![]() |
||
อำเภอเชียงคำ ถึงแม้ว่าจะมีชนชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันโดยทั่วไปแล้ว ประมาณ 8 ชนชาติพันธุ์หลัก และที่เพิ่มมาใหม่อีกสองชนชาติพันธุ์ ที่ได้มาพร้อมกับโครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ตามพระราชดำริ ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เมื่อปีพุทธศักราช 2545 คือ ชนชาติพันธุ์อาข่า และ ปกากญอ แต่ชนชาติพันธุ์ใหญ่ หากสำรวจตามจำนวนประชากร และตามจำนวนหมู่บ้านทั้ง 134 หมู่บ้านที่ได้แต่งตั้งเป็นทางการแล้ว และอีกประมาณ 10 กว่าหมู่บ้านที่ยังไม่ได้ตั้งเป็นหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ ในที่นี้หมายถึง หมู่บ้านที่ยังคงขึ้นตรงการปกครองกับหมู่บ้านอื่นอยู่ เช่น บ้านใหม่เจริญสุข ขึ้นตรงกับหมู่บ้านร้องใหม่ หมู่ที่ 3, บ้านร้องขี้เป็ด ขึ้นตรงกับหมู่บ้านร้องเก่า, และ บ้านห้วยปุ้ม ในเขตตำบลร่มเย็น จำนวนประชากร เมื่อปีพุทธศักราช 2556 ได้ทำการสำรวจประชากรของอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา มีประชากรจำนวน 77,075 คน ความหนาแน่นของประชากรอยู่ที่ 98.30 คน/ตร.กม. ประชากรกลุ่มหลักหรือกลุ่มที่ใหญ่และมีมากที่สุดคือ กลุ่มพี่น้องชาวไทยวน หรือไตยวน หรือ อาจจะเรียกว่า คนเมืองดั้งเดิม ส่วนประชากรกลุ่มรองลงมาคือ กลุ่มพี่น้องชนชาติพันธุ์ไทลื้อ ที่ได้อพยพและถูกกวาดต้อนลงมาในสมัยที่เราเรียกว่า เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง ในสมัยรัตนโกสินทร์ ตอนต้น เมื่อประมาณ 200 กว่าปี และพี่น้องชาวไทลื้อ ที่ได้อพยพย้ายถิ่นถ่านจาก จังหวัดน่าน และ อำเภอปง เข้ามาตั้งถิ่นฐานในอำเภอเชียงคำ ของเรา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2447 หรือประมาณ 111 ปี ที่ผ่านมา รองลองมา ก็เป็นพี่น้องชนชาติพันธุ์ลาว ที่ได้อพยพมาจาก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แถบเมืองคอบ เป็นต้น และ เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2500 ก็ได้มีพี่น้องชาวอีสาน จากทางภาพอีสาน เช่น จากจังหวัด ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ มหาสารคาม ขอนแก่น เป็นต้น ได้อพยพขึ้นมาตั้งรกรากปักฐานอยู่แถวบริเวณลุ่มน้ำอิง ในแถบตำบลอ่างทองในปัจจุบัน ก็เป็นประชากรรองๆลงมา และยังมีอีกหลายชนชาติพันธุ์ ที่จะได้นำมาเสนอต่อไปวันนี้นำเสนอชนชาติพันธุ์ไทยวน หรือ ไตยวน ที่เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์หลักของอำเภอเชียงคำของเรากันก่อนนะครับ ชนชาติพันธุ์ไทยวน ถือได้ว่าเป็นชนชาติพันธุ์ที่รักสงบ มีภาษาพูด ภาษาเขียน เป็นของตนเองรักความสงบ และชอบอยู่กับธรรมชาติ ปัจจุบันมักจะเรียกว่า คนเมือง หรือ คนล้านนา สามารถปรับตัวเข้ากับทุกชนชาติและทุกวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดีไทยวน (อ่านว่า ไท-ยวน) หรือ ไตยวน (อ่านว่า ไต-ยวน) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลภาษาไท-กะไดกลุ่มหนึ่งที่ตั้งถิ่นฐานทางตอนเหนือของประเทศไทยที่เคยเป็นที่ตั้งของอาณาจักรล้านนา ในอดีตคนล้านนามีหลายกลุ่มชาติพันธุ์ แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือ “ไทยวน” ซึ่งมีคำเรียกตนเองหลายอย่าง เช่น “ยวน โยน หรือ ไต(ไท)” และถึงแม้ในปัจจุบัน ชาวล้านนาจะกลายเป็นพลเมืองของประเทศไทยแล้วก็ตาม แต่ก็มักเรียกตนเองว่า “คนเมือง” ซึ่งเป็นคำเรียกที่เกิดขึ้นในภายหลัง ในยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง เพื่อฟื้นฟูประชากรในล้านนาหลังสงคราม โดยการกวาดต้อนกลุ่มคนจากที่ต่างๆเข้ามายังเมืองของตนไตยวน (ไต – ยวน) เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์หนึ่งในตระกูลภาษา ไต – กะไดคือ ไตลื้อ ไตเขิน ชาวยอง คนไต และไต-ยวน รวมเรียกว่า เครือไต ไตยวนเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุด มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง กลุ่มเครือไต ต่างใช้ภาษาพูดของไตยวน เป็นภาษากลางที่สื่อกันได้หมดเรียกว่า คำเมืองราวต้นพุทธศตวรรษที่ 13 มีพวกลัวะ หรือละว้า ตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณใกล้ดอยตุง มีปู่เจ้าลาวจก หรือลวจักราช เป็นหัวหน้า (จกคือจอบขุดดิน) ต่อมาได้สร้างบ้านเมืองในทุ่งราบเรียกชื่อว่า “หิรัญนครเงินยางเชียงแสน” ลูกหลานของปู่เจ้าลาวจกหรือลวจักราช ได้ขึ้นครองเมืองต่อเนื่องกันมาหลายสิบคน และได้มีการสร้างเมืองใหม่เรียกว่า “ภูกามยาวหรือพะเยา” มีผู้ครองเมืองต่อมาหลายคนจนถึง ขุนเจือง (พุทธศตวรรษที่ 17) และพญางำเมืองอาณาจักรหิรัญนครเงินยางเชียงแสน หรืออาณาจักรเงินยางนี้ประกอบด้วย เมืองเงินยาง เมืองไชยนารายณ์ เมืองล้านช้าง และเมืองเชียงรุ้งในสิบสองพันนาแคว้นโยนก (พ.ศ. 1835–2435) เป็นรัฐของชาวไทยวน ที่ตั้งอยู่แถบลุ่มน้ำโขงตอนกลาง อันเป็นที่ราบลุ่มของแม่น้ำกก เป็นตั้งของชุมชนที่มีมาช้านาน เช่น เมืองเงินยาง เมืองรอย และเมืองเชียงแสน แม้จะเป็นรัฐชายขอบที่ตั้งอยู่ใกล้กับอาณาจักรขนาดใหญ่ ขอม พุกาม และยูนนาน แต่ก็มีพัฒนาการที่รวดเร็วช่วงพุทธศตวรรษที่ 17 ก่อนที่จะพัฒนาจนสถาปนาอาณาจักรล้านนาในกาลต่อมา
ประวิติศาสตร์ ตำนานโยนกนาคพันธุ์ ได้กล่าวว่า พ.ศ.639 พระเจ้าสิงหลวัติได้พาผู้คนจำนวนมากอพยพทางได้จากเมืองหนองแส น่านเจ้าต้าลีฟู ทางประเทศจีนตอนใต้ เพื่อแสวงหาที่ตั้งเมืองใหม่จนมาพบที่เมืองร้างเก่า ชื่อ สวรรโคมคำ (บริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนริมฝั่งแม่น้ำโขง) และได้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่า โยนกนาคพันธุ์ ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองลำดับที่ 1 ในราบวงศ์ สิงหลวัติ เรียกพลเมืองว่า ชาวโยนก วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ในอดีตชาวไทยมักจะเข้าใจว่า ชาวล้านนามีภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกับชาวลาว จึงมีทัศนะว่า ชาวล้านนาเป็นคนลาว ดังนั้น การปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงจัดให้หัวเมืองล้านนา อยู่ในมณฑลพายัพหรือลาวเฉียงและมณฑลมหาราช จนเมื่อมีการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางแล้ว ชาวไทยจึงได้หล่อหลอมให้ชาวล้านนาเป็นชาวไทย ชาวไตยวน มีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นคนใจบุญ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีขนพธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ประเพณีวัฒนธรรม ของไตยยวน ไตยวน มีนิสัยสันโดษ รักสงบ รักธรรมชาติ เกื้อกูลต่อกัน ผิวขาว เชื่อถือ ยกย่องในบรรพบุรุษ ศรัทธาและนับถือพระพุทธศาสนา มีความเคารพและปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ตามกฎมังรายศาตร์ ในปีพ.ศ. 2454 แดเนียล แม็คกิลวารี ซึ่งทำงานเผยแพร่คริสต์ศาสนาในล้านนา เป็นเวลาเกือบห้าสิบปี (พ.ศ. 2410 – 2453) ได้เขียนหนังสือเรื่อง “กึ่งศตวรรษในหมู่ชาวสยามและชาวลาว” เรียกคนในล้านนาว่า “คนลาว” เรียกตั๋วเมือง (อักษรล้านนา) ว่าเป็น “ภาษาลาว” และเรียกดินแดนแห่งนี้ว่า “ลาว” ในงานเรื่อง “ชนชาติไท” และตีพิมพ์ในปี พ.ศ. 2466 วิลเลียม คลิฟตัน ด็อดด์ มิชชันนารีชาวอเมริกัน ซึ่งทำงานที่เชียงรายนานถึง 32 ปี (พ.ศ. 2429 – 2461) กล่าวถึงคนเขตภาคเหนือตอนบนของไทยว่าเป็น “คนยวน” มิใช่คนลาวดังที่หลายฝ่ายเข้าใจ แต่ความน่าสนใจของแม็คกิลวารี และ ด็อดด์ อยู่ที่ว่า คนทั้งสองได้ทำงานในล้านนาเป็นเวลานานมาก จึงน่าจะมีความรู้ความเข้าใจในท้องถิ่นอย่างมาก แต่คนทั้งสอง ก็มิได้แตกต่างจากชาวต่างชาติคนอื่น ที่เข้ามาเยือนภาคเหนือเหมือนกัน แต่อยู่ไม่นาน นั่นคือไม่พูดถึงการเมืองท้องถิ่น และมองคนในภาคเหนือ ในมุมมองที่แทบไม่แตกต่างจากมุมมองของชาวสยามทั่วไป ตามตำนานแล้ว ชาวไตยวนมีการอพยพหรือถูกกวาดต้อนไปในยุค เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมืองจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียว เราลองมาศึกษากันดูนะครับ ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก เป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลานาน มักเรียกตนเองว่า คนเมืองชาวไทยวนอาศัยอยู่ในเขต จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน และแพร่ รู้จักในนามไทยล้านนามีภาษาพูดใกล้เคียงกับ พวกไทลื้อ และไทเขินปัจจุบันชาวไทยวนได้รับอิทธิพลของไทยภาคกลางเป็นอย่างมาก ตามตำนานสิงหนวัติกล่าวว่า สิงหนวัติกุมาร โอรสของท้าวเทวกาล ซึ่งปกครองบ้านเมืองอยู่ทางยูนนาน ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ลุ่มน้ำโขงตอนใต้ซึ่งก็คือ เชียงราย เชียงแสน ในปัจจุบัน และตั้งชื่อเมืองว่า โยนกนคร หรือ โยนกนาคนคร คนทั่วไปเรียกเมืองโยนกนี้ว่า โยนก หรือ ยูน หรือ ยวน ไทยวน หรือ คนยวน ในจังหวัดสระบุรีเป็นไทยวน กลุ่มที่ อพยพมาจากเมืองเชียงแสน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2347 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งพระองค์ท่านโปรดเกล้าฯ ให้กรมหลวงเทพหริรักษ์ และ พระยายมราช พร้อมด้วยกองทัพลาว ยกทัพไปตีเมืองเชียงแสน ซึ่งในขณะนั้น ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพม่า เมื่อทัพไทยสามารถตีเมืองเชียงแสนได้แล้ว จึงให้รื้อกำแพงเมือง รื้อบ้านเมือง และได้รวบรวมผู้คนชาวเชียงแสนโดยได้แบ่งเป็น 5 ส่วน ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่เมืองเชียงใหม่ ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่ที่ลำปาง ส่วนหนึ่งอยู่ที่น่าน ส่วนหนึ่งอยู่ที่เวียงจันทน์ และอีกส่วนให้เดินทางมายังกรุงเทพ โดยให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราชบุรี สระบุรี ปู่เจ้าฟ้า หนึ่งในผู้นำคนยวนในสมัยนั้น ได้นำผู้คนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านเจ้าฟ้า ปัจจุบันมีศาลเจ้าฟ้า ตั้งอยู่ในหมู่บ้านนี้ เมื่อถึงวันสงกรานต์ ชาวบ้านจะอันเชิญดวงวิญญาณของปู่เจ้าฟ้า มาเข้าร่างทรงให้ลูกหลานได้สรงน้ำ และปู่เจ้าฟ้า ก็จะพยากรณ์เหตุการณ์บ้านเมือง หนานต๊ะ ซึ่งเป็นน้องชายของปู่เจ้าฟ้า ได้นำไพร่พลไปตั้งบ้านเรือน อยู่ที่บ้านสิบต๊ะ (ปัจจุบันคือบ้านสวนดอกไม้) เล่ากันว่า หนานต๊ะเป็นผู้ที่มีวิชาอาคมขลังและเก่งในการรบ และเป็นผู้ที่มีส่วน ร่วม ในการตัดต้นตะเคียนที่บ้านสันปะแหน เพื่อส่งมาคัดเลือกให้เป็นเสาหลักเมือง ที่กรุงเทพ เมื่อไม่ได้รับการเลือก เสาต้นนี้ล่องทวนน้ำกลับไปยังที่เดิมและก็ส่งเสียงร้องร่ำไห้ อันเป็นที่มาของชื่ออำเภอเสาไห้ ปัจจุบันเสาต้นนี้อยู่ที่วัดสูง อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี แต่เดิมนั้นที่ทำการเมืองสระบุรีอยู่ที่บริเวณบึงโง้ง ใกล้วัดจันทรบุรี ในอำเภอเสาไห้ในปัจจุบัน ชาวไทยวนได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมสองฝั่งแม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ที่ว่าการอำเภอเสาไห้ขึ้นไปทางตะวันออก ต่อมาจึงได้ขยับขยายทำเลที่ตั้งบ้านเรือนไกลจากแม่น้ำป่าสักออกไป ปัจจุบัน คนไทยวนตั้งถิ่นฐานอยู่แทบทุกอำเภอ ที่มีมากที่สุดคือ ที่อำเภอเสาไห้ อำเภอเมือง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอวังม่วง ภาษา ชาวไทยวน มีภาษาพูดภาษาเขียนเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง อักษรของชาวไทยวน มีใช้มาเป็นเวลานานแล้ว เมื่อได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรี ก็นำเอาอักษรเหล่านั้นมาใช้ด้วย ใช้เขียนลงในสมุดข่อยหรือจารบนใบลาน ชาวไทยวนเรียกอักษรนี้ว่า หนังสือยวน เรื่องที่บันทึกลงใบข่อยหรือสมุดไทย มักจะเป็นตำราหมอดู ตำราสมุนไพร เวทมนต์คาถาต่างๆ ส่วนเรื่องที่จารลง ใบลาน จะเป็นพระธรรมเทศนาเป็นส่วนใหญ่ ชาวไทยวนมักนิยมถวายคัมภีร์เทศน์ เพราะเชื่อว่าได้บุญมากส่วนใหญ่มักเป็นเรื่อง เวสสันดรชาดก ยอดพระไตรปิฎกคัมภีร์ยวนฉบับต่างๆได้รับต้นฉบับมาจากฝ่ายเหนือ เมื่อได้มาก็คัดลอกจารต่อๆกันมา ชาวไทยวนมีการร้องเพลง เรียกว่า จ๊อย เป็นการร้องด้วยสำนวนโวหาร อาจจะเป็นการจ๊อยคนเดียว หรือจ๊อย โต้ตอบกันก็ได้ การจ๊อยนี้ จะไม่มีเครื่องดนตรีประกอบ เนื้อหาในการจ๊อย อาจจะเกี่ยวกับนิทานชาดก คำสอน ประวัติตลอดจนการเกี้ยวพาราสี เรือนของชาวไทยวนนั้น มีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เรือนเชียงแสนหรือเรือนกาแล กล่าวคือจะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาเหนือจั่ว เรือนส่วนบนจะผายออก ที่เรียกว่า เรือน อกโตเอวคอด เมื่อชาวเชียงแสนได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีในตอนต้นนั้น มีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง ดังที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทรบุรี จากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ใน ชุมชนบ้าน เสาไห้ก็พบว่า แต่เดิมนั้นมีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง การแต่งกาย จากภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังอุโบสถวัดจันทรบุรี อำเภอเสาไห้ ซึ่งเขียนขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 และอุโบสถวัดสมุหประดิษฐาราม อำเภอเสาไห้ ซึ่งเป็นภาพที่แสดงให้เห็นถึง วิถีชีวิตการแต่งกายของชาวไทยวนในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดี ที่อยู่อาศัย เรือนของชาวไทยวนนั้น มีเอกลักษณ์เฉพาะเรียกว่า เรือนเชียงแสนหรือเรือนกาแล กล่าวคือจะมีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาเหนือจั่ว เรือนส่วนบนจะผายออก ที่เรียกว่า เรือน อกโตเอวคอด เมื่อชาวเชียงแสนได้อพยพมาอยู่ที่สระบุรีในตอนต้นนั้น มีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง ดังที่ปรากฏในงานจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทรบุรีจากการสอบถามคนเฒ่าคนแก่ในชุมชน บ้าน เสาไห้ก็พบว่า แต่เดิมนั้นมีการปลูกเรือนกาแลอยู่บ้าง ความเชื่อชาวไทยวน มีความเชื่อในเรื่องผี ซึ่งอาจให้คุณหรือโทษได้ ผีที่ชาวไทยวนให้ความสำคัญได้แก่ ผีเรือน หรือ ผีประจำตระกูล หรือ ผีบรรพบุรุษ คนยวนเรียก ผีปู่ย่า คนยวน 1 ตระกูล จะมีศาลผีหรือหิ้งผีอยู่ที่บ้านของคนใดคนหนึ่ง เมื่อลูกหลานในตระกูลนี้ เมื่อลูกหลานคนใดแต่งงานก็จะพากันมาไหว้ผีปู่ย่าที่บ้านนี้ หรือในช่วง เทศกาลสงกรานต ์ก็จะพา กันมาไหว้ผีปู่ย่าเช่นกัน ผีประจำหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้านจะมีศาลผีประจำอยู่ บางหมู่บ้าน อาจจะมีมากกว่าหนึ่งศาล เช่นที่ บ้านไผ่ล้อม อำเภอเสาไห้ มีศาลเจ้าชื่อ ปู่เจ้าเขาเขียวโปร่งฟ้า มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า เดิมปู่เจ้าอยู่ที่เชียงดาว เชียงใหม่ ในครั้งที่มีการอพยพ ได้มีคนเชิญให้ร่วมทางมาด้วย เพื่อคุ้มครองลูกหลานยวนที่เดินทางมาในครั้งนั้น และได้ปลูกศาลให้ท่านอยู่ เชื่อกันว่า เจ้าปู่ นี้มักจะกลับไปอยู่ที่เชียงดาว เมื่อถึงวันสงกรานต์ ก็จะมาเยี่ยมลูกหลานของท่านทุกๆ ปี ผีประจำวัด เรียกว่า เสื้อวัด ทุกวัดจะมีศาลเสื้อวัดประจำอยู่ทุกๆ วัด บางวัดมีมากกว่า 2 ศาลเวลามีงานวัด จะต้องจุดธูปบอกเสื้อวัดเสียก่อน ผีประจำนา เรียกว่า เสื้อนา ความเชื่อเรื่อง เสื้อนามีมานาน ดังที่ปรากฏในหนังสือกฎหมายมังรายศาสตร์ ฉบับวัดเสาไห้ กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า “ผู้ใดขี้ใส่นาแรกท่าน ตั้งแต่ตอนหว่านกล้าไปจนถึงตอนจะย้ายปลูกจะเก็บเกี่ยวให้ มันหาเหล้า 2 ไห ไก่ 2 คู่ เทียน 2 เล่ม ข้าวตอกดอกไม้ มาบูชาขวัญข้าว และเสื้อนาผิดเพียงแต่เยี่ยว ไม่ได้ขี้ ให้ มันหาไก่คู่หนึ่ง เหล้าขวดหนึ่งเทียนคู่หนึ่ง้าวตอกดอกไม้บูชาเสื้อ นา……” ความเชื่อเรื่องเสื้อนานี้ เมื่อถึงเดือนหก แม่บ้านจะทำขนมบัวลอยไปวางเซ่นที่นาเพื่อเลี้ยงเสื้อนาของตนทุกปี ประเพณีขึ้นท้าวทั้ง 4 ชาวไทยวนเรียก “ต๊าวตังสี่” หมายถึง ท้าวจตุโลกบาล ซึ่งเป็นเทวดาประจำทิศทั้งสี่ ก่อนที่จะมีงานใดๆ จะทำการเลือกสถานที่ๆ เหมาะสม เอาไม้ 5 ท่อนมา ปักเป็นเสา 4 มุม เสาต้นกลางสูงกว่าเสาสี่มุม บนเสานี้จะวางเครื่องเซ่น เช่น หมาก บุหรี่ ดอกไม้ธูปเทียน กระทงอันกลาง เป็นของพระอินทร์ ผู้รู้พิธีจะเป็นคนกล่าวเชิญเทพทั้ง 4 มารับเครื่องเซ่นและมาช่วนปกป้องคุ้มครองงานของตนให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย ส่วนคนไตยวนที่ถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่ราชบุรี ก็มีเรื่องราวดังนี้ ก่อนปีพุทธศักราช ๒๓๔๗ คนไทยเชื้อสายไทยวน คือคนเมืองที่เคยมีความรุ่งเรืองในชื่อ “โยนกเชียงแสนนคร” มีบ้านเรือนอยู่ในเมืองเชียงแสน (ปัจจุบัน คือ อำเภอเมืองเชียงแสนจังหวัดเชียงราย) ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๔๗ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพเมืองหลวง น่าน ลำปาง เชียงใหม่และเวียงจันทร์ ขับไล่พม่าออกไปจากเมืองเชียงแสนและทำลายเมืองเชียงแสนทิ้ง พร้อมกันนั้นได้โปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายชาวเชียงแสนทั้งหมดโดยแบ่งให้กองทัพ ทั้งห้านำไปไว้ ณ เมืองดังกล่าว ในส่วนที่ติดตามกองทัพหลวงลงมากรุงเทพฯ ขณะที่ผ่านลุ่มแม่น้ำป่าสัก (บริเวณอำเภอเสาไห้) จังหวัดสระบุรี ก็ตั้งถิ่นฐานอยู่ที่นั้นส่วนหนึ่ง พี่น้องไทยวน ส่วนหนึ่งขอตั้งบ้านเรือนทำกินอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนที่เหลือเดินทางมาพำนักชั่วคราวที่กรุงเทพฯ ระยะหนึ่ง บริเวณบางขุนพรหม จากนั้นได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เคลื่อนย้ายมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่ราชบุรี บ้านไร่นที ริมฝั่งขวาของแม่น้ำแม่กลอง ออกไปจากตัวเมือราชบุรีทางทิศตะวันออกเป็นแห่งแรก ในการตั้งบ้านเรือนของชาวเมืองเชียงแสน ต่อมาครัวเรือนมากขึ้น จึงขยายไปตั้งบ้านเรือนหาแหล่งทำกินอีกหลายพื้นที่ ในจังหวัดราชบุรี เช่น คูบัว ดอนตะโก ห้วยไผ่ ดอนแร่ หินกอง ห้วยปลาดุก หนองโพ บางกะโด หนองปลาหมอ รางบัว นาขุนแสน ทุ่งหลวง หนองนกกระเรียน ที่นครปฐม เช่น บ้านทัพหลวง กาญจนบุรี เช่น บ้านรางสาลี่ บ้านแปดหลัง ไทรโยค พุมุด พุเตย ฯลฯ มีประชากรเชื้อสายไทยวน ในจังหวัดราชบุรีประมาณ ๘๐,๐๐๐ กว่าคน ศิลปะประเพณี วัฒนธรรมบางอย่าง ของคนไทยวนในจังหวัดราชบุรีที่สืบเชื้อสายมาจากบรรพชน จากอดีตถึงปัจจุบัน ยังได้มีการสืบทอดกันมาอย่างต่อเนื่อง บางครั้งก็รุ่งเรือง บางทีก็เสื่อมถอย ตามกระแสการบริโภควัฒนธรรมต่างชาติที่เชี่ยวกราก แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ภูมิปัญญาทอผ้าจกก็ได้รับการอนุรักษ์หวงแหนไว้ให้ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน เมื่อชาวไทยวนจากเมืองเชียงแสนมาตั้งถิ่นฐานที่ ตำบลคูบัว ประมาณ ๒๐๐ ปี ล่วงมาแล้ว (๒๕๔๗) ย่า ยายของพวกเรา ก็ได้นำภูมิปัญญาการทอผ้าจก ที่มีอยู่ในสายเลือด มาทอใช้นุ่งห่มเป็นเอกลักษณ์ของชาวไทยวนเมืองเชียงแสน ต่อมาประมาณ ๖๐ กว่าปีล่วงมาแล้ว ลูกหลานไทยวนหันไปใช้ผ้าทอจากโรงงาน จึงทำให้การทอผ้าจึงลดน้อยลงเกือบสูญหายไป จากครัวเรือน จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๔๗ ด้วยความสำนึก ที่ต่อการเชิดชูภูมิปัญญาของบรรพชนของตน ให้เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั่วไป ลูกหลานไทยวน ในราชบุรี จึงได้ฟื้นฟู ศิลปะผ้าจกให้เป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นสืบต่อไป อีกที่มาหนึ่ง ตามตำนานสิงหนวัศิกล่าวว่า สิงหนวัศิกุมาร ได้อพยพผู้คนบริวารมาจากเมืองราชคฤห์ เข้าใจว่า อยู่ในแคว้นยูนาน มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เชียงแสน ราวต้นสมัยพุทธกาล ตั้งชื่อบ้านเมืองนี้ ว่า “โยนกนคร” เรียกประชาชนเมืองนี้ว่า “ยวน” ซึ่งเป็นเสียงเพี้ยนมาจากชื่อเมือง “โยนก” นั่นเอง พ.ศ. 2347 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ โปรดฯ ให้ทัพหลวงไปตีพม่าออกจากเชียงแสน พม่าแพ้ ท่านให้ทำลายเมือง และรวบรวมผู้คนชาวเมืองเชียงแสนได้ 23,000 คน แบ่งคนเหล่านี้ออกเป็น 5 ส่วน ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่เชียงใหม่ ส่วนหนึ่งไปอยู่ลำปาง ส่วนหนึ่งไปอยู่น่าน ส่วนหนึ่งให้ไปอยู่เวียงจันทน์ ส่วนหนึ่งนำมาใต้ โดยให้คนยวนกลุ่มหนึ่ง ไปอยู่ที่สระบุรีอีกกลุ่มหนึ่งให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ราชบุรี อันเนื่องมาจากสมัยก่อนโน้น ที่ตัวเมืองสระบุรีอยู่ที่ท้องที่อำเภอเสาไห้ ที่ว่าคนยวนมาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ท้องที่อำเภอเสาไห้นี่เอง โดยตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำป่าสักทั้งสองฝั่ง ตั้งแต่ตะวันออกของที่ตั้งที่ว่าการอำเภอเสาไห้ขึ้นมาโดยปลูกบ้านรวมอยู่เป็นกลุ่ม เพื่อสะดวกในการช่วยเหลือกันและการตั้งบ้านเรือนริมฝั่งแม่น้ำก็เพื่อสะดวกในการใช้น้ำไปทางสัญจร หลังบ้านออกไปก็จะเป็นทุ่งนา ลักษณะของเรือนไทยวน ก็คงจะพัฒนามาจากเรือนชั่วคราว (กระท่อม) ก่อนแล้วมาปลูกเป็นเรือนถาวรอันเนื่องจากวัฒนธรรมเดิมของไทยวน จะมีเรือนกาแล ลักษณะ มีไม้ไขว้อยู่บนหลังคาหน้าจั่วเรือน ส่วนบนผายออก เรียกว่า เรือนอกโตเอวคอด ดังนั้น เมื่อแรกเริ่มคนไทยวน ก็ปลูกเรือนกาแลอยู่ดังภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดจันทบุรี อำเภอเสาไห้ ในปัจจุบันจะมีบ้านทรงสมัยใหม่ภาคกลาง เป็นจำนวนมาก เมื่อชาวไทยวนได้มาอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านมั่นคงแล้ว ก็มีการเรียกชื่อหมู่บ้านของตนเอง ตามสภาพภูมิศาสตร์บ้าง เช่น หมู่บ้านที่มีต้นตาลมาก ก็จะเรียก บ้านต้นตาล หมู่บ้านที่มีกอไผ่มากก็จะเรียกบ้านไผ่ล้อม หมู่บ้านที่มีต้นยางมากก็จะเรียกว่าบ้านยาง เป็นต้น บางหมู่บ้าน ก็จะเรียกชื่อหมู่บ้านตามชื่อบุคคลสำคัญ เช่น บ้านสิบต๊ะ (ปัจจุบันคือบ้านสวนดอกไม้) ตามชื่อของหนานต๊ะ ผู้นำหมู่บ้านไทยวน มาตั้งถิ่นฐานรุ่นแรก บ้านเจ้าฟ้า ก็คือ ปู่เจ้าฟ้านำคนยวนมาตั้งอยู่ถิ่นนี้ เป็นต้น เมื่อคนไทยวนมีประชากรมากขึ้น ก็จะอพยพไปตั้งบ้านเรือน ห่างจากริมฝั่งแม่น้ำป่าสักออกไป เช่น ในท้องที่อำเภอเมืองสระบุรี อำเภอเฉลิมพระเกียรติ ปัจจุบันจังหวัดสระบุรีมี 13 อำเภอ จะไม่มีคนยวนในอำเภอหนองโดนและอำเภอดอนพุด นอกนั้น มีคนไทยวนจำนวนมากมาย รวมกระทั่ง อพยพไปอยู่ในต่างจังหวัดด้วย เช่น อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี เป็นต้น คนไทยวนจะประกอบอาชีพทำนาเป็นหลัก จนกระทั่ง “ข้าวเสาไห้” เป็นที่มีชื่อเสียงในเมืองไทยสรุปแล้วคนไทยวนจะมีลักษณะ 10 ประการ คือ นักเดินทาง ชอบสร้างบุญ อุดหนุนกัน ขยันดี กวีเก่ง นักเลงสือ ฝีมือดัง ของขลังมั่น กตัญญู รักหมู่พวก ไทยวน หรือ ไทยล้านนา หรือ โยนก เป็นกลุ่มชนกลุ่มใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในดินแดนล้านนามาเป็นเวลานาน มักเรียกตนเองว่า คนเมืองชาวไทยวนอาศัยอยู่ในเขต จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน และแพร่ รู้จักในนามไทยล้านนามีภาษาพูดใกล้เคียงกับ พวกไทลื้อ และไทเขินปัจจุบันชาวไทยวนรับอิทธิพล การศึกษาในเรื่องคนเมือง ไทยวน หรือไตยวน ยังไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจน แต่สามารถกล่าวถึงลำดับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของคนเมืองได้เป็น 4 ช่วง คือ 1) ยุคก่อนสร้างบ้านเมืองล้านนา มีการศึกษาทางโบราณคดี มีการขุดค้นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมของผีตองเหลือง หรือลัวะ นอกจากนี้ จากตำนานสิงหนวัติ กล่าวถึงลัวะ กับการแลกเปลี่ยนของลาวจก ละว้า และขอม ตามตำนานกล่าวถึงเมือง 3 เมือง คืออาณาจักรโยนกนาคพันธุ์ บริเวณลุ่มน้ำกกและน้ำโขง อาณาจักรหริภุญไชย ลำพูน และอาณาจักรหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ต่อมาพญามังรายได้เข้ามายึดครองเมืองหริภุญไชย ในปี พ.ศ. 1835 แล้วมาก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ ชื่อว่า “พิงครัฏฐ” ในปี พ.ศ. 1839 2) ยุคสร้างบ้านแปงเมืองล้านนา ยุคสมัยมังราย สร้างเมือง “พิงครัฏฐ” บริเวณดอยสุเทพ ซึ่งเดิมเป็นที่ของลัวะ คือเมืองเชษฐบุรี เมืองพิงครัฏฐจึงกลายเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรล้านนา ทิศเหนือติดกับแม่สาย เชียงรุ้ง ทิศตะวันออกถึงแม่น้ำโขง ทิศทิศใต้ถึงบริเวณลำปาง อุตรดิตถ์ ตาก ทิศตะวันตกบริเวณระหว่างเชียงใหม่กับสาละวิน อาณาจักรล้านนารุ่งเรืองที่สุดในปี พ.ศ. 1914 – 2068 ซึ่งเป็นช่วงที่พระพุทธศาสนาลังกาวงศ์เข้ามาเผยแพร่ และมีเศรษฐกิจอยู่ในขั้นดี 3) ยุคล่มสลายของล้านนา เกิดจากความขัดแย้งภายในกลุ่มผู้ปกครอง ในสมัยพญาเกตุกษัตริย์องค์ที่ 12 ของราชวงศ์มังราย และการขยายอิทธิพลของราชวงศ์ตองอู ที่มีพระเจ้าบุเรงนองเป็นกษัตริย์ พม่าสามารถบุกยึดล้านนาได้ในปี พ.ศ. 2099 มีการส่งเชื้อสายกษัตริย์ของพม่าข้ามาปกครองในช่วงปี พ.ศ. 2101 – 2317 4) ยุคกู้บ้านฟื้นเมืองล้านนาและการผนวกเข้ากับสยามประเทศ จ่าบ้านบุญมา ข้าราชการที่เชียงใหม่และเจ้ากาวิละ ลูกเจ้าฟ้าเมืองลำปาง ร่วมกันก่อกบถจากพม่า สามารถยึดเชียงใหม่คืนได้ในปี พ.ศ. 2347 และถูกรวมเป็นประเทศราชเข้ากับสยามอย่างเป็นทางการ เมื่อปี พ.ศ. 2417 โดยมีการส่งข้าหลวงจากกรุงเทพฯ มาประจำการที่เชียงใหม่ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อล้านนาไปตามมณฑลการปกครอง คือ มณฑลลาวเฉียง ปี พ.ศ. 2442 มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ ปี พ.ศ. 2444 มณฑลพายัพ ปี พ.ศ.2457 และในปี พ.ศ. 2476 ยกเลิกการปกครองแบบเทศาภิบาลและมณฑล เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบจังหวัด ล้านนามีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี กลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยพื้นราบเป็นหลัก ได้แก่กลุ่มคนไต หรือไท มีทั้งไทยวนหรือคนเมือง ไทลื้อ / ไทยองและไทใหญ่ (หน้า352 – 356) ความเป็นคนเมือง คือกลุ่มชาติพันธุ์ที่หลากหลาย เข้ามาอาศัยอยู่ในล้านนา ตั้งแต่อดีต มีหลากหลายชาติพันธุ์ ทั้งลัวะ มอญ ขอม ไต เช่นไตลื้อ ไตเขิน ไตยอง ไตใหญ่ เป็นบรรพบุรุษของกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “คนเมือง” หรือไทยวน ปัจจุบัน การเรียกตนเองว่า คนเมือง ยังไม่มีหลักฐานบ่งชี้ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่งานศึกษาบางชิ้นกล่าวว่า การเรียกตนเองว่าคนเมือง เป็นการตอบโต้การดูถูกเหยียดหยามทางชาติพันธุ์จากพม่าที่เข้ามาปกครองหัวเมืองต่างๆ ในล้านนา ขณะที่บางท่านเสนอว่า เป็นการตอบโต้และชี้แจงคำเรียกหาของคนไทยภาคกลางที่เรียกคนล้านนาว่า “ลาว” (หน้า 355) อาณาจักรล้านนาเป็นของคนลาวหรือป่าวหรือว่าเป็นของคนละว้า หรือ มอญกันแน่ ถ้าคำว่า ไตยวน มาจากเมือง โยนกเชียงแสน แล้วอะไรที่เก่าแก่กว่า ไตยวน แต่ว่าอาณาจักรสุโขทัยเป็นของคนลาวอย่างไม่ต้องสงสัย (ตั้งแต่เขตจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป) ส่วนอาณาจักรอยุธยาก็เป็นของสยาม (ตั้งแต่เขตจังหวัดกำแพงเพชรลงมา) “ล้านนา” เป็นชื่ออาณาจักร ก้ต้องประกอบด้วยหลายๆกลุ่มชนชาติพันธุ์อยู่แล้ว เช่นเดียวกับอาณาจักรโบราณอื่นๆหรือประเทศต่างๆในปัจจุบัน แต่ประชากรหลักเป็น”ไทยวน” กับไทกลุ่มอื่น เช่น ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ ฯลฯ ส่วนคนลาวมีเหมือนกัน แต่มีน้อย ไม่ใช่คนกลุ่มหลักของล้านนา ถ้าจะพูดให้ถูก ก็ต้องบอกว่า ในล้านนา มีคนลาวอยู่ด้วย แต่คนล้านนาไม่ใช่ลาวทั้งหมด หรือ ในลาวเอง ก็มีลื้อ ขมุ ม้ง พวน ฯลฯ จะบอกว่า ลาวเป็นขมุทั้งหมดก็ไม่ใช่ ต้องบอกว่า ในลาวมีขมุ ส่วนคำว่า ลาวใน ปู่เจ้าลาวจก ไม่ใช่ชื่อเชื้อชาติ แต่เป็นตำแหน่ง คำว่า ลาว ในสมัยโบราณ หมายถึง ยิ่งใหญ่ มีอำนาจ และในสมัยนั้น ยังไม่มีล้านนา ไม่มีล้านช้าง ไม่มีสุโขทัย ไม่มีอยุธยา การจะบอกว่า ปู่เจ้าลาวจก เป็นบรรพบุรุษลาว ก็คงไม่ถูก ต้องบอกว่า เป็นบรรพบุรุษไท ครับ ลาวก็คือไทกลุ่มหนึ่งนั่นเอง “พญามังราย” เป็นปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา ท่านเป็นผู้ก่อตั้งเมืองเชียงใหม่ หลังจากได้รับชัยชนะจากการยกทัพเข้าตีเมืองหริภุญไชยแตก ซึ่งนับเป็นจุดเริ่มต้นของอาณาจักรล้านนา ก่อนหน้านั้นเป็นอีกอาณาจักร คือ เชียงแสน หิรัญเงินยาง เป็นโยนก ถือว่า เป็นคนละอาณาจักรแม้ว่าพญามังราย เป็นกษัตริย์ของเชียงแสนด้วย แต่พระองค์ก็ทรงเปลี่ยนที่ตั้งเมืองหลวง เปลี่ยนชื่ออาณาจักรและเปลี่ยนชื่อราชวงศ์ เราจึงถือว่า พระองค์เป็นปฐมกษัตริย์แห่งล้านนา ถ้าจุดเริ่มต้นของล้านนา คือพญามังราย เหตุใดพงศาวดารสมัยของของพระองค์ ถึงเรียกว่าพงศาวดารโยนก แทนที่จะใช้คำว่า “พงศาวดารล้านนา” พงศาวดารโยนก ทางภาคเหนือไม่นิยมเรียกพงศาวดาร มักจะใช้คำว่า ตำนาน เช่น ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานจามเทวีวงศ์ ตำนานพระแก้วมรกต ตำนานมูลศาสนา ฯลฯ ส่วนคำว่า พงศาวดารใช้กันในอยุธยาและรัตนโกสินทร์ มีกรณีถกเถียงกันเรื่องชื่อที่ถูกต้องของพญามังรายหรือเม็งรายกันแน่ หนังสือ “พงศาวดารโยนก” แต่งโดย พระยาประชากิจกรจักร หรือ แช่ม บุนนาค ครั้งแรกได้รับการตีพิมพ์เป็นตอน ๆ ลงหนังสือวชิรญาณ พ.ศ.2441-2442 (ตีพิมพ์ครั้งแรก) ต่อมาได้รวบรวมเป็นเล่มและตีพิมพ์เป็นครั้งที่สองเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2449 โดยท่านเขียนพระนามว่า “พระยาเมงราย/เมงราย” ไว้ในบทนำและเนื้อหาเขียนเป็น “เมงราย” ตลอดเล่ม ซึ่งขัดแย้งกับหลักฐานจากศิลาจารึกตำนานและเอกสารต่าง ๆ ที่พบ ศ.สรัสวดี อ๋องสกุล แสดงทัศนถึงประเด็นนี้ว่า “นักประวัติศาสตร์ไม่สามารถแก้ชื่อคนได้ มันผิดจรรยาบรรณ เราต้องยืนตามหลักฐานที่ปรากฏเท่านั้น” ทั้งยังพูดทิ้งท้ายว่า “หนังสือพงศาวดารโยนก” ผู้เขียน (พระยาประชากิจกรจักร หรือ แช่ม บุนนาค) มีการแก้ไขและชำระตามความคิดของตนเอง เวลาอ่านต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ” * การเขียนประวัติศาสตร์แบบตำนาน หลักฐานประเภทบันทึก ที่เป็นลายลักษณ์อักษรถือเป็นหลักฐานเก่าแก่ที่สำคัญที่สุดของไทย เนื้อเรื่องสวนใหญ่ จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวทางพุทธศาสนา ผู้แต่งส่วนใหญ่ มักจะเป็นพระภิกษุสงฆ์ นอกจากนั้น ตำนานยังมีการกล่าวถึงราชวงศ์ต่างๆ ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมา ซึ่งพอจะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์อยู่บ้าง แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง และรอบคอบมากขึ้น ในการประเมินคุณค่าอย่างมีวิจารณญาณตัวอย่างตำนานที่สำคัญและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ตำนานสิงหนวัติกุมาร ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ตำนานมูลศาสตร์และชินกาลมาลีปกรณ์ ส่วนตำนานที่มีลักษณะเฉพาะของเรื่องที่แคบลง ได้แก่ ตำนานปูชนียวัตถุและปูชนียสถาน เช่น นิทาน พระพุทธสิหิงค์ และตำนานพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช เป็นต้น * การเขียนประวัติศาสตร์แบบพงศาวดารเดิม สันนิษฐานกันว่า เริ่มมีพงศาวดารขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 17 หรืออาจมีขึ้นในสมัยพระนารายณ์ โดยดูจากพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ แต่ต่อมา มีการค้นพบพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับวันวลิต พ.ศ.2182 (ค.ศ. 1640) The short History of the kings of Siam by Jeremias van Vliet ซึ่งเก่ากว่าพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ พงศาวดารฉบับนี้ เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าและพงศาวดารฉบับเก่าๆ และล่าสุด มีการค้นพบพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาอีกฉบับหนึ่ง คือ The 2/k 125. Alost Chronicle ofAyutthaya (พงศาวดารกรุงศรีอยุธยา เลขที่ 2/ก.125) โดย Michael Vickery จึงเห็นได้ว่าการเขียนพงศาวดารของไทย มีการคัดเลือกต่อๆ กันมาเป็นเวลานาน ซึ่งถ้ามีการสืบค้นหาหลักฐานประเภทนี้อย่างละเอียดแล้ว ก็อาจจะมีการค้นพบใหม่ๆ เพิ่มขึ้นอีก ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีการชำระและเขียนพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาขึ้นใหม่ ฉบับล่าสุดที่มีการชำระ คือ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพระราชหัตถเลขาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื้อเรื่องส่วนใหญ่ของพงศาวดาร จะเน้นพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์เป็นสำคัญ ซึ่งแตกต่างจากหลักฐานประเภทตำนาน ที่นำเสนอเป็นประวัติศาสตร์โดยเน้นพุทธศาสนาต่อมาในช่วงหลังคริสต์ศตวรรษที่ 19 การเขียนประวัติศาสตร์ไทย ได้เข้าสู่หัวเลี้ยวหัวต่อตามแบบสากลสมัยใหม่ เช่น งานของพระเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุนนาค) ชื่อพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ 1–4 แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากเป็นงานที่เขียนตามลำดับเวลา (Chronology) โดยเรียงเหตุการณ์จากรายงานราชการทัพ ปูมและจดหมายเหตุที่เกิดขึ้นแต่ละปี แต่ไม่ได้มีการอธิบายภูมิหลัง ทำให้งานเขียนนี้ไม่มีความต่อเนื่อง ของเหตุการณ์ จนต่อมา พระยาประชากิจกรจักร์ (แช่ม บุนนาค) ได้พัฒนางานเขียนพงศาวดารขึ้น ชื่อ “พงศาวดารโยนก” โดยได้เพิ่มเติมในส่วนของการแสดงความคิดเห็นส่วนตัวและได้ตรวจสอบ เทียบเคียงกับพงศาวดารฉบับอื่น จนต่อมา ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 งานเขียนประวัติศาสตร์ ได้เปลี่ยนรูปแบบเป็นสากลอย่างแท้จริง ผู้มีบทบาทสำคัญในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ กรมพระนราธิปพงศ์ประพันธ์ ซึ่งมีผลงานที่สำคัญ คือ พงศาวดารไทยใหญ่และพงศาวดารพม่ากับสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ซึ่งมีผลงานที่สำคัญ คือ ไทยรบพม่าพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพระราชหัตถเลขา ตำนานพระพุทธเจดีย์ เป็นต้น ลักษณะเด่นของงานประวัติศาสตร์ในช่วงนี้ คือ มีการเห็นความสำคัญของความเที่ยงแท้ของข้อเท็จจริง (Accurecy) เน้นการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ตัวบุคคล เพราะเชื่อว่าปรากฏการณ์ใหญ่ๆ ในประวัติศาสตร์ มักจะอธิบายด้วยการกระทำของบุคคล ตลอดจนมีการมองภาพประวัติศาสตร์ในมุมกว้าง (Perspective) การจะนับแบ่งยุคสมัย ก็ขึ้นกับมุมมองของแต่ละคนเช่นกัน แต่ตำราประวัติศาสตร์โดยทั่วไปเราถือว่า เป็นการเปลี่ยนยุคสมัย จากหิรัญเงินยางเชียงแสนเป็นล้านนา แล้วในยุคนี้ เมื่อมีการย้ายเมืองหลวง สร้างระบบอาณาจักรใหม่ สถาปนาราชวงศ์ใหม่ คำว่า “ล้านนา” เป็นชื่ออาณาจักร (ที่เกิดใหม่ในสมัยพญามังราย) ส่วนคำว่า “ยวน” หรือ “โยน” หมายถึง กลุ่มชาติพันธุ์ไทกลุ่มหนึ่ง หรือกลุ่มวัฒนธรรมไทกลุ่มหนึ่ง จะสมัยก่อนหน้าพญามังราย หรือหลังพญามังราย หรือปัจจุบันก็ยังเรียก “ยวน คนยวน หรือ ไทยวน” เรียกกันมาแต่สมัยดึกดำบรรพ์ จนเมื่อรับพระพุทธศาสนาเข้ามา ภาษาบาลี จึงมีอิทธิพลต่อการเขียนตำนานเมืองมาก จึงแปลงเสียงจาก ยวน โยน เป็น “โยนก” ดังนั้น ชื่อดั้งเดิมจริงๆก็คือ ยวน หรือ โยน ส่วน โยนก น่าจะเกิดจากการเขียนวรรณกรรมตำนานเมืองในสมัยหลัง โดยลากเสียงลากรูปเข้าทางบาลี เพื่อให้ดูศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับชื่อบ้านนามเมืองในภูมิภาคนี้ แต่ในภาคเหนือคำว่า ”คนเมือง” อาจกลบคำว่า ยวนไป แต่คนยวนที่ถูกกวาดต้อนไปในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ก็ยังเรียกตัวเองว่า “ยวน” ดังนั้น จะเรียกตัวเอง ตามชื่ออาณาจักรหรือจะเรียกตัวเองตามชื่อชาติพันธุ์ ก็ได้ทั้งนั้น จะเปลี่ยนเป็นอีกกี่อาณาจักรหรือถูกกวาดต้อนไปอยู่ที่อื่น ก็ยังเรียกตัวเองว่า “ยวน”ได้ ถ้ายังสำนึกว่า เป็นคนในกลุ่มชาติพันธุ์นี้ และยังรักษาวัฒนธรรมของกลุ่มชนอยู่ ในยุคต้นๆ จึงนิยมเรียกตามกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิมมากกว่าชื่ออาณาจักรใหม่ จนสมัยหลังๆ ผู้คนรับรู้ตัวตนความเป็นอาณาจักรล้านนามากขึ้น ล้านนาเป็นปึกแผ่นมากแล้ว อย่างที่ว่าสมัยพระเมืองแก้วก็ปลายๆราชวงศ์มังรายแล้ว สรุปก็คือ คนยวน คนไทยวน คนไตยวน ก็คือ คนเมือง หรือ คนล้านนานั่นเอง เมื่อวิถีชีวิตเปลี่ยนไป สังคมมีการติดต่อกับหลากหลายชนชาติพันธุ์ ทำให้ชื่อ ไตยวน อาจจะไม่ได้ถูกเรียก ส่วนใหญ่จะเรียกตนเองว่าคนเมือง คนเหนือ คนล้านนา แต่วิถีชีวิตของคนยวนหรือคนเมืองล้านนาเรา มักจะมีวิถีชีวิตที่เรียบง่าย เข้ากับผู้คนได้ทุกวัฒนธรรมประเพณีและกับทุกชนชาติพันธุ์ ดังนั้น เมื่อมีการแต่งงานข้ามชนชาติพันธุ์ เช่น คนเมืองแต่งกับชนชาติพันธุ์ไทลื้อ ก็จะมีการผสมผสานการใช้วัฒนธรรมประเพณีร่วมกันได้อย่างลงตัวเป็นต้น ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยาของเรา ก็ถือได้ว่า มีคนยวนหรือคนเมืองล้านนา อยู่จำนวนมาก ที่สืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรภุกาม หิรัญนคร โยนก เชียงแสน และอาณาจักรล้านนา มีการอพยพและถูกกวาดต้อน ดังที่พวกเรา มักจะได้ยินบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย พ่ออุ้ยแม่อุ้ย มักจะบอกว่า บรรพบุรุษของเรามาจากจังหวัดน่าน จากค้นสืบค้นทางประวัติศาสตร์ ทำให้เชื่อได้อย่างมั่นใจว่า คนเชียงคำส่วนใหญ่บรรบุรุษมีมาแต่นันทบุรีหรือเมืองน่านจำนวนมาก และส่วนใหญ่ก็ได้มาอยู่หลังจากที่ พม่าแพ้ทัพและได้ยกทักกลับไป ทำให้เกิดการตั้งรกรากปักฐานบ้านเมืองขึ้นมาอีกครั้งหนึ่ง ประมาณปีพุทธศักราช 2101 เป็นต้นมา จากการศึกษาประวัติศาสตร์ คนเชียงคำ หรือ คนเมือง ได้อพยพมาส่วนใหญ่จะมาประมาณปีพุทธศักราช 2300 แล้วมาตั้งถิ่นฐานอยู่แถวเชียงคำ เนื่องด้วยมีพื้นที่อุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำสายสำคัญที่หล่อเลี้ยงไหลผ่าน เช่น แม่น้ำลาว และแม่น้ำยวน เป็นต้น และชนชาติพันธุ์ไทยวน ก็ถือเป็นชนชาติพันธุ์กลุ่มหลักๆ ประมาณกว่า 60 เปอร์เซนต์หากเทียบกับจำนวนประชากรทั้งอำเภอเชียงคำ ที่มีอยู่ประมาณ 8 หมื่นกว่าคน ในจำนวน ประมาณ 134 หมู่บ้านที่เป็นทางการและอีกว่าสิบหมู่บ้านที่ยังอยู่ร่วมหรืออยู่ภายใต้การนำหรือปกครองโดยผู้นำหมู่บ้านอื่นอยู่ ยังมีอีกหลากหลายเรื่องราวที่เกี่ยวกับชนชาติพันธุ์ในเชียงคำของเรา ยังไงก็เข้ามาติดตามรับชมกันเรื่อยๆนะครับ …ท.ทิวเทือกเขา |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |