคำร่ำลา เมื่อรถยนต์ของ พอ.วิโรจน์ ทองมิตร เกิดประสบอุบัติเหตุชนต้นไม้ ในขณะที่เดินทางจากค่ายขุนเจืองธรรมมิกราช จังหวัดพะเยาไปยังจังหวัดเชียงใหม่บนถนนสายเชียงใหม่ – ดอยสะเก็ด บริเวณหมู่บ้านคุรุสภา ตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเหตุให้เสียชีวิตทันทีในที่เกิดเหตุการณ์จากไปของท่านยังความเศร้าโศก เสียใจแก่ครอบครัว ผู้ใต้บังคับบัญชา ตลอดจนญาติสนิทมิตรสหาย แม้ตัวจาก ไปแต่เกียรติยศชื่อเสียงคุณงามความดีของ พอ. วิโรจน์ ทองมิตร ยังคงจารึกและเป็นเกียรติต่อผืนแผ่นดินไทยบนยอดดอยภูชี้ฟ้า ร่องรอยประวัติศาสตร์ กลิ่นคาวเลือดที่มาจากสมรภูมิรบในอดีตที่ควรจดจำบัดนี้กลับกลายเป็นสถานที่ ท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย หากท่านผู้ใดได้มีโอกาสมาสัมผัสความงดงาม ทัศนียภาพของภูชี้ฟ้า เมื่อหันมองไปทางทิศตะวันตกจะมองเห็นสถูปเล็กๆ ของวีรบุรุษผู้กล้า “พอ.วิโรจน์ ทองมิตร” ผู้ที่พลิกประวัติศาสตร์พื้นดินแห่งนี้จากกลิ่นคาวเลือดและการสู้รบฆ่าฟัน กัน ให้กลับกลายเป็นพื้นที่ที่ทรงคุณค่าและควรค่าแก่การรักษา โดย ครูเทิง |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |