|
||
ชนชาติพันธุ์ม้งหรือแม้ว ตามคำเรียกร้องนะครับ และจะพยายามนำเสนอให้ครบทุกเผ่าทุกชนชาติพันธุ์ในไทย ก่อนอื่นต้องขอขอบพระคุณเจ้าของภาพทุกภาพเป็นอย่างสูง ที่ได้นำภาพมาประกอบการนำเสนอ เพื่อเผยแผ่เป็นวิทยาทาน หากวันใดวันหนึ่งท่านผ่านไปผ่านมาพบกับภาพของท่าน ผมก็ขออนุญาตผ่านตรงนี้เลยนะครับ เพราะบางภาพไม่ทราบที่มาจริงๆ ขอให้ท่านจงภาคภูมิใจในการเป็นส่วนหนึ่งในการแบ่งปันความรู้และเพื่อเป็นวิทยาทานครับ วันนี้จะนำเสนอชนเผ่า ม้ง หรือ คนมักจะนิยมเรียกว่า แม้ว ซึ่งบางครั้ง ฟังดูแล้วอาจจะไม่สุภาพเท่าไหร่ ถ้าเป็นไปได้ต่อไปเรียกม้งดีกว่านะครับ พี่น้องชาวม้ง ถือว่า เป็นชนชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่อีกกลุ่มหนึ่ง ที่มีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณีที่สืบทอดกันมาแต่ช้านาน ม้งถือได้ว่า เป็นนักรบที่มีความสามารถ มีความชำนาญกับภูเขา เคยมีคำกล่าวว่า ฟ้าเป็นของนก น้ำเป็นของปลา ภูเขาเป็นของม้ง มีเอกลักษณ์ทางการแต่งตัวที่สวยงามมาก เรามาทำความรู้จักพี่น้องชาวม้งกันนะครับ ม้ง หรือ แม้ว เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตภูเขาของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวม้งอพยพลงมาทางใต้ตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 เนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่สงบทางการเมืองและหาพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเพาะปลูก ปัจจุบันมีชาวม้งอาศัยอยู่ในประเทศไทย เวียดนาม ลาว และพม่า ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีน เข้ามาปราบปราม เป็นเหตุชาวม้งได้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณ พ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ชาวม้งไม่ชอบให้คนทั่วไปเรียกว่าแม้ว โดยถือว่า เป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก ภาษาม้ง จัดอยู่ในสาขาเมี้ยว-เย้าจองตระกูลจีน-ธิเบตไม่มีภาษาเขียน แต่ยืมตัวอักษรภาษาโรมัน มาใช้ ม้งไม่มีภาษาที่แน่นนอน ส่วนใหญ่ มักจะรับภาษาอื่นมาใช้พูดกัน เช่น ภาษาจีนยูนนาน ภาษาลาว ภาษาไทยภาคเหนือ เป็นต้น ซึ่งม้งทั้ง 3 เผ่าพูดภาษาคล้ายๆ กัน คือ มีรากศัพท์ และไวยากรณ์ที่เหมือนกัน แต่การออกเสียงหรือสำเนียง จะแตกต่างกันเล็กน้อย ม้งสามารถใช้ภาษาเผ่าของตนเอง พูดคุยกับม้งเผ่าอื่นเข้าใจได้เป็นอย่างดี แต่ม้งไม่มีภาษาเขียนหรือตัวหนังสือ อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันชาวม้งได้เขียน และอ่านหนังสือภาษาม้ง โดยการใช้ตัวอักขระหนังสือละติน (Hmong RPA) เรื่องราวความเป็นมาต่างๆ ของม้ง จึงอาศัยวิธีการจำและเล่าสืบต่อกันมาเพียงเท่านั้น วิถีชีวิต และลักษณะบ้านเรือน ในอดีตนั้น ม้งอาศัยอยู่ตามภูเขาอยู่ตามธรรมชาติ ม้งต้องตรากตรำทำงานหนัก อยู่แต่ในไร่เท่านั้น ทำให้ม้งไม่มีเวลาที่จะดูแลตัวเองและครอบครัว ดังนั้น ชีวิตความเป็นอยู่ของม้ง จึงเป็นแบบเรียบง่าย เพราะคลุกคลีกับธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น ชีวิตประจำวันของม้งคือ จะทำไร่ ทำสวน และหารายได้เล็กน้อยเพื่อจุนเจือครอบครัว ส่วนเรื่องอาหาร ก็จะเป็นเรื่องเรียบง่าย ในการกินอาหาร ม้งนิยมใช้ตะเกียบซึ่งรับมาจากธรรมเนียมจีน ส่วนเหล้า จะนิยมดื่มกันในงานเลี้ยงต่างๆ เช่น งานแต่งงาน งานเลี้ยงญาติ อาจเป็นญาติของภรรยาที่มาเยี่ยม ฝ่ายญาติทางสามี จะต้องรินแก้วเหล้าแจก ครั้งละ 2 แก้ว โดยเชื่อกันว่า จะทำให้คู่สามีภรรยาอยู่ด้วยกันตลอดไป ก่อนจะดื่มเหล้าแต่ละคนจะพูดว่า “ผมจะดื่มเพื่อทุกคน” และจะต้องคว่ำจอก หรือคว่ำแก้วเมื่อหมดแล้ว ม้งจะนิยมดื่มเหล้าครั้งเดียวหมดแก้ว มีการดื่มซ้ำวนเวียนหลายครั้ง ผู้ที่มิใช่นักดื่มย่อมจะทนไม่ได้ อาจขอให้บุคคลอื่นช่วยดื่มแทนก็ได้ เหล้าจะทำกันเองในหมู่บ้าน ซึ่งทำจากข้าวโพด ข้าว หรือข้าวสาลี ม้งให้เกียรติแก่ผู้ชาย เพราะฉะนั้น ผู้หญิงจึงรับประทานอาหาร หลังผู้ชายเสมอ การประกอบอาหารของม้งส่วนใหญ่ จะเป็นในลักษณะการต้ม ทอด และม้งยังมีความสามารถในการถนอมอาหาร ซึ่งในการถนอมอาหาร สามารถถนอมได้หลายแบบ เช่น การหมัก การดอง (ซึ่งปัจจุบันนี้ ม้งส่วนใหญ่ ไม่ได้ใช้ตะเกียบในการรับประทานข้าวแล้ว ส่วนใหญ่จะใช้ช้อนมากกว่า ซึ่งเมืองไทยแทบจะไม่พบม้งที่ใช้ตะเกียบในการทานข้าว แต่ม้งที่ประเทศลาว ยังคงใช้ตะเกียบในการรับประทานข้าวอยู่) ลักษณะบ้านเรือน ชนเผ่าม้ง นิยมสร้างบ้านอยู่บนภูเขาสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ม้งบางกลุ่มจะมีการปลูกฝิ่นเป็นพืชหลัก แต่ในปัจจุบันนี้ ม้งได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้อพยพมาตั้งรกรากอยู่ในพื้นราบลุ่มเขา และยังมีม้งบางกลุ่ม ก็ยังคงตั้งรกรากอยู่บนดอย แต่ไม่ลึก การคมนาคมพอที่จะเข้าไปถึงได้ หมู่บ้านม้ง จะประกอบด้วยกลุ่มเรือนหลายๆ หย่อม แต่ละหย่อมจะมีบ้านราวๆ 7-8 หลังคาเรือน โดยที่มีเรือนใหญ่ของคนสำคัญอยู่ตรงกลาง ส่วนเรือนที่เป็นเรือนเล็ก จะเป็นลูกบ้านหรือลูกหลาน ส่วนแต่ละหย่อมนั้นจะหมายถึงตระกูลเดียวกัน หรือเป็นญาติพี่น้องกันนั่นเอง ตัวบ้านปลูกคล่อมอยู่บนพื้นดินที่ทุบแน่น โดยใช้พื้นดินเป็นพื้นบ้าน ฝาบ้านเป็นไม้แผ่น มุงด้วยคา มีห้องนอน กับห้องครัวในบ้าน บ้านจะมีขนาดใหญ่ เพราะอยู่อาศัยในลักษณะครอบครัวขยาย ม้งถือผู้อาวุโสเป็นหัวหน้าครอบครัว วัสดุส่วนใหญ่ใช้ไม่เนื้ออ่อน ผนังกั้นระหว่างห้องหรือบ้านทำใช้ลำไม้ไผ่ ผ่าคลี่เป็นแผ่น หลังคามุง ด้วยหญ้าคา หรือใบจาก แต่เสาจะเป็นไม้เนื้อแข็ง แปลนเป็นแบบง่ายๆ ตัวบ้านไม่มีหน้าต่าง เนื่องจากอยู่ในที่อากาศหนาวเย็น ใกล้กับประตูหลัก จะมีเตาไฟเล็ก และแคร่ไม่ไผ่สำหรับนั่งหรือนอน เอาไว้รับแขก กลางบ้านจะเป็นที่ทำงานบ้าน เข้าไปในสุดด้านซ้ายจะเป็นเตาไฟใหญ่สำหรับ ทำอาหารเลี้ยงแขกจำนวนมาก และเอาไว้ต้มอาหารหมู บางบ้านจะมีครกไม้ใหญ่สำหรับตำข้าวเปลือก มีลูกโม่หินสำหรับบดข้าวโพด แป้ง ถั่วเหลือง ใกล้กับที่ทำงานจะมีกระบอกไม้ใผ่รองน้ำตั้งอยู่ สำหรับมุมบ้านฝั่งซ้ายมักจะกั้นเป็นห้องนอนของพ่อแม่ กับลูก ภายในบ้าน จะมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ อยู่ 4 แห่ง คือ ประตูทางเข้าหลัก, เสากลางบ้าน, ผนังบ้านที่ตรงข้ามกับประตูหลัก (เป็นสถานประกอบพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของม้ง จะประกอบด้วยกระดาษที่ตัดมาติดเป็นแผ่นใหญ่และยาวเป็นรูปสี่เหลี่ยม และมี การตั้งโต๊ะหมู่บูชาจะมีการนะกระป๋องหรือ กระบอกไม้ไผ่ใส่ข้าวเปลือก หรือ ขึ้เถ้า หรือข้าวโพดก็ได้ จะนำธูปจำนวน 7 ดอกมาปักข้างๆ กระบอกธูป จะมีกระบอกสุรา และกระบอกน้ำไว้เซ่นไหว้), และเตาไฟใหญ่ ชาวม้ง จะไม่ค่อยย้ายที่อยู่บ่อยนักเมื่อเทียบกับเผ่าอื่น บางทีอยู่นาน 15-20 ปี จึงย้ายไปอยู่ที่ใหม่ และอาจย้ายกลับมาที่เดิมอีกม้งมีระบบ เครือญาติที่มั่นคงมาก จึงเป็นการยากที่จะถูกกลืนโดยชนชาติอื่นๆ ในปัจจุบันนี้ยังมีการสร้างบ้านเรือนเช่นนี้อยู่ แต่พบน้อยมาก ส่วนใหญ่ม้งจะรับวัฒนธรรมของสังคมอื่นๆ มา จึงทำให้การสร้างบ้านเรือนเปลี่ยนแปลงไป โดยสร้างบ้านเรือนเหมือนกับคนไทยมากขึ้น และจะมีการย้ายบ้านเมื่อมีโรคระบาด หรือมีเหตุการณ์ที่ร้ายแรงเกิดกับหมู่บ้าน หรือขัดแย้งกับราชการจนต้องมีการต่อสู้เกิดขึ้น ในการย้ายแต่ละครั้งจะมีการย้ายแบบระมัดระวังที่สุด เมื่อใกล้จะย้ายแล้วม้งมีการขุดหลุมเพื่อที่จะฝังสัมภาระ ที่เป็นหม้อข้าว-หม้อแกงที่ไม่จำเป็นมาก และจะทำเครื่องหมายบางอย่าง ที่สามารถที่จะจำได้ไว้ เพื่อย้อนกลับมาเอาเมื่อเหตุการณ์สงบเรียบร้อย เมื่อเริ่มย้ายม้งจะนำม้า เป็นพาหนะในการบรรทุกของ โดยให้ผู้ชายนำขบวนเดินทางพร้อมกับแผ้วถางทางเดินให้กับผู้หญิง และลูกเดินตามกับม้าที่บรรทุกของด้วย และผู้ชายที่มีอาวุธอยู่ท้ายขบวนคอยป้องกันดูแล เมื่อการเดินทางไปถึงบริเวณที่ต้องการที่จะตั้งรกรากแล้ว การที่จะอยู่ในบริเวณนั่นได้นั้น จะต้องให้คนที่เป็นหมอผีหรือคนทรงเจ้าจะเป็นคนเสี่ยงทายพี้นที่นั้นก่อน เพื่อความอยู่รอดของม้ง ความเชื่อก่อนที่จะปลูกบ้านเรือน: ม้งจะมีการเสี่ยงทายพื้นที่ที่จะมีการปลูกบ้านเรือนก่อน เพื่อครอบครัวจะได้มีความสุข และร่ำรวย โดยกระทำดังนี้ เมื่อเลือกสถานที่ได้แล้ว จะขุดหลุมหนึ่งหลุมแล้วนำเม็ดข้าวสารจำนวนเท่ากับสมาชิกในครอบครัวโรยลงในหลุม แล้วโรยข้าวสารอีกสามเม็ดแทนสัตว์เลี้ยงเสร็จแล้ว จะจุดธูปบูชาผีเจ้าที่เจ้าทาง เพื่อขออนุญาต และเอาชามมาครอบก่อนเอาดินกลบ รุ่งขึ้นจึงเปิดดู หากเมล็ดข้าวยังอยู่เรียบ ก็หมายความว่า ที่ดังกล่าวสามารถทำการ ปลูกสร้างบ้านเรือนได้ รอบๆ ตัวบ้านมักจะมีโรงม้า คอกหมู เล้าไก่ ยุ้งฉางใส่ข้าวเปลือก ถั่ว และ ข้าวโพด วัฒนธรรมประเพณีชาวเขาเผ่าม้ง ชาวม้งจะมีประเพณีและวัฒนธรรมตลอดทั้งความเชื่อเป็นของตนเองสืบมาแต่บรรพบุรุษ เช่น ประเพณีแต่งงาน เมื่อฝ่ายชายและฝ่ายหญิงรู้จักกันและเกิดรักกัน ทั้ง2 คนอยากใช้ชีวิตร่วมกัน ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงจะกลับมาบ้านของตนเอง และฝ่ายชายค่อยมาพาฝ่ายหญิงจากบ้านของฝ่ายหญิง โดยผ่านประตูผีบ้านของฝ่ายหญิง เพราะคนม้งถือและเป็นวัฒนธรรมของคนม้ง หลังจากที่ฝ่ายชายและฝ่ายหญิงกลับมาถึงบ้านของฝ่ายชาย พ่อ แม่ของฝ่ายชาย จะเอาแม่ไก่มาหมุนรอบศีรษะทั้งสองคน 3 รอบเรียกว่า “หรือข๊า” เป็นการต้อนรับคนทั้งสองเข้าบ้าน ซึ่งฝ่ายชายต้องแจ้งให้ญาติทางฝ่ายหญิงทราบภายใน 24 ชั่วโมง โดยจัดหาคน 2 คน เพื่อไปแจ้งข่าวให้พ่อแม่และญาติทางฝ่ายหญิงทราบว่าตอนนี้บุตรชายของเราได้พาบุตรสาวของท่านมาเป็นลูกสะใภ้ของเราแล้ว ท่านไม่ต้องเป็นห่วงบุตรสาว โดยคนที่ไปแจ้งข่าวนั้นคนม้งเรียกว่า “แม่โก๊ง” พ่อแม่ฝ่ายหญิงจะแจ้งให้ทางฝ่ายชายว่าทราบว่าอีก 3 วันให้ “แม่โก๊ง” มาใหม่ นั้นหมายถึงว่าพ่อแม่ทางฝ่ายหญิงต้องการจัดงานแต่งงาน สมัยก่อน คนม้งมักจะอยู่กินด้วยกันก่อนสองถึง 3 เดือน หรืออาจจะเป็นปีแล้วค่อยมาจัดงานแต่ง แต่ปัจจุบันนี้ สังคมเปลี่ยนไปตามยุคเทคโนโลยี ทำให้การจัดงานแต่งงานของคนม้งได้กำหนดจัดงานแต่งงานภายใน 3 วันเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน ชาวม้ง จะไม่เกี้ยวพาราสี หรือแต่งงานกับคนแซ่หรือตระกูลเดียวกัน เพราะถือเป็นพี่น้องกัน ชาวม้งนิยมแต่งงาน ในระหว่างอายุ 15-19 ปี เมื่อแต่งงานกันแล้ว ฝ่ายหญิงจะย้ายเข้ามาอยู่ในบ้านของฝ่ายชาย ซึ่งนับเป็นการเพิ่มสมาชิกในครอบครัว ชายชาวม้งอาจมีภรรยาได้มากกว่าหนึ่งคน อยู่รวมกันในบ้านของฝ่ายสามี ประเพณีขึ้นปีใหม่หรือประเพณีฉลองปีใหม่ ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ ถือได้ว่าเป็นงานรื่นเริงของชาวม้งของทุกๆ ปี จะจัดขึ้นหลังจากได้เก็บเกี่ยวผลผลิตในรอบปีเรียบร้อย และเป็นการฉลองถึงความสำเร็จในการเพาะปลูกของแต่ละปี ซึ่งจะต้องทำพิธีบูชาถึงผีฟ้า – ผีป่า – ผีบ้าน ที่ให้ความคุ้มครอง และดูแลความสุขสำราญตลอดทั้งปี รวมถึงผลผลิตที่ได้ในรอบปีด้วย ซึ่งแต่ละหมู่บ้านจะทำการฉลองกันอย่างพร้อมเพรียงกัน หรือตามวันและเวลาที่สะดวกของแต่ละหมู่บ้าน ซึ่งโดยมากจะอยู่ในช่วงเดือนธันวาคมของทุกปี ประเพณีฉลองปีใหม่ม้งนี้ชาวม้งเรียกกันว่า “น่อเป๊โจ่วฮ์” แปลตรงตัวได้ว่า “กินสามสิบ” สืบเนื่องจากชาวม้งจะนับช่วงเวลาตามจันทรคติ โดยจะเริ่มนับตั้งแต่ขึ้น 1 ค่ำ ไปจนถึง 30 ค่ำ (ซึ่งตามปฏิทินจันทรคติจะแบ่งออกเป็นข้างขึ้น 15 ค่ำ และข้างแรม 15 ค่ำ) เมื่อครบ 30 ค่ำ จึงนับเป็น 1 เดือน ดังนั้นในวันสุดท้าย (30 ค่ำ) ของเดือนสุดท้าย(เดือนที่ 12) ของปีจึงถือได้ว่าเป็นวันส่งท้ายปีเก่า ช่วงวันฉลองปีใหม่ส่วนใหญ่จะตกอยู่ประมาณช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนมกราคม ในวันดังกล่าวหัวหน้าครัวเรือนของแต่ละบ้านจะประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เพื่อความเป็นสิริมงคลของครัวเรือน ถัดจากวันส่งท้ายปีเก่าไป 3 วัน คือวันขึ้น 1 ค่ำ 2 ค่ำและ 3 ค่ำของเดือนหนึ่ง จัดเป็นวันฉลองปีใหม่อย่างเป็นทางการ ซึ่งทุกคนจะหยุดหน้าที่การงานทุกอย่างในช่วงวันดังกล่าวนี้ และจะมีการจัดการละเล่นต่างๆ ในงานขึ้นปีใหม่ เช่น การละเล่นลูกช่วง การตีลูกข่าง การร้องเพลงม้ง ประเพณีกินข้าวใหม่ของม้ง เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยรุ่นทวด-รุ่นปู่ ซึ่งม้งจะมีความเชื่อว่า จะต้องเลี้ยง ผีปู่-ผีย่า เพราะช่วงเวลาในหนึ่งรอบปีหรือในหนึ่งปีที่ผ่านมานั้นผีปู่-ผีย่า ได้ดูแลครอบครัวของแต่ละครอบครัวเป็นอย่างดี ดังนั้นจึงมีการปลูกข้าวใหม่เพื่อจะเซ่นบูชา คุณผีปู-ผีย่ากับเจ้าที่ทุกตน ซึ่งการกินข้าวใหม่จะทำกันในเดือน ตุลาคมของทุกปี ข้าวใหม่คือข้าวที่ปลูกขึ้นมาเพื่อที่จะเซ่นถวายให้กับผีปู่-ผีย่า แล้วสุกในระหว่างเดือนกันยายนถึงต้นเดือนตุลาคม แล้วจะต้องเก็บเกี่ยวโดยเคียวเกี่ยวข้าว ที่มีขนาดเล็ก เพราะเคี่ยวที่ใช้เกี่ยวนั้นสามารถที่จะเกี่ยวต้นข้าวได้เพียง 3-4 ต้นเท่านั้น จะเริ่มเกี่ยวได้เมื่อรวงข้าวสุกแต่ยังไม่เหลืองมาก ต้องเกี่ยวตอนที่รวงข้าวมีสีเขียวปนเหลือง เมื่อเกี่ยว เสร็จก็จะนำมานวดให้ข้าวเปลือกหลุดออกโดยไม่ต้องตากให้แห้ง นำข้าวเปลือกที่นวดเรียบร้อยแล้ว มาคั่วให้เม็ดข้าวแข็งและเปลือกข้าวแห้ง เพื่อให้สะดวกในการตำข้าว ในอดีตนั้นนิยมการตำข้าวด้วยโค้กกระเดื่อง เมื่อตำเสร็จเรียบร้อยนำข้าวมาหุงเพื่อเซ่นไหว้ผีปู่-ผีย่า ซึ่งในการทำพิธีเซ่นผีนั้นสามารถทำโดยการนำไก่ตัวผู้ที่ต้มทั้งตัวมาเซ่นไหว้ตรงผีประตูก่อน ซึ่งตำแหน่งที่จะต้องเซ่นไหว้มี 5 แห่งได้แก่ สื่อก๋าง ดั้งขอจุ๊บ ดั้งขอจุด ดั้งขอจ่อง ดั้งจี้ดั้ง ขณะทำพิธีต้องสวดบทสวดเพื่อที่บอกให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือได้รับรู้และ เข้ามาทานก่อน เมื่อทำพิธีเสร็จคนในบ้านถึงจะสามารถทานต่อได้ ซึ่งพิธีกินข้าวใหม่นั้นได้สืบทอด มานานหลายชั่วอายุคน ศาสนาความเชื่อและพิธีกรรม ชาวม้ง มีการนับถือวิญญาณบรรพบุรุษ สิ่งศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่อยู่บนฟ้า ในลำน้ำ ประจำต้นไม้ ภูเขา ไร่นา ฯลฯ ชาวม้งจะต้องเซ่นสังเวยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เหล่านี้ปีละครั้ง โดยเชื่อว่าพิธีไสยศาสตร์เหล่านี้จะช่วยให้วินิจฉัยโรคได้ถูกต้องและทำการรักษาได้ผล เพราะความเจ็บป่วยทั้งหลาย ล้วนแต่เป็นผลมาจากการผิดผี ทำให้ผีเดือดดาลมาแก้แค้นลงโทษให้เจ็บป่วย จึงต้องใช้วิธีจัดการกับผีให้คนไข้หายจากโรค หากว่าคนทรงเจ้ารายงานว่าคนไข้ที่ล้มป่วยเพราะขวัญหนี ก็จะต้องทำพิธีเรียกขวัญกลับเข้าสู่ร่างของบุคคลนั้น แต่การที่จะเรียกขวัญกลับมานั้น จะต้องมีพิธีกรรมในการปฎิบัติมากมาย บางครั้งบางพิธีกรรมก็มีความยุ่งยากในการปฎิบัติ แต่ม้งก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคเหล่านั้น ม้งเชื่อว่าการที่มีร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง โดยไม่มีโรคภัยมาเบียดเบียน นั่นคือความสุขอันยิ่งใหญ่ของม้ง ฉะนั้นม้งจึงต้องทำทุกอย่างเพื่อเป็นการรักษาให้หาย จากโรคเหล่านั้น ซึ่งพิธีกรรมในการรักษาโรคของม้งนั้นมีอยู่หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบก็รักษาโรคแต่ละโรค แตกต่างกันออกไป การที่จะทำพิธีกรรมการรักษาได้นั้นต้องดูอาการของผู้ป่วยว่าอาการเป็นเช่นไร แล้วจึงจะเลือกวิธีการรักษาโดยวิธีใดถึงจะถูกต้อง ความเชื่อเรื่องการทำผี หรือการลงผี (การอั๊วเน้ง) เป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่งของม้ง การอั๊วเน้ง (การทำผีหรือลงผี) มีอยู่ 3 ประเภท คือ การอั๊วเน้งข่อยชั๊วะ การอั๊วเน้งเกร่ทั่ง และการอั๊วเน้งไซใย่ ซึ่งแต่ละอั๊วเน้งมีความแตกต่างกันออกไป การรักษาก็แตกต่างกันไปด้วย การจะอั๊วเน้งได้เมื่อมีคนในครอบครัวเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ เป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่ง ดังนั้นม้งมักจะนิยมอั๊วเน้งเพื่อการเรียกขวัญที่หายไปหรือมีผีพาไปให้กลับคืนมาเท่านั้น ซึ่งม้งเชื่อว่าการเจ็บป่วยเกิดจากขวัญที่อยู่ในตัวหายไป มีวิธีการรักษาดังนี้ เวลาอั๊วเน้งหรือทำผีนั้น คนที่เป็นพ่อหมอจะเริ่มไปนั่งบนเก้าอี้ แล้วร่ายเวทมนต์คาถาต่างๆ พร้อมกับติดต่อ สื่อสารกับผีแล้วไปคลี่คลายเรื่องราวต่างๆ กับผี ถ้าคลี่คลายได้แล้วจะมีการฆ่าหมู แต่ก่อนจะฆ่าหมูนั้น จะต้องให้คนไข้ไปนั่งอยู่ข้างหลังพ่อหมอ แล้วผูกข้อมือ จากนั้นนำหมูมาไว้ข้างหลังคนไข้ แล้วพ่อหมอจะสั่งให้ฆ่าหมู การที่จะฆ่าหมูได้นั้นจะต้องมีคนหนึ่งซึ่งเป็นตัวแทนของพ่อหมอ และสามารถฟังเรื่องราวของการอั๊วเน้งได้ รู้ว่าตอนนี้พ่อหมอต้องการอะไร หรือสั่งให้ทำอะไร เมื่อพ่อหมอสั่งลงมา คนที่เป็นตัวแทนต้องบอกกับคนในครอบครัวให้ทำตามคำบอกกล่าวของพ่อหมอ เมื่อสั่งให้ห่าหมูก็ต้องนำหมูมาฆ่าแล้วจะนำกัวะมาจุมกับเลือดหมู พร้อมกับมาปะที่หลังคนไข้ แล้วพ่อ หมอจะเป่าเวทมนต์ให้ จากนั้นจะนำกัวะไปจุ่มเลือดหมู เพื่อไปเซ่นไหว้ที่ผนังที่เป็นที่รวมของของบูชาเหล่านั้น ความเชื่อเรื่องการรักษาคนตกใจ (การไซ่เจง) เป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่งของม้ง การไซ่เจงจะกระทำเมื่อมีคนป่วยที่ตัวเย็น เท้าเย็น ใบหูเย็น มือเย็น ซึ่งม้งเชื่อว่าการที่เท้าเย็น มือเย็น หรือตัวเย็น เกิดจากขวัญในตัวคนได้หล่นหายไป หรือไปทำให้ผีกลัว แล้วผีก็แกล้งทำให้บุคคลนั้นไม่สบาย มีวิธีการรักษาดังนี้ พ่อหมอจะนำเอาขิงมานวดตามเส้นประสาท ได้แก่ บริเวณปลายจมูกตรงไปที่หน้าผาก นวดแล้วย้อนกลับไปที่ใบหู แล้ว นวดบริเวณหน้าผากไปที่ใบหูซ้ำ 3 ครั้ง จากนั้นเปลี่ยนเป็นการนวดที่เส้นประสาทมือ คือ จะนวดที่ปลายนิ้วมือไล่ไปที่ข้อมือทำซ้ำทุกนิ้วมือ แล้วรวมกันที่ข้อมือนวด และหมุนรอบที่ข้อมือ ซึ่งขณะนวดต้องเป่าคาถาด้วย และบริเวณฝ่าเท้าให้นวดเหมือนกัน ต้องทำซ้ำกัน 3 ครั้ง ซึ่งการรักษาไซ่เจงนี้จะทำการรักษา 3 วัน เมื่อเสร็จจากการรักษาแล้ว ถ้าอาการไม่ดีขึ้นก็หาวิธีอื่นๆ มารักษาต่อ เช่น อั๊วเน้งหรือการฮูปรี เป็นต้น ความเชื่อเรื่องการรักษาด้วยการเป่าด้วยน้ำ (การเช้อแด้ะ) เป็นการรักษาอีกประเภทหนึ่งของม้ง การเช้อแด้ะจะเป็นการกระทำเมื่อมีคนในครอบครัวที่ป่วยร้องไห้ไม่หยุด และตกใจมากเป็นพิเศษโดยไม่รู้สาเหตุ หรือเหมือนว่าคนป่วยเห็นอะไรสักอย่างที่ทำให้เขากลัวมากมีวิธีการรักษาดังนี้ คนที่เป็นพ่อหมอหรือแม่หมอ จะให้คนป่วยอาการดังกล่าวไปนั่งใกล้กับกองไฟหรือเตาไฟ แล้วเอาถ้วยหนึ่งใบใส่น้ำให้เรียบร้อยมาตั้งไว้ข้างๆ พ่อหมอหรือแม่หมอ คือ ผู้ที่จะทำการรักษาจะใช้ตะเกียบคู่หนึ่งหนีบก้อนถ่าน ที่กำลังรุกไหม้เป็นสีแดงขึ้นมา แล้วเป่าก้อนถ่าน จากนั้นเริ่มท่องคาถา แล้วนำก้อนถ่านก้อนนั้นไปวนบนหัวของคนป่วย ขณะวนนั้นก็สวดคาถาด้วย เมื่อวนเสร็จก็จะเอาก้อนถ่านก้อนนั้นไปใส่ในถ้วยที่เตรียมไว้ พร้อมกับปิดฝาด้วย ให้ทำซ้ำกันแบบนี้สามรอบเมื่อเสร็จแล้วจับมือคนป่วยขึ้นมาเป่าพร้อมท่องคาถา เมื่อเสร็จสิ้นแล้ว จะเอามือชุบน้ำที่อยู่ในถ้วยขึ้นมาลูบหน้าของคนป่วย หรือลูบแขนคนป่วย เมื่อทำเสร็จแล้วอาการของคนป่วยจะทุเลาลง ม้งจะนำวิธีรักษานี้มาใช้ในการรักษาคนไข้ที่ตกใจมาก และปัจจุบันนี้ม้งก็ยังคงยึดถือ และปฏิบัติกันอยู่ แต่ก็มีบ้างที่อาการหนักมากจนไม่สามารถที่จะรักษาให้หายขาดได้ แล้วจึงจะนำไปรักษาที่โรงพยาบาลต่อไป ความเชื่อเรื่องการปัดกวาดสิ่งที่ไม่ดีออกไป (การหรือซู้) เป็นการรักษาอีกวิธีหนึ่งของม้ง ที่จะปฏิบัติในช่วงขึ้นปีใหม่เท่านั้น คือในหนึ่งรอบปีที่ผ่านมาครอบครัวจะเจอสิ่งที่ไม่ดี ดังนั้นจึงมีการหรือซู้เพื่อปัดเป่า หรือกวาดสิ่งที่ไม่ดีให้ออกไปจากบ้าน และตัวบุคคลหรือเป็นการปัดเป่า กวาดโรคภัยไข้เจ็บออกจากตัวบุคคล หรือออกจากบ้านให้หมด เพื่อที่จะรับปีใหม่ที่เข้ามา และต้อนรับสิ่งดีๆ ที่กำลังจะมาในปีถัดไป พิธีกรรมนี้ม้งจะทำทุกปี และคนในครอบครัวต้องอยู่ให้ครบทุกคน ไม่ให้ขาดคนใดคนหนึ่ง (แต่หากว่าคนในครอบครัวนั้น เกิดไปทำงานต่างจังหวัดและไม่สามารถที่จะกลับมาร่วมพิธีกรรมนี้ได้ ผู้ปกครองของครอบครัวต้องนำเสื้อผ้าของคน ที่ไม่อยู่มาร่วมพิธีกรรมให้ได้ หากไม่ได้เข้าร่วมพิธีกรรมนี้ ม้งเชื่อว่า สิ่งที่ไม่ดีจะติดตัวไปยังปีถัดๆ ไป และทำอะไรก็ไม่เจริญ) ความเชื่อเรื่องหมูประตูผี (อัวะบั๊วจ๋อง) เป็นพิธีกรรมที่ม้งกระทำเพื่อรักษาคนทั้งหมดในบ้านหลังนั้น ให้ปราศจากโรคภัยโดยมีวิธีการรักษา ดังนี้ ซึ่งการประกอบพิธีกรรมหมูประตูนั้นจะทำในตอนกลางคืนเท่านั้น อันดับแรกคือจะมีการกล่าวปิด และกล่าวเปิดประตู จากนั้นจะมีการฆ่าหมูแล้วต้มให้สุก จากนั้นก็กล่าวปิดประตู แล้วนำ หมูที่ต้มสุกนั้นมาหั่นให้เป็นชิ้นเล็กๆ จัดไว้ตามจานที่วางไว้ 9 จาน ซึ่งแต่ละจานจะใส่ชิ้นเนื้อไม่เหมือนกัน โดย จานที่ 1 ใส่มือซ้ายหมูและหัวข้างซ้าย จานที่ 2 จะใส่ขาขวาหมูกับหัวข้างขวา พิธีเข้ากรรม พิธีเข้ากรรมของม้งนั้น มีมาตั้งแต่บรรพบุรุษม้งเชื่อกันว่าเคราะห์กรรมมีจริง แต่ม้งนั้นก็จะสามารถหลีกเลี้ยงเคราะห์กรรมนี้ได้โดยการเข้ากรรม เข้ากรรมของชนเผ่าม้ง ก็เหมือนกับการจำกัดบริเวณไม่ให้ออกไปไหนมาไหน ห้ามคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัวเข้ามาในบ้าน ห้ามไม่ให้พูดคุยกับคนอื่นที่ไม่ใช่สมาชิกในครอบครัว ห้ามจับต้องของมีคม ห้ามขี่รถ และขับรถทุกชนิด จนกว่าพระอาทิตย์จะลับขอบฟ้า จึงจะใช้ชีวิตได้ตามปกติ ถ้าในระหว่างเข้ากรรมอยู่นั้น สมาชิกคนไหนฝ่าฝืนข้อห้าม มักจะเกิดอุบัติเหตุกับคนผู้นั้น บางรายอาจจะเจ็บ มีบางรายอาจถึงแก่ชีวิต ชนเผ่าม้งจึงถือกันเคร่งมาก ถ้าสมาชิกคนไหน ไม่อยู่บ้าน ออกไปทำงานต่างจังหวัด ที่ไกลๆบ้านก็จะนำเอาเสื้อผ้าของคนนั้นมามัดไว้ที่เสากลางบ้าน แล้วแจ้งให้คน คนนั้นรับทราบแล้วให้ขอหยุดงาน ถ้านายจ้างไม่ให้หยุด ก็จะเลี่ยงโดยการ ขอทำอย่างอื่น ที่มีอันตรายน้อยที่สุด เคราะห์กรรมนั้น ม้งเชื่อว่ามีหลายแบบด้วยกัน สามารถแก้ได้ด้วยวิธีการที่ต่างกันไป เมื่อเจ้าบ้านเกิดอาการไม่สบายใจ หรือฝันเป็นรางร้ายก็จะไปขอให้หมอผีเสี่ยงทายดูให้ ถ้ามีเคราะห์ หมอผีจะเป็นคนบอกเองว่าเราควรแก้ด้วยวิธีการไหนบ้าง จะเข้ากรรม จะทำพิธีเพื่อสะเดาะเคราะห์ หรืออาจจะปัดเป่าเคราะห์ร้ายให้หลุดพ้นไปจากตัวเองและครอบครัว อีกวิธีหนึ่งคือการเข้ากรรม ส่วนใหญ่แล้วเจ้าบ้านจะไปขอให้หมอผีเสี่ยงทายดู แล้วหมอผีจะบอกมาว่าบ้านเรามีเคราะห์ควรจะหยุดอยู่กรรมกี่วัน ส่วนใหญ่ก็จะเข้ากันหนึ่งวัน ถ้าบ้านไหนมีเคราะห์มากก็จะเข้าสองถึงสามวันติดต่อกันก็มี บางครั้งเราก็ไม่ได้ไปขอหมอผีเสี่ยงทาย แต่หมอผีจะมาทักว่าเราควรเข้ากรรม บ้านเราก็ต้องเข้า และอีกอย่างหนึ่ง คือหมอผีจะเสียงทายดูแล้วจะบอกว่าวันนี้เดือนนี้ต้องเข้ากรรมทั้งตระกูล เช่น ถ้าคนไหนเป็นแซ่ย่าง ถึงวันนั้นทุกคนก็ต้องเข้ากรรมเหมือนกันหมด แต่จะเคร่งไม่เท่ากับการเข้าเป็นครอบครัว นานๆ ครั้งถึงจะมีสักครั้ง ต่างจากการเข้าเป็นครอบครัว เพราะจะเข้าปีละกี่ครั้งก็ได้ แล้วแต่ว่าบ้านไหนจะมีเคราะห์กรรมมากหรือน้อย ก็ไม่ใช้ว่าจะต้องเข้าปีละครั้งสองครั้งต่อครอบครัว บางบ้านที่ไม่มีเคราะห์ก็ไม่เข้าเลยก็มี พิธีเข้ากรรมของม้งนั้น สังเกตง่ายๆ ถ้าท่านเป็นคนพื้นเมืองหรือชนเผ่าอื่น ที่ไม่ใช้ชนเผ่าม้ง คือวันที่ม้งทำพิธีเข้ากรรมนั้นจะมีไม่สานเป็นตาแหลวลักษณะเป็นหกตาเสียบไว้ หรือใบไม้ใบหญ้า ปักไว้ที่หน้าบ้าน และถ้าเข้าไปเห็นบ้านไหนเข้ากรรม เขาไม่ทักทายแขก หรือชักชวนแขกให้เข้าบ้าน บางครั้งพอเขาเห็นคนภายนอกมา เขาต้องรีบปิดประตูไม่ใช่ว่ารังเกียจไม่อยากรับแขก หรืออย่างไรก็ตาม เราต้องสังเกตว่าหน้าประตูเขามีไม้ปักตรงทางเข้ามีหญ้าหรือ สานตาแหลวเสียบไว้อยู่ หรือเปล่า แล้วอย่าพึ่งน้อยใจ ถ้าตะวันตกดินเมื่อไหร่บ้านนั้นก็จะรับแขกเหมือนเดิม ชนเผ่าม้งนั้น ปกติเป็นชนเผ่าที่ใจกว้างและมีน้ำใจต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมาก ถึงจะรู้จักหรือไม่รู้จักก็ตามแขกที่เข้าไปก็จะขอข้าวขอน้ำกินได้ เป็นธรรมเนียมปฏิบัติประจำของคนชนเผ่าทุกชนเผ่า การแต่งกาย ลักษณะการแต่งกายของม้งขาว หรือ ม้งด๊าว ชาย: ตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ ชายเสื้อจะยาวคลุมเอว ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมาตลอดแนว สายเสื้อลงไปยังชายเสื้อ ด้านหลัง มักจะปักลวดลายสวยงามด้วย ปัจจุบันนิยมใส่ซิปลงขอบ สาบเสื้อ เพื่อสะดวกในการใส่ ส่วนกางเกงจะสวมใส่กางเกงขาก๊วย หรือกางเกงจีนเป้าตื้นขาบาน มีลวดลายน้อย และใส่ผ้าพันเอวสีแดง คาดทับกางเกง และอาจมีเข็มขัดเงินคาดทับอีกชั้นหนึ่งด้วยเหมือนกัน หญิง: ตัวเสื้อจะเป็นผ้ากำมะหยี่ เสื้ออาจจะเป็นสีน้ำเงินเข้มหรือดำ แต่ปัจจุบันก็มี การเปลี่ยนแปลงให้มีหลากสีมากขึ้น เป็นเสื้อแขนยาว ซึ่งที่ปลายแขนนี้มีการปักลวดลายใส่ด้านหน้ามีสาบเสื้อสองข้างลงมา และมีการปักลวดลายใส่ด้วย การแต่งกายของหญิงม้งขาว (ม้งเด๊อะ) เดิมจะสวมกระโปรงจีบรอบตัวสีขาวล้วน ไม่มีการปักลวดลายใดๆ เมื่อสวมใส่จะปล่อยรอยผ่าไว้ด้านหน้าพร้อมกับมีผ้าสี่เหลี่ยมยาวปักลวดลาย ปิดทับรอยผ่า มีผ้าแถบสีแดงคาดเอวไว้ชั้นหนึ่ง โดยผูกปล่อยชายเป็นหางไว้ด้านหลัง ปัจจุบันนิยมใส่กระโปรงสีขาวเฉพาะงานสำคัญเท่านั้น เพราะกระโปรงขาวเปรอะเปื้อนได้ง่าย จึงหันมานิยมสวมกางเกงทรงจีนกับเสื้อแทนกระโปรง และมีผ้าสี่เหลี่ยมผืนยาวห้อยลงทั้งด้านหน้าและหลัง ผ้านี้มักจะปักลวดลายสวยงามมีผ้าแถบสีแดงคาดเอว สำหรับเครื่องโพกผมของหญิงม้งขาวนั้น นิยมพันมวยผมคล้อยมาด้านหน้า และใช้ผ้าสีดำโพกผมเป็นวงรอบศีรษะ โดยมีการปักลวดลายไว้ด้วย นอกจากนี้ยังมีเครื่องประดับอื่นประกอบเพิ่มเติม ซึ่งมักจะสวมใส่กันในงานสำคัญจำพวกเครื่องเงิน กำไลคอ กำไลข้อมือ ตุ้มหู แหวน รวมทั้งเหรียญเงินขนาดต่างๆ ทั้งรูปวงกลม และสามเหลี่ยม ที่ประดับตามเสื้อผ้าแพรพรรณ รวมทั้งสายสะพายปักลวดลายสวยงาม เวลาใช้จะสะพายไหล่เฉียงสลับกันสองข้าง ลักษณะการแต่งกายของม้งดำ และ ม้งกั๊วมะบา ชาย: เสื้อแขนยาวจรดข้อมือ แต่ชายเสื้อระดับเอว ปกสาบเสื้อด้านขวาจะป้ายเลยมาทับซีกซ้ายของตัวเสื้อตลอดจนแนวสาบเสื้อจะใช้ด้ายสี และผ้าสีปักลวดลายต่างๆ สะดุดตา กางเกงสีเดียวกับเสื้อ มีลักษณะขากว้างมากแต่ปลายขาแคบลง ส่วนที่เห็นได้เด่นชัดคือ เป้ากางเกงจะหย่อนลงมาจนต่ำกว่าระดับเข่า รอบเอวจะมี ผ้าสีแดงพันทับกางเกงไว้ซึ่งชายผ้าทั้งสองข้างปักลวดลายสวยงาม อยู่ด้านหน้า และนิยมคาดเข็มขัดทับผ้าแดงไว้ หญิง: ปัจจุบันเสื้อม้งเขียวหรือม้งดำจะทำให้มีหลากหลายสีมากขึ้นเหมือนกัน ชายเสื้อยาวจะถูกปิดด้วยกระโปรงเวลาสวมใส่ สาบเสื้อทั้งสองข้างจะปักลวดลาย หรือขลิบด้วยผ้าสี ตัวกระโปรงจีบเป็นรอบ ทำเป็นลวดลายต่างๆ ทั้งการปัก และย้อมรอยผ่าของกระโปรงอยู่ด้านหน้า มีผ้าเหลี่ยมผืนยาวปักลวดลายปิดรอยผ่า และมีผ้าสีแดงคาดเอวทับอีกทีหนึ่ง โดยผูกปล่อยชาย เป็นหางไว้ด้านหลัง สำหรับกระโปรงนี้จะใส่ในทุกโอกาส และในอดีตนิยม พันแข้งด้วยผ้าสีดำอย่างประณีตซ้อนเหลื่อมเป็นชั้นๆ ปัจจุบันก็ไม่ค่อย นิยมใส่กันแล้ว ผู้หญิงม้งดำนิยมพันผมเป็นมวยไว้กลางกระหม่อม และมีช้องผมมวย ซึ่งทำมาจากหางม้าพันเสริมให้มวยผมใหญ่ขึ้นใช้ผ้าแถบเป็นตาข่าย สีดำพันมวยผมแล้วประดับด้วยลูกปัดสีสวยๆ ส่วนเครื่องประดับเพิ่มเติมนั้น มีลักษณะเหมือนกับม้งขาว เครื่องดนตรี เครื่องดนตรีของคนม้ง ที่มีมาแต่โบราณกาลนั้นก็มีหลากหลาย แต่ว่าดนตรีเหล่านี้ดูเหมือนว่ากำลังจะสูญหายไปจากวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เครื่องดนตรีประเภทเป่า จิ๊งหน่อง (จ่าง-Ncas): เป็นเครื่องดนตรีคู่กายคู่ใจของหนุ่มสาวม้ง จ่างเป็นเครื่องดนตรีที่ปู่ย่าตายายท่านสร้างไว้และเชื่อกันว่ามีผีสิงอยู่ ใช้เป่าเพื่อบรรยายความรู้สึกในใจ สามารถเป่าได้หลากหลายรูปแบบ เช่น เราเป็น หนุ่มต้องเดินทางไกลไปเที่ยวสาวก็จะเป่าจ่างทางไกล หรือถ้าเป็นหนุ่มสาวในหมู่บ้านเดียวกัน ก็จะเป่าอีกแบบหนึ่ง เพื่อแสดงว่าเราเป็นคนคุ้นเคยกัน จ่างนับว่าเป็นเครื่องดนตรีของม้งที่ใช้สื่อรักกัน แต่พอได้มาเป่าจ่างโต้ตอบกัน และทำให้ต่างคนต่างเห็นคุณค่าของแต่ละคน จนเกิดความผูกพันและรักกัน ปัจจุบันจ่างได้หายไปจากวิถีชีวิตของหนุ่มสาวคนรุ่นใหม่แล้ว แคน (Qeej): เป็นภาษาม้ง อ่านว่า เฆ่ง หรือ qeng ซึ่งแปลว่า แคน หรือ mouth organ เฆ่ง หรือแคนเป็นเครื่องดนตรีที่ทำจากลำไม้ไผ่ และไม้เนื้อแข็ง ถือได้ว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยลำไม้ไผ่ทะลุปล้อง 6 อัน คือ ซย้งตั๋วจื๋อ (xyoob tuam tswm) 1 อัน และ ซย้งเฆ่ง (xyoob qeej) 5 อัน แต่ละอันมีขนาด และความยาวไม่เท่ากันกับลำไม้เนื้อแข็งซึ่งมีปากกลมยาว (ก๋างเฆ่ง kaav qeej) เป็นไม้แดงหรือ ที่ภาษาม้งเรียกว่า ดงจือเป๋ (ntoo txwv pem) เมื่อเป่าหรือสูดลมเข้าออก จะให้เสียงไพเราะต่อเนื่องกัน ตลอดจนจบตอนของบทเพลงลำไม้ไผ่แต่ละอันมีชื่อเรียกเฉพาะของตัวเอง เช่น ดีลัว ดีไล ดีเส่ง ดีตือ ดีจู้ คนม้งจะใช้แคน (เฆ่ง) ในพิธีงานศพเป็นหลัก โดยเป็นเครื่องนำทางดวงวิญญาณของผู้ตายไปสู่ปรโลก หรือแดนของบรรพบุรุษ ฉะนั้นในธรรมเนียมม้งจึงห้ามมิให้ฝึกเป่าแคนภายในบ้าน ส่วนใหญ่จะฝึกในที่ๆ ห่างไกลจากหมู่บ้านซึ่งมักจะเป็นที่พักพิงตามไร่สวน ขลุ่ย: ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีอีกประเภทหนึ่งของม้งที่ใช้เป่าเรียกหาคู่ และสร้างความจรรโลงใจ ซึ่งขลุ่ยม้งจะทำมาจากกระบอกไม้ไผ่และท่อพีวีซี จะใช้เป่าแทนความรู้สึก ของสภาพจิตใจของผู้นั้นจะเป่าในวันสำคัญ เช่น งานปีใหม่และงานสำคัญอื่นๆ เครื่องดนตรีประเภทตี กลอง หรือ จั๊ว: เป็นเครื่องดนตรีของม้งที่มีลักษณะเป็นกลองสองหน้าหรือหนึ่งหน้าก็ได้ รูปร่างกลมแบน โดยใช้แผ่นผนังสัตว์สองแผ่นมาประกอบเข้ากับโครงกลอง หลอมตัวกลองทั้งสองด้าน ริมขอบของแผ่นผนังทั้งสองแผ่นจะเจาะรูเป็นคู่ๆ สำหรับเสียบสลักไม้เล็กๆ เพื่อใช้เชือกร้อยสลักไม้ของแผ่นผนังทั้งสองด้าน ดึงเข้าหากัน ซึ่งจะทำให้แผ่นผนังกลองตึงตัวเต็มที่ เมื่อตีจะมีเสียงดังกังวานและมีไม้ตีกลองหนึ่งคู่ หรือสองอันทำจากไม้ด้านหนึ่ง จะเอาผ้าพันไว้สำหรับตีกลอง ส่วนด้านที่ไม่มีผ้าห่อใช้สำหรับจับ กลองม้งนี้จะใช้เมื่อประกอบพิธีงานศพ การปล่อยผีหรือปลดปล่อยวิญญาณ เท่านั้น รวมวีดีโอสารคดีพี่น้องชาวม้งและเพลงไพเราะๆ |
ช่วงนี้กำลังอัพเดทอข้อมูลและเรื่องราวต่างๆเรื่อยๆทุกวันครับ ขอบคุณที่เข้ามาติดตามรับชมนะครับ
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ หน่วยงานสาธารณสุข ในอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | โรงพยาบาลเชียงคำ | 1. | ศูนย์กู้ชีพ รพ.เชียงคำ |
||||
2. | สาธารณสุขอำเภอเชียงคำ | 2. | มูลนิธิสยามรวมใจปู่อินทร์ | ||||
3. | รพ.สต. หย่วน | 3. | คลีนิคหมอ | ||||
4. | รพ.สต. เวียง | 4. | คลีนิคหมอ | ||||
5. | รพ.สต. เชียงบาน | 5. | คลีนิคหมอ | ||||
6. | รพ.สต. น้ำแวน | 6. | คลีนิคหมอ | ||||
7. | รพ.สต. ผาลาด | 7. | คลีนิคหมอ | ||||
8. | รพ.สต. ฝายกวาง | 8. | คลีนิคหมอ | ||||
9. | รพ.สต. แวนโค้ง | 9. | คลีนิคหมอ | ||||
10. | รพ.สต. ทุ่งผาสุข | 10. | คลีนิคหมอ | ||||
11. | รพ.สต. แม่ลาว | 11. | คลีนิคหมอ | ||||
12. | รพ.สต. น้ำมิน | 12. | คลีนิคหมอ |
||||
13. | รพ.สต. จำบอน | 13. | คลีนิคหมอ | ||||
14. | รพ.สต. สันปูเลย | 14. | คลีนิคหมอ | ||||
15. | รพ.สต. ปางมดแดง | 15. | คลีนิคหมอ | ||||
16. | รพ.สต. เจดีย์คำ | 16. | คลีนิคหมอ | ||||
17. | รพ.สต. ร่มเย็น | 17. | คลีนิคหมอ | ||||
18. | รพ.สต. หนองป่าแพะ | 18. | คลีนิคหมอ | ||||
19. | รพ.สต. ปางถ้ำ | 19. | คลีนิคหมอ |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ลิงค์ สถานที่ท้องเที่ยวทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของเชียงคำ | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | วัดพระธาตุดอยคำ | 1. | อุทยานแห่งชาติภูซาง | ||||
2. | วัดพระนั่งดิน | 2. | วัดแสนเมืองมา | ||||
3. | วัดนันตาราม | 3. | ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อ | ||||
4. | อนุสรณ์ผู้เสียสละ | 4. | วัดพระธาตุสบแวน | ||||
5. | น้ำตกน้ำมิน | 5. | ด่านชายแดนบ้านฮวก | ||||
6. | อ่างเก็บน้ำบ้านแฮะ | 6. | ถ้ำผาแดง ถ้ำน้ำลอด ปางถ้ำ | ||||
7. | อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ | 7. | ถ้ำห้วยสา | ||||
8. | น้ำตกคะแนง | 8. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านห้วยสา | ||||
9. | ถ้ำห้วยน้ำดั้น รูปหน้าคน | 9. | อ่างเก็บน้ำห้วยสา บ้านคุ้ม | ||||
10. | น้ำตกขุนลาว บ้านคะแนง | 10. | โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ | ||||
11. | ดอยผาขาม | 11. | ภูอานม้า ต.ร่มเย็น | ||||
12. | น้ำตกห้วยเคียน | 12. | ถ้ำตาถ้ำยาย ต.ร่มเย็น | ||||
13. | วัดพระธาตุขุนห้วยสวด | 13. | ถ้ำบ้านวังถ้ำ ต.แม่ลาว | ||||
14. | ศูนย์หัตถกรรมไทลื้อทุ่งมอก | 14. | แนวกำแพงเก่าบ้านเวียง | ||||
15. | กู่ผาแดงบ้านกอม ต.เวียง | 15. | อ่างเก็บน้ำยวน | ||||
16. | วังตาด ต.ร่มเย็น | 16. | วัดร้องเก่า |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ศูนย์จำหน่ายสินค้าและของที่ระลึก | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ศูนย์โอท็อป | ||||||
2. | ศูนย์ฯวัดพระนั่งดิน | ||||||
3. | ผ้าทอไทลื้อ บ้านทุ่งมอก | ||||||
4. | กาละแมโบราณ | ||||||
5. | ผักตบชวาและผ้าปักโครเช |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลหย่วน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 1 | 9. | บ้านงุ้น | ||||
2. | บ้านธาตุสบแวน หมู่ 2 | 10. | บ้านใหม่นันทะวงค์ | ||||
3. | บ้านหย่วน | 11. | บ้านกอม | ||||
4. | บ้านมาง | 12. | บ้านป่าแดด | ||||
5. | บ้านดอนไชย | 13. | บ้านทุ่งบานเย็น | ||||
6. | บ้านแช่แห้ง | 14. | บ้านเปื๋อยเปียง | ||||
7. | บ้านแดนเมือง | 15. | บ้านเชียงคำ | ||||
8. | บ้านตลาด (วัดบุนนาค) | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเวียง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปี้ หมู่ที่ 1 | 6. | บ้านเวียง | ||||
2. | บ้านคือ | 7. | บ้านพระนั่งดิน | ||||
3. | บ้านทราย | 8. | บ้านดอนไชย | ||||
4. | บ้านล้า | 9. | บ้านดอนแก้ว | ||||
5. | บ้านไชยพรม | 10. | บ้านปี้ หมู่ที่ 10 | facebook |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลน้ำแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านสนธิ์พัฒนา | ||||
2. | บ้านน้ำแวน หมู่ที่ 2 | 9. | บ้านห้วยบง | ||||
3. | บ้านไคร้ป่าคา | 10. | บ้านป่าแดงสามัคคี | ||||
4. | บ้านแม่ต๋ำ | 11. | บ้านก้าวเจริญ | ||||
5. | บ้านผาลาด | 12. | บ้านสันเวียงทอง | facebook |
|||
6. | บ้านชัยชุมภู | 13. | บ้านชัยเจริญ | ||||
7. | บ้านแม่ต๋ำท่าข้าม | 14. | บ้านแวนศรีชุม | ||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเจดีย์คำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านวังเค็มเก่า | 7. | บ้านบุญยืน | ||||
2. | บ้านวังเค็มใหม่ | 8. | บ้านดอนลาว | ||||
3. | บ้านใหม่ไพรสนธิ์ | 9. | บ้านปิน | ||||
4. | บ้านปัวชัย | 10. | บ้านร่องค้อม | ||||
5. | บ้านปุ | 11. | บ้านอัมพร | facebook |
|||
6. | บ้านกว้าน | 12. | บ้านบุญชัย |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลฝายกวาง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านฝายกวาง | 10. | บ้านทุ่งหล่มใหม่ | ||||
2. | บ้านปัว (แหลง) | 11. | บ้านสันติสุข | ||||
3. | บ้านศรีพรม | 12. | บ้านบัวนาคพัฒนา | ||||
4. | บ้านหนอง (ลื้อ) |
13. | บ้านใหม่นาสา | ||||
5. | บ้านปัวใหม่ | 14. | บ้านศิวิไล | ||||
6. | บ้านทุ่งหล่ม | 15. | บ้านหนองใหม่ | ||||
7. | บ้านสลาบ | 16. | บ้านฐานพัฒนา | ||||
8. | บ้านแวนโค้ง | 17. | บ้านฝายกวาง | ||||
9. | บ้านใหม่เจริญไพร |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านปางวัว | 7. | บ้านเชียงคาน | ||||
2. | บ้านทุ่งมอก | 8. | บ้านสบแวน หมู่ 8 | ||||
3. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 3 | 9. | บ้านแพทย์บุญเรือง | ||||
4. | บ้านเชียงบาน หมุ่ที่ 4 | 10. | บ้านเชียงบาน หมู่ที่ 10 | ||||
5. | บ้านแวนพัฒนา | 11. | บ้านฝั่งแวน | facebook |
|||
6. | บ้านแพด หมู่ที่ 6 |
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลแม่ลาว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 1 | 8. | บ้านกาญจนา | ||||
2. | บ้านทุ่งเย็น หมู่ที่ 2 |
9. | บ้านสบทุ | ||||
3. | บ้านผาลาด หมู่ที่ 3 |
10. | บ้านคะแนง | ||||
4. | บ้านวังถ้ำ | 11. | บ้านกอก | ||||
5. | บ้านแฮะ | 12. | บ้านผาลาดใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านน้ำมิน | 13. | บ้านน้ำมินเหนือ | ||||
7. | บ้านน้ำลาว | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลอ่างทอง อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านเนินสามัคคี | 8. | บ้านสันปูเลย | ||||
2. | บ้านดอยอิสาน | 9. | บ้านปางมดแดง | ||||
3. | บ้านหล่ายพัฒนา | 10. | บ้านปางมดแดงใหม่ | ||||
4. | บ้านบ่อน้อย | 11. | บ้านเนินสายกลาง | ||||
5. | บ้านหนองบัวเงิน | 12. | บ้านจำบอนใหม่ | facebook |
|||
6. | บ้านนาเจริญ | 13. | บ้านนาเจริญ | ||||
7. | บ้านจำบอน | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ตำบลทุ่งผาสุข อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | บ้านหัวทุ่ง | 5. | บ้านหัวทุ่งใหม่ | ||||
2. | บ้านทุ่งควบ | 6. | บ้านทุ่งผาสุข | ||||
3. | บ้านผาฮาว | 7. | บ้านใหม่เจริญ | ||||
4. | บ้านไร่แสนสุข | ||||||
รวมลิงค์หน่วยงานในเชียงคำ ท่านสามารถคลิ๊กเข้าชมเว็ปไซต์และเฟรชบุ๊คของหน่วยงานต่างๆของอำเภอเชียงคำเราได้เลยนะครับ |
|||||||
ดอยผาขามและอ่างน้ำยวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชื่อสถานที่ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 1 | 10. | ตำนานนกหัสดิลิงค์ | ||||
2. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 2 | 11. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 1 | ||||
3. | กว่าจะมาเป็นแม่น้ำยวน 3 | 12. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 2 | ||||
4. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 1 | 13. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 3 | ||||
5. | ที่มาโครงการอ่างเก็บน้ำยวน 2 | 14. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 4 | ||||
6. | เสียงน้อยๆคอยติดตามอ่างฯ | 15. | เรื่องเล่าดอยผาขาม 5 | ||||
7. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 1 | 16. | ถ้ำผาแดง-ถ้ำน้ำลอด | ||||
8. | ดอยผาขามตำนานสอนใจ 2 | 17. | ยอดวิวดอยผาขาม | ||||
9. | ตำนานพระสนธนมโนราห์ | 18. | ถ้ำรูปหน้าคนที่บ้านห้วยปุ้ม | ||||
ข้อมูลประวัติและรูปภาพชนชาติพันธุ์ต่างๆ | |||||||
ชนชาติพันธุ์ในไทยและที่มีอยู่อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา | |||||||
ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | ชนชาติพันธุ์ / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | ชนชาติพันธุ์ไตยวน | 12. | ชนชาติพันธุ์ลาหู่หรือมูเซอ | ||||
2. | ชนชาติพันธุ์ไทลื้อ | 13. | ชนชาติมลาบรีหรือผีตองเหลือง | ||||
3. | ชนชาติพันธ์ุเผ่าเมี่ยนหรือเย้า | 14. | ชนชาติพันธุ์ภูไท | ||||
4. | ชนชาติพันธุ์เผ่าม้งหรือแม้ว | 15. | ชนชาติพันธุ์ลาวโซ่ง | ||||
5. | ชนชาติพันธุ์อีสาน | 16. | ชนชาติพันธุ์ส่วยหรือชาวกูย | ||||
6. | ชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ | 17. | ชนชาติพันธุ์ชาวมอญ | ||||
7. | ชนชาติพันธุ์ปกากญอ | 18. | ชนชาติพันธุ์ชาวเล | ||||
8. | ชนชาติพันธุ์อาข่าหรืออีก้อ | 19. | ชนชาติพันธุ์ชาวใต้ | ||||
9. | ชนชาติพันธุ์ขมุ | 20. | ชนชาติพันธุ์ละหว้าหรือลัวะ | ||||
10. | ชนชาติพันธุ์ไทเขิน | 21. | ศูนย์อพยพภูซาง | ||||
11. | ชนชาติพันธุ์ลาวเวียง ลาวครั่ง |
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
อาหารการกินคนเมืองล้านนา | |||||||
ที่ | เรื่อง / เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ที่ | เรื่อง/ เว็ปไซต์ คลิ๊ก | ||||
1. | อาหารล้านนาบ้านเฮา | 1. | น้ำพริกเห็ดด่าน | ||||
2. | ดอกงิ้ว ทำน้ำขนมจีน | 2. | เห็ดดิน เห็ดเหลือง เห็ดแดง | ||||
3. | อ่อมจิ้นล้านนา | 3. | เห็ดถอบ | ||||
4. | แกงมะฟักใส่ไก่ | 4. | เห็ดขอนขาว | ||||
5. | แกงผักปั๋ง | 5. | เห็ดลม | ||||
6. | น้ำพริกน้ำผัก | 6. | เห็ดฟาง | ||||
7. | ส้ามะลิดไม้ | 7. | ผัดเผ็ดหมูป่า | ||||
8. | น้ำพริกมะกอก | 8. | เห็ดหูหนูหรือเห็ดโล๊ะหละ | ||||
9. | อาหารที่ทำจากมดส้ม | 9. | ลาบหมี่หมู | ||||
10. | คั่วดอกหอมใส่ไข่ | 10. | ส้มตำประเภทต่างๆ | ||||
11. | มะแขว่นเครื่องปรุงรสล้านนา | 11. | ไส้ย่าง | ||||
12. | อาหารที่ทำจากจี้กุ่ง | 12. | แมงมันของบ่เขียม | ||||
13 | หวายของป่าหากินยาก | 13. | ยำปลากระป๋อง | ||||
14. | แกงกระด้าง | 14. | ข้าวกั๊นจิ้น | ||||
15. | แกงขนุน | 15. | ข้าวแรมฟืน | ||||
16. | แกงผักหละ หรือ ผักชะอม | 16. | ตัวต่อ น้ำพริกต่อ | ||||
17. | ส้ากุ้งหรือกุ้งเต้น | 17. | แกงหน่อไม้ใส่เห็ดอีกหม้อ | ||||
18. | น้ำพริกข่าต้มเห็ดถอบ | 18. | ยำหน่อไม้ใส่น้ำปู | ||||
19. | มะนอยน้อย | 19. | ส้าใบมะม่วง | ||||
20. | จิ้นส้มคนเมือง | 20. | แกงหน่อไม้ | ||||
21. | แกงหวายอีกแบบ | 21. | ตำขนุน | ||||
22. | แกงหอย | 22. | แกงผักชะอม | ||||
23. | ยำไก่เมืองเหนือเฮา | 23. | คั่วผักหม | ||||
24. | แกงหยวกกล้วย | 24. | ข้าวซอย | ||||
25. | ยำปลาแห้ง | 25. | อ๊อกปู๋นา สุดยอดอาหาร | ||||
26. | ตำเตา | 26. | ไส้อั่ว | ||||
27. | แกงแค | 27. | ส้มตำข้าวเหนียวไก่อบฟาง | ||||
28. | แก๋งมะบวบ | 28. | หลามปลาหลามเนื้อ | ||||
29. | คั่วยอดฟักทอง | 29. | ยำไส้ตัน | ||||
30. | แกงผักจี | 30. | ปลานึ่ง | ||||
31. | แกงหนัง | 31. | จี้กุ่งทอด | ||||
32. | ห่อนึ่งประเภทต่างๆ | 32. | ปลาเผาจิ้มน้ำพริก | ||||
33. | ตำถั่วฝักยาว | 33. | ขุดปูนา | ||||
34. | น้ำพริกจี้กุ่ง และจี้กุ่งทอด | 34. | ห่อนึ่งเห็น | ||||
35. | จิ้นนึ่งกับน้ำพริกข่า | 35. | ขนมข้าวควบ | ||||
36. | น้ำพริกหนุ่ม | 36. | ขนมข้าวแคบ | ||||
37. | ตำมะเขือยาว | 37. | ต้มโคล้งปลา ต้มยำปลา | ||||
38. | ตำมะเหิด หรือ มะระขี้นก | 38. | ไก ตะ สาหร่ายน้ำจืด | ||||
39. | น้ำพริกมะขามสด | 39. | หม่าขี้เบ้า | ||||
40. | น้ำพริกอ่อง | 40. | ต้นดอกงิ้ว | ||||
41. | ยำหน่อไม้ | 41. | แอปเปิ้ลเมือง | ||||
42. | น้ำพริกหนุ่มแคปหมู | 42. | ข้าวหนึกงา | ||||
43. | ตำถั่วฝักยาวอีกแบบ | 43. | ข้าวหนมเหนียบ | ||||
44. | ยำงูสิงห์ | 44. | ขนุนสุก | ||||
45. | ข้าวหนมปาด | 45. | มะรื่นหรือมะมื่น | ||||
46. | ข้าวหนมแตน | 46. | หม่ามู้ หรือ หม่ากู้ | ||||
47. | หมอบั่วหอมเตียม | 47. | ต้นมะแขว่น | ||||
48. | น้ำผึ้งเดือนห้า | 48. | ตั๊กแตนข้าว | ||||
49. | ขนมที่ทำจากกล้วย | 49. | มะหลอด | ||||
50. | หลามปลา | 50. | มะปราง | ||||
51. | มะม่วงหิมพานต์ | 51. | หนอนไม้ไผ่ | ||||
52. | ปลาหมึกย่าง | 52. | ข้าวเหนียวมะม่วง | ||||
53. | ไก่อบฟาง | 53. | น้ำพริกมะขาม | ||||
54. | จะค่าน เครื่องปรุงรส สุดยอด | 54. | มดส้มหรือมดแดง | ||||
55. | ด้วงสาคู ด้วงมะพร้าว | 55. | เรื่องกล้วยๆ | ||||
56. | ไส้หมูย่าง | 56. | แกงเห็ดลมเห็ดกระด้าง | ||||
57. | มะม่วงหิมพานต์ | 57. | กำกิ๋นบ้านเฮา | ||||
58. | ข้าวเหนียวมะม่วง | 58. | อาหารคนเมือง | ||||
59. | มะหลอดผลไม้ล้านนา | 59. | รวมอาหารล้านนาเฮา | ||||
60. | ตองและกล้วยป่า | 60. | ดอกคำปุ๋ยหรือดอคำฝอย |